ออกแบบสถาปัตยกรรม 1

Architectural Design 1

1.1 เข้าใจกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยขนาดเล็ก
1.2 เข้าใจวิธีการสำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ
1.3 เข้าใจทฤษฎีและแนวความคิดในการออกแบบ
1.4 มีทักษะในการออกแบบอาคารที่พักอาศัยขนาดเล็ก
1.5 มีจิตสำนึกที่ดีต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ด้านคุณธรรมจริยธรรม :
- เน้นความมีวินัยและการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานให้มากขึ้น ด้วยการกำหนดคะแนนในส่วนของพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ครบถ้วนและตรงต่อเวลา
ด้านความรู้ :
- เน้นการค้นคว้าและใช้หลักการ/ทฤษฎีการออกแบบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรม
- จัดลำดับเนื้อหาการเรียนรู้ให้ต่อเนื่องกับการปฏิบัติงานออกแบบ
- เน้นกระบวนการออกแบบที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและบริบทแวดล้อม
ด้านทักษะทางปัญญา :
- ปรับปรุงโปรแกรมออกแบบให้ชัดเจนและมีความซับซ้อนด้านประโยชน์ใช้สอยให้น้อยลง เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติที่เน้นกระบวนการออกแบบที่ประยุกต์ความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่น เพื่อให้ทำการวิเคราะห์โปรแกรมและออกแบบได้เหมาะสมกับเวลาเรียน
- เน้นการออกแบบทางเลือกที่หลากหลาย และสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะสมมากที่สุด
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ :
- การแบ่งกลุ่มและเนื้อหางานที่ต้องรับผิดชอบให้มีความชัดเจน
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ :
- เน้นการใช้ศัพท์เทคนิคทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง
- เน้นการวางแผนเนื้อหาและระยะเวลาในการนำเสนอผลงานให้มีความกระชับและชัดเจน ทั้งการนำเสนอในรูปแบบกราฟิก และการอธิบายแบบ (Oral Presentation)
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบอาคารที่พักอาศัยขนาดเล็ก จัดทำกระบวนการออกแบบ โดยกำหนดองค์ประกอบโครงการ ขนาดพื้นที่ สำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้ง กำหนดแนวความคิด ทำการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความงาม โครงสร้าง วัสดุ วิธีการก่อสร้างและข้อกำหนดอาคารที่เกี่ยวข้อง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั้นเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.2. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา อภิปราย/ถามตอบเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.3.1. สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตงานที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 ประเมินจากผลการนำเสนองานออกแบบ
มีความรู้ในทฤษฎีและหลักการออกแบบ เข้าใจขั้นตอนและวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูล การกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ การออกแบบร่างและการพัฒนาผลงานออกแบบให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยาย อภิปราย/ถามตอบ พร้อมยกตัวอย่าง และศึกษาดูงานนอกสถานที่
2.2.2 มอบหมายงานกลุ่มเพื่อจัดทำและนำเสนอรายงาน/กรณีศึกษา
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฏี เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงาน/กรณีศึกษา
2.3.3 ประเมินจากผลงานออกแบบโครงการ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางการออกแบบ สามารถสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบผลงานได้อย่างเหมาะสม โดย
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การบรรยาย อภิปราย/ถามตอบ เพื่อแลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็น และการคิดวิเคราะห์
3.2.2 การมอบให้นักศึกษาค้นคว้าโครงการที่กำหนดหัวข้อให้ โดยให้ศึกษาประเภทและรายละเอียดวิเคราะห์ อภิปราย สรุปผล
3.2.3 การทำกระบวนการออกแบบ การจัดทำและพัฒนาแบบร่าง การเสนอผลงาน การออกแบบระยะสั้น
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยให้นำเสนอผลงานการออกแบบรายบุคคล เสนอแนวคิดและผลงานเป็นชิ้นงาน
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา ความรู้ทางสถาปัตยกรรมและงานระบบ ความคิดสร้างสรรค์ ปริมาณและคุณภาพในการพัฒนาแบบร่าง
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2.1 มอบหมายงานกลุ่มเพื่อพัฒนาบทบาท ความสัมพันธ์และความรับผิดชอบของนักศึกษาในการทำงานเป็นทีม
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการศึกษาและการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาในชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นทีม จากการทำงานกลุ่มที่มอบหมาย
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินทักษะการใช้เครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสมจากผลงานและวิธีการนำเสนอ
5.3.2 ประเมินทักษะการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมจากผลงานและวิธีการนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42011201 ออกแบบสถาปัตยกรรม 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม สังเกตพฤติกรรมจากความตั้งใจ การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ความรับผิดชอบส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 ความรู้ เก็บคะแนนจากการทำรายงานและการนำเสนอ สอบกลางภาคและสอบปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา 30 %
3 ทักษะทางปัญญา เก็บคะแนนจากการวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดโครงการ การพัฒนาแบบร่าง การออกแบบเขียนแบบและจัดทำหุ่นจำลอง ตลอดภาคการศึกษา 50 %
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตพฤติกรรมการศึกษาและการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาและความรับผิดชอบในการทำงานเป็นทีม การทำงานกลุ่มและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 5 %
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงานออกแบบขั้นสมบูรณ์ 16 5 %
1.อรศิริ ปาณินท์ 2538 กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ปทุมธานี:สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
2.อรศิริ ปาณินท์ 2538 มนุษย์กับการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
3.อรศิริ ปาณินท์ 2538 ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
4.ผุสดี ทิพทัส 2540 เกณฑ์การออกแบบทางสถาปัตยกรรม กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.บัณฑิต จุลาสัย 2544 จุด เส้น ระนาบ กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.เลอสม สถาปิตานนท์ 2544 บ้านและการออกแบบ กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ศักดา ประสานไทย 2549 วัสดุและการออกแบบ กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. กิติ สินธุเสก. การออกแบบภายในขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
9. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, ศาสตราจารย์. การจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
10. เลอสม สถาปิตานนท์, ศาสตราจารย์. มิติสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2554.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ กฎหมายควบคุมอาคาร กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม แนวความคิดในการออกแบบ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านช่องทางการสื่อสารที่อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาได้ตกลงให้เป็นช่องทางการสื่อสารร่วมกัน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
คณาจารย์นำผลการประเมินการสอนมาวิเคราะห์และปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา การตรวจแบบร่าง หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการประกาศผลคะแนนการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยคณาจารย์ผู้สอนร่วมกันพิจารณา
4.2 ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาจจัดให้มีการตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งอาจใช้การตรวจสอบจากผลงาน ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชา โดยใช้ผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อการแก้ปัญหาที่มาจากประสบการณ์ปฏิบัติวิชาชีพหรือการวิจัยของอาจารย์