วิศวกรรมการบำรุงรักษา

Maintenance Engineering

ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา สำหรับงานทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการในสภาพปัจจุบัน ปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้
1.  ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
2.  ทางด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
3.  ทางด้านทักษะทางปัญญา สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
5.  ทางด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
6.  ทางด้านทักษะพิสัย มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ในสภาพปัจจุบันเพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถ เข้าใจหลักการและขั้นตอนของศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษาแบบทวีผล สาเหตุของการเสื่อมสภาพเครื่องจักร และอุปกรณ์ การตรวจสอบเครื่องจักรกล การประยุกต์ใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์สาเหตุความเสียหายของเครื่องจักร วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร เป็นต้น การหล่อลื่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หลักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและเฝ้าระวัง การวางแผนและการควบคุมในงานบำรุงรักษา การบริหารจัดการเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร การออกแบบและจัดทำรายงานการบำรุงรักษา ดัชนีการวัดสมรรถนะในงานบำรุงรักษา ความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ การจัดองค์กรและการบริหารทรัพยากรในงานด้านการซ่อมบำรุง การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการระบบบำรุงรักษา ตลอดจนการพัฒนาระบบการบำรุงรักษา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษาแบบทวีผล สาเหตุของการเสื่อมสภาพเครื่องจักร และอุปกรณ์ การตรวจสอบเครื่องจักรกล การประยุกต์ใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์สาเหตุความเสียหายของเครื่องจักร วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร เป็นต้น การหล่อลื่น                     การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หลักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและเฝ้าระวัง การวางแผนและการควบคุมในงานบำรุงรักษา การบริหารจัดการเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร                     การออกแบบและจัดทำรายงานการบำรุงรักษา ดัชนีการวัดสมรรถนะในงานบำรุงรักษา ความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ การจัดองค์กรและการบริหารทรัพยากรในงานด้านการซ่อมบำรุง การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการระบบบำรุงรักษา ตลอดจนการพัฒนาระบบการบำรุงรักษา
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น
คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนา หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ  ได้แก่

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
ให้ความสำคัญกำหนดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มในการเรียนแต่ละครั้ง ให้ความสำคัญของคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต ต่อการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วนำความรู้ด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาทำการออกแบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีอยู่ในโรงปฏิบัติงาน
1.3.1  การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา
1.3.2  ประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและงานที่มอบหมาย
1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการกระทำทุจริตใน การสอบ
1.3.4  ประเมินผลจากผลงานทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
1.3.5  ประเมินผลจากชิ้นงานที่ได้ปฏิบัติตามที่ได้ทำการออกแบบ
1.3.6  ประเมินจากการแต่งกายให้ตรงตามระเบียบ และ ปฏิบัติตามข้อบังคับของการใช้พื้นที่ปฏิบัติงาน
2.1.1    พัฒนาความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2    พัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
2.1.3    พัฒนาความสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4    พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5    พัฒนาความรู้และทักษะในวิชาวิศวกรรมการบำรุงรักษาในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2.1    บรรยาย อภิปราย หลักการทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ รวมถึงหลักการออกแบบสร้างนวัตกรรม
2.2.2    มอบหมายงานศึกษาและค้นคว้าปัญหาทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาและ การผลิตชิ้นงานที่จำเป็นต้องอาศัยหลักการของวิศวกรรมการบำรุงรักษา
2.2.3    ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการสร้างผลงานด้วยหลักการทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
2.2.4    มอบหมายให้แบ่งกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล โดยให้กรณีศึกษาทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินผลจากการออกแบบ ผลจากการค้นคว้าข้อมูล ปัญหาทางด้านการออกแบบ
2.3.3  ประเมินผลจากงานที่มอบหมายและนำเสนอจากการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษา
3.1.1  พัฒนาความสามารถในความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  พัฒนาความสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  พัฒนาความสามารถทางการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4  พัฒนาความสามารถในด้านของจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5  พัฒนาความสามารถในด้านของการสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  ฝึกวิเคราะห์จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.2.2  มอบหมายงานสืบค้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.3  ฝึกปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาอยู่เป็นประจำ
3.3.1  ประเมินผลจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการ พร้อมอธิบายวิธีการใช้งาน ปัญหา แนวทางในการออกแบบ จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและวิธีการรวมถึงปริมาณแหล่งสืบค้นข้อมูล
3.3.3  ประเมินผลจากการออกแบบและงานที่มอบหมายสามารถใช้งานได้จริง
4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
4.1.4  พัฒนาบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5  พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานได้ตรงตามเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  มอบหมายงานการปฏิบัติงานกลุ่มและปฏิบัติงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาหรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
4.2.4  จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อรณรงค์การปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการทำงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเสนอการจัดบอร์ดหรือการที่ให้นักศึกษาปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.3.1  นักศึกษาสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พยายามช่วยเหลือกันโดยตลอด
4.3.2  ประเมินผลจากการส่งงานได้ตรงตามกำหนด
4.3.3  ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่ม ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดและการสอบสัมภาษณ์          การปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
4.3.4  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม
5.1.1 พัฒนาทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับวิศวกรรมการบำรุงรักษาได้เป็นอย่างดี
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษาได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
5.2.1  ฝึกให้นักศึกษาได้ทำการออกแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.2.2  ฝึกให้นักศึกษาได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
5.2.3  มอบหมายรายงานและการนำเสนอจากหลักการของวิศวกรรมการบำรุงรักษาหรือกรณีศึกษา
5.2.4  มอบหมายงานด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับงานที่ เช่น การคำนวณหาปริมาณอะไหล่ การเลือกซื้อเครื่องจักร
5.3.1  ประเมินผลจากการนำเสนอ การสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 ประเมินผลจากงานทางด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา
5.3.3  ประเมินผลจากการคำนวณตามที่ได้ให้แบบฝึกหัด
6.1.1  พัฒนามีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติงาน
6.2.2  พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2.1  ผู้สอนลงมือสาธิตการปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับวิศวกรรมการบำรุงรักษา
6.2.2  ควบคุมการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้มีความถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด
6.3.1  บันทึกผลเวลาการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ และประเมินจากรายงาน
6.3.2  ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 3.3, 5.2, 5.4, 5.5 สอบกลางภาค (ทฤษฎี) สอบปลายภาค(ทฤษฎี) สอบกลางภาค (ปฏิบัติ) สอบปลายภาค(ปฏิบัติ) 9 18 12 19 25% 25% 15% 15%
2 1.1, 2.4, 2.5, 3.4, 3.5, 4.2, 4.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.3 , 6.1 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ตำราหลัก     
โกศล  ดีศีลธรรม.การจัดการบำรุงรักษาสำหรับงานอุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ : เอ็มแอนด์อี.2551
ตำราเพิ่มเติม
สุรพล ราษฎร์นุ้ย.วิศวกรรมการบำรุงรักษา. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดบุ๊กส์, 2545.
สุพร อัศวินนิมิตร.วิศวกรรมการบำรุงรักษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาวิศวกรรมการบำรุงรักษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ