เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค

Consumer Packaging Technology

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของการผลิตสินค้าอุปโภค ปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน หลักการและขั้นตอนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภค คุณสมบัติพื้นฐานของวัสดุที่นำมาใช้ในการออกแบบ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้ ประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม วัสดุและกรรมวิธีการผลิต ความปลอดภัย และความเป็นไปได้ในการผลิต ความปลอดภัยและความเป็นไปได้ในการผลิต
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อม ด้านความรู้และทักษะ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภค 
ควรมีการปรับปรุงและพัฒนา ตัวอย่างที่ใช้อ้างอิง วัสดุที่แปลกใหม่ ตามความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีของยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ ปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค สมบัติของวัสดุ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์ หลักการและขั้นตอนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค
1. อาจารย์ประจำรายวิชาจัดช่วงเวลาให้คำปรึกษาเกี่ยวรายวิชาที่สอนวันละ 1 ชั่วโมง (สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง)
2. อาจารย์ประจำรายวิชาจัดให้คำปรึกษานอกเวลาโดยให้ติดต่อ ผ่าน E-mail : aj.nart@gmail.com , aj.nart@me.com และ Zoom app 
3. ผู้สอนได้ Upload Slide ที่สอนใน Class และ จัดทำ e-book ให้นักศึกษาได้ศึกษานอกเวลา คือ  http://issuu.com/nartnarin
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร 
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับ บรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภค ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค และคุณสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ โดยไม่คัดลอกงานผู้อื่น
- จัดให้มีการอภิปรายกลุ่ม
- กำหนดให้นักศึกษาหาข้อมูลตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบและรายละเอียด ของบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ต่างๆ ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาในแต่ละ Section 
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขต และตรงเวลา
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาใช้ในการทำงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินผลการนำเสนอผลงานบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคที่ได้รับมอบหมายทั้งงานปฏิบัติและงานนำเสนอหน้าห้อง
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
มีความรู้เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน หลักการและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภค สมบัติพื้นฐานของวัสดุที่นำมาใช้  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้ ประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม วัสดุและกรรมวิธีการผลิต ความปลอดภัย และความเป็นไปได้ในการผลิต ความปลอดภัยและความเป็นไปได้ในการผลิต
บรรยาย อภิปราย เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค  การนำเสนอผลงานการออกแบบ และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยนำมาสรุปและนำเสนอ ประกอบการออกแบบ โดยใช้หลัก Problem Base และ Student Center เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ทดสอบย่อยจากผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในเวลาเรียน คำถามท้ายบท สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี ทักษะการปฏิบัติงาน และการนำเสนอจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
 
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการเลือกใช้วัสดุทางด้านบรรจุภัณฑ์ ให้ตอบสนองกับผลิตภัณฑ์สินค้า และกลุ่มผู้บริโภคเป็นไปตาม คุณสมบัติ ประเภท ชนิด อย่างสร้างสรรค์
 
- การมอบหมายให้นักศึกษาออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภค บริโภค และนำเสนอผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ผลงานปฏิบัติในแต่ละคาบ และการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิด ในการออกแบบ
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
- พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่    มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
- ในช่วงสถานะการณ์ COVID-19 จัดการเรียนภาคทฤษฎี โดยการบรรยายประกอบสื่อการสอนด้วย Zoom Application หรือ Team Application
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค
- มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าวัตถุประสงค์ของสินค้าอุปโภคบริโภค  การยกตัวอย่าง การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
- การนำเสนอรายงาน
- ประเมินผลจากผลงานที่กำหนดให้ ในแต่ละคาบปฏิบัติ
- รายงานที่กำหนดให้นำเสนอ และ สังเกตุพฤติกรรมการทำงานและผลงานเป็นทีม
- รายงานการศึกษาด้วยตนเอง
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำค้นคว้าข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย การออกแบบ รายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
- พัฒนาทักษะในการสืบค้น ทั้งแหล่งให้ความรู้และข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- ผู้สอนยกตัวอย่าง Cas study และ วิธีการคำนวณพื้นที่การออกแบบ Pattern บรรจุภัณฑ์ 
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ค้นคว้ารูปแบบบรรจุภัณฑ์ในสื่อสารสนเทศ นำมาคำนวณหาพื้นที่ Pattern บรรจุภัณฑ์และ คำนวณหาปริมาตรบรรจุภัณฑ์ 
- ให้นักศึกษาออกแบบผลงานรายบุคคล และฝึกฝนการคำนวณ หาปริมาตร พื้นที่ Pattern ของบรรจุภัณฑ์
- ตรวจสอบแหล่งที่มา ของข้อมูลสารสนเทศและข้อมูลจากกรณีศึกษา ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล 
- ประเมินผลจากผลงานรายกลุ่มและรายบุคคล
- ผู้เรียนมีทักษะ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ที่กำหนดให้
- ผู้เรียนมีทักษะ ในการสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์
- อธิบาย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์
- ยกตัวอย่างกรณีศึกษา Case study อธิบายขั้นตอนกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 
- กำหนดโจทย์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้ทันต่อยุคสมัย 
- อธิบายขั้นตอนการสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์
- ประเมินผลจากผลงานการออกแบบและการสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ทั้รายกลุ่มและรายบุคคล
- ประเมินผลจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหา ที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือ วิชาชีพ มีทักษะในการนาความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นาและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไข ปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีทักษะในการทาตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนา มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BTEPP140 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 17 35% 35%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2, 4.1- 4.6,5.3-5.4 ศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงานของตนเองคำถามท้ายบทเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.7,3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กรมควบคุมมลพิษ. 2550. คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ECO Design Packaging. กรุงเทพ.
ประชิต ทิณบุตร. 2531. การออกแบบบรรจุภัณฑ์. โอเดียนสโตร์. กรุงเทพ.
มยุรี ภาคลำเจียก. 2556. การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. กรุงเทพ.
เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์. 2557. กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์. เอกสารประกอบการสอน. 
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2546. หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์. ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย. กรุงเทพ.
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2545. คู่มือการใช้กระดาษเพื่อการหีบห่อ. ซีเอ็ด ยูเครชั่น. กรุงเทพ. 
- กรณีศึกษา (Case Study) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค
- งานสร้างสรรค์เฉพาะตน  ผศ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ 
- งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านบรรจุภัณฑ์ ผศ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ 
- งานบริการวิชาการด้านบรรจุภัณฑ์ ผศ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการสืบค้นรายวิชา เช่น 
http://www.polar-plastic.com/Knowledge_th_page1.html
http://packagingcity.wordpress.com/
http://www.bunjupun.com/archives/category/
http://issuu.com/nartnarin
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและ ความเห็นจากนักศึกษาได้ ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน 
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
- ขอเสนอแนะผ่านเวบบอร์ด และ
email ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา คือ      
http://www.facebook.com/aj.nart     
email : aj_yaowanart@rmutl.ac.th , aj.nart@gmail.com , และ asstprof.nart@gmail.com
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 
- การสังเกตการณ์การสอนของผู้ร่วมทีมสอน 
- ผลงานการฝึกทักษะ ปฏิบัติ และการสอบ จากผู้เรียน 
- การทบทวน และสอบประเมินผลการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
- การวิจัยทั้งในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้ กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือ อุตสาหกรรมต่าง ๆ