การถ่ายภาพเพื่องานออกแบบสื่อสาร

Photography for Communication Design

เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร หลักการ ทฤษฎี การวางแผนการออกแบบ วิเคราะห์และวางภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งศึกษาขั้นตอนและกระบวนการในการผลิตภาพถ่ายเพื่องานออกแบบสื่อสาร เทคนิค วิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรูปแบบต่าง ๆ การจัดการและการตกแต่งภาพ ระบบการจัดการสีเพื่อการควบคุมคุณภาพ การถ่ายภาพเพื่องานออกแบบสื่อสารตามความคิดที่สร้างสรรค์ที่วางไว้
ต้องปรับปรุงให้เป็นการสอนในระบบออนไลน์ ในช่วง 2 เดือนแรก ถูกกำหนดโดยนโยบายของมหาวิทยาลัย จากผลกระทบของการแพร่กระจายเช้อไวรัส Covid 19 และออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีการบูรณาการในหลาย ๆ ด้าน เช่นด้านศิลป วัฒนธรรม ด้านอนุรัก์สิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพร่างกาย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร หลักการ ทฤษฎี การวางแผนการออกแบบ วิเคราะห์และวางภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งศึกษาขั้นตอนและกระบวนการในการผลิตภาพถ่ายเพื่องานออกแบบสื่อสาร เทคนิค วิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรูปแบบต่าง ๆ การจัดการและการตกแต่งภาพ ระบบการจัดการสีเพื่อการควบคุมคุณภาพ การถ่ายภาพเพื่องานออกแบบสื่อสารตามความคิดที่สร้างสรรค์ที่วางไว้
                                Study and practice of photography for communication and theory for design process. Analysis and creation of product image, including the study of the procedures and processes for the production of photos for communication design; techniques, methods and equipment used in shooting photos in various> styles. Photo management and . retouching, color management system for quality control and creative photography in communication design.
- 2 ชั่วโมง : สัปดาห์
- ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม    สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
 
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
- รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
- มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
-มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอนออนไลน์ หลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
การทดสอบย่อย, การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน, ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ, การนำเสนอรายงานในระบบออนไลน์, ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
 
- สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
ใช้กรณีศึกษามอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน  การปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
- มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
 
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
 
-  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
           
ประเมินจากการใช้งานระบบออนไลน์ ความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
 
- มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
- มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
การใช้กรณีศึกษาสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
   ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BAACD125 การถ่ายภาพเพื่องานออกแบบสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม ความมีวินัย รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา จิตสำนึกสาธารณะ ตลอดภาคการศึกษา 10
2 ความรู้ สอบกลางภาค และสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 17 20
3 ทักษะทางปัญญา ผลงานการออกแบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์ ตลอดภาคการศึกษา 10
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม นำเสนอความคิด รับฟังความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดภาคการศึกษา 10
6 ทักษะพิสัย ทักษะในการปฏิบัติและผลงานออกแบบสร้างสรรค์ ตลอดภาคการศึกษา 40
- เอกสารประกอบการสอน
- หนังสือ, ตำรา เกี่ยวกับการถ่ายภาพ การโฆษณา ประชาสัมพัธ์ การสื่อสาร
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพ การโฆษณา ประชาสัมพัธ์ การสื่อสาร จากอินเตอร์เน็ต
- เอกสาร ข้อมูล การสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายโฆษณา
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
1.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้ - ความตรงต่อเวลา - การแต่งกาย บุคลิกภาพ - คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม - การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน - ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ - แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน - จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา - การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
1.2 ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้ - ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้ - ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้ - ข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่นและการประเมินความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการประกวดการถ่ายภาพและบรรยายพิเศษ
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการดังต่อไปนี้
2.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ ๑
2.2 สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้ (โดยเพื่อนอาจารย์) - ความตรงต่อเวลา - การแต่งกาย บุคลิกภาพ - คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม - การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน - ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน - ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ - แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน - จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา - การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
2.3 ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้ - ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน - ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน - ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกลไกและวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอนดังนี้
3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละ คาบการสอน
3.2 ประชุม สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้ / - ผลการศึกษาของนักศึกษา - ผลการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา - ผลการประเมินการสอน - บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้
- การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร
- การประเมินโดยกรรมการประจำหลักสูตร หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายในภายนอก/
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม /ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้ง พิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษา ต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล ปรับปรุงรายวิชาและวิธีการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป ตามข้อเสนอแนะตามข้อเห็นของนักศึกษา ๑ ดำเนินการทบทวนปรับปรุงรายวิชาในทุก ๕ ปีตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของ หรือ ในกรณีที่พบปัญหา มีวิทยากรจากภายนอกมาบรรยายเสริม เพื่อรับประสบการณ์หรือสภาพปัญหาในการทำงานจริง ปรับหัวข้องาน ปฏิบัติที่มอบหมาย หรือปรับหัวข้อในโครงการประกวดภาพถ่ายให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน