สัมมนาการบัญชี

Seminar in Accounting

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
ศึกษาค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
อาจารย์ผู้สอนในชั่วโมง หรือรายกลุ่มตามต้องการ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1)   มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2)   มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถาบันและสังคม
3)   สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
4)   มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาที่เรียน จัดกิจกรรมในรายวิชาและเปิดโอกาสให้นศ.จัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้นศมีจิตสาธารณะ บำเพ็ญ              ประโยชน์ต่อสังคม เสียสละและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม กำหนดกติกาการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา ความมีวินัย การส่งงาน และปฏิบัติตามระเบียบ                   ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ประเมินผลจากการกระทำทุจริตในการสอบ การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของ      คุณธรรม จริยธรรม
      1) ความรู้และความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฏี หลักการและวิธีการทางการบัญชี
              2) ความรู้และความเข้าใจในองคืความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านระบบสารสนเทศทาง                     บัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม              
              3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านบัญชีอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
              4) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและ                              ภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
       1) ใช้การสอนแบบกรณีศึกษา/บทความวิจัยในและต่างประเทศ เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น สอบถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ
      2) ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
     3) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไปให้ทำงานกลุ่ม ในรูปแบบ Team based Learning และมอบหมายงาน
     4) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง นำความรู้ไปประยุกต์ปฏิบัติจริง และมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน/ออนไลน์
ประเมินผลจากการทำกรณีศึกษา หรืองานที่มอบหมายจากการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ประเมินจากการทดสอบ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง

               2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบาญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะ         ทาง        วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ อย่าง       สร้างสรรค์  โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการตัดสินใจ
                3) สามารถติดตามประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
จัดกิจกรรมที่นศ.ได้ฝึกประสบการณ์ในสถานการณ์จริง  และการใช้โจทย์ปัญหา /                                      กรณีศึกษา /บทความวิจัย ในและต่างประเทศ ที่ค่อนข้างซับซ้อน ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ การอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมายและนำเสนอ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เพื่อน                       ในชั้นเรียนได้ซักถามแสดงความคิดเห็น
ประเมินจากการทำรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน แก้ปัญหาจากกรณีศึกษา และการนำเสนองาน ประเมินจากการสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่ม ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานนศ.
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้มอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและบทบาทของผู้ร่วมงาน มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนอย่างต่อเนื่อง
จัดกิจกรรมให้นศ.กลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา จากการมอบหมายงาน สลับบทบาทหน้าที่กันเป็นผู้นำและผู้ตามกลุ่มในการนำเสนอ จัดกิจกรรมตอบปัญหา ซักถาม แสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็นที่กลุ่มนำเสนอและให้ความสำคัญการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม และประเมินเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ประเมินจากการเป็นผู้นำ และผู้ตามระหว่างเรียน รวมทั้งการส่งงาน สังเกตุพฤติกรรมการระดมสมอง และการนำเสนองาน
1)  มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
                2)  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา และกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
                3)  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม       ข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนองาน ฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลในการตัดสินใจ และแก้ปัญหา นำเสนอโดยใช้รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าข้อมูล และนำเสนองาน มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวเลข โดยให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดหัวข้อศึกษาและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่มจากการมอบหมายงาน การสืบค้น การใช้ภาษาเขียนรายงาน และการนำเสนอผลงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม

 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1 (1) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (1) (2) (3) - การนำเสนอประเด็นใหม่ๆเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 1 20คะแนน
2 ข้อ 1 (1) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (1) (2) (3) - การสอบ ประเด็นใหม่ๆเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีที่นศ.นำเสนอ 2,3 20คะแนน
3 ข้อ 1 (1) (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (1) (2) (3) ข้อ 4 (1) (2) ข้อ 5 (2) - รูปเล่มวิจัยและการนำเสนอผลงาน 14-16 30คะแนน
4 ข้อ 1 (1) (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (1) (2) (3) ข้อ 4 (1) (2) ข้อ 5 (2) - กระบวนการดำเนินงานวิจัย/รูปเล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์ 14-16 30คะแนน
หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการเรียน งานวิจัย บทความวิจัย วิชาการ เกี่ยวกับการบัญชี
-
 1) สภาวิชาชีพบัญชี  www.fap.or.th  2) กรมสรรพากร  www.rd.go.th  3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  www.sec.or.th  4) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  www.set.or.th  5) ธนาคารแห่งประเทศไทย  www.bot.or.th  6) กรมศุลกากร  www.customs.go.th  7) กรมสรรพาสามิต  www.excise.go.th  8) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  www.dbd.go.th  9) กระทรวงแรงงาน  www.mol.go.th  Web ต่างประเทศ  1. International Accounting Standards Board  www.iasb.org  3. The International Federation Of Accountants  www.ifac.org  4. U.S. Securities Exchange Commission  www.sec.gov
วิธีการประเมินประสิทธิผลในรายวิชาโดยนักศึกษา มีดังนี้

แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนที่อาจารย์ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์ผู้สอนในระหว่างภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา ในรูปแบบที่หลากหลาย
วิธีการประเมินการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลการสอน มีดังนี้

ผลการสอบของนักศึกษาและการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของข้อสอบ การทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้ การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา มีดังนี้

การจัดทำการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และวิเคราะห์ผลจากรายงานเพื่อนำมาปรับปรุงการสอน ผู้สอนปรับปรุงการสอนจากผลการประเมินปีที่ผ่านมา โดยการมอบหมาย สืบค้นงานเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น รวมทั้ง เพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์กรณีศึกษา/บทความ และเพิ่มทักษะการนำเสนองานรูปแบบออนไลน์  จัดกิจกรรมให้นศ.ได้นำเสนองาน ถามตอบปัญหาจากเพื่อนร่วมเรียน และเปิดโอกาสให้นศ.ได้ลงพื้นที่เพื่อประยุกต์ความรู้ไปแก้ไขปัญหา ในสถานประกอบการจริง
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ได้จากการตรวจผลงานและการนำเสนองานของนักศึกษา  การสอบถามนักศึกษา การพิจารณาผล การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
การนำผลการประเมินจาก ข้อ 1 2 และ 4 มาทบทวนและวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาทุกปี