เขียนแบบขั้นพื้นฐาน

Basic of Drafting

จุดมุ่งหมายของรายวิชา มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการเขียนแบบ มีความเข้าใจในการใช้สัญญาลักษณ์และอักษรในการเขียนแบบ มีทักษะในการเขียนรูปทรงเรขาคณิต มีทักษะในการใช้เส้น การเขียนภาพฉาย ภาพไอโซเมตริก ภาพออบลิค มีทักษะในการเขียนทัศนียภาพภายในและภายนอก ตระหนักในความสำคัญของการเขียนแบบสถาปัตยกรรม
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา / ปรับปรุงรายวิชา

นำข้อมูลการประเมินผลการสอน โดยผู้เรียน มาพัฒนาปรับปรุงเนื้อหาและการการเรียนการสอนและ เพื่อปรับความรู้และทักษะพื้นฐานของนักศึกษาที่มาจากสองฐานการศึกษาคือ จาก ปวช. และ ม.6 ให้มีความรู้ และฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือเขียนแบบ การเขียนเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปทรงเรขาคณิต ภาพฉายภาพไอโซเมตริก ภาพออบบลิค การเขียนภาพทัศนียภาพ ให้มีทักษะการปฏิบัติที่ใกล้เคียงกัน
คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือเขียนแบบ การเขียนเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปทรงเรขาคณิต ภาพฉายภาพไอโซเมตริก ภาพออบบลิค การเขียนภาพทัศนียภาพ
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา  1.มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 2.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
วิธีการสอน สอดแทรกระหว่างการเรียนการสอนทุกครั้ง ตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน แสดงความคิดเห็นเรื่องการสำนึกต่อหน้าที่ มีวินัย ตรงต่อเวลา การมีระเบียบแต่งกาย และการเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น มอบหมายงานให้รับผิดชอบและส่งตรงตามเวลา
วิธีการประเมินผล ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย ตลอดจนการร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ของคณะ และกิจกรรมนักศึกษา ประเมินจากการมีวินัยและความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและส่งตรงตามเวลา การแต่งการเรียบร้อยเหมาะสมกับนักศึกษา
ความรู้ที่ต้องได้รับ 1.มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
วิธีการสอน การจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ โดยใช้หลักการทางทฤษฏีและฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเครื่องมือต่างๆ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นสื่อการสอนและประกอบการบรรยายสื่อผสมโดยอาจารย์ประจำวิชา รวมถึงการสอนแบบออนไลน์ในช่วงที่มีมาตรการป้องกันโรคติดต่อ
2.3 วิธีการประเมินผล

ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินการปฏิบัติงานจากผลงานที่ทำทุกสัปดาห์
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
1.มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
วิธีการสอน

ใช้การสอนแบบออนไลน์มาช่วยในการสอน เพื่อลดการแพร่ระบาดการติดเชื้อโรค Covid 19 อีกทั้งสามารถเรียนได้เมื่อนักศึกษาพร้อม กล่าวคือสามารถย้อนกลับมาดูการสอนได้ตลอดเวลา เพราะทุกครั้งที่บรรยาย มีการบันทึก VDO ไว้เสมอ การบรรยายประกอบสื่อผสม และทำตามตัวอย่าง การมอบหมายงานให้ทดลองปฏิบัติในห้องเรียนเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะการปฏิบัติการ และอาจารย์กับนักศึกษาสามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลา การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นสื่อการสอนและประกอบการบรรยายเพื่อให้เกิดความเข้าในการปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการประเมินผล ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินการปฏิบัติงานจากผลงานที่ทำทุกสัปดาห์
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
1. การมีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2 วิธีการสอน

มอบหมายงานให้มีความรับผิดชอบร่วมกันในระดับกลุ่มย่อย หรือทั้งห้อง การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน
วิธีการประเมินผล ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานตามบทบาทของแต่ละคนภายในห้องเรียน ประเมินพฤติกรรมนิสัยวิธีการทำงานของแต่ละคนจากนักศึกษาด้วยกันเอง ความรับผิดชอบต่อการทำงาน และการมีน้ำใจต่อเพื่อนในห้อง
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศที่ต้องพัฒนา
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
วิธีการสอน

บรรยาย ให้คำแนะนำ และอภิปรายประกอบกับตัวอย่างงาน อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆโดยใช้ภาษาและรูปแบบเทคโนโลยีสาระสนเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
วิธีการประเมินผล

ประเมินจากความสามารถในการอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ จากการใช้ภาษาและการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในสถานะการณ์โรคระบาดหรือสถานะการปกติ
ทักษะพิสัยที่ต้องพัฒนา 1.มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
วิธีการสอน ฝึกปฏิบัติด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน อภิปรายขั้นตอนการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
วิธีการประเมินผล ประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงานจริง ประเมินจากพัฒนาการของงาน การตั้งใจทำงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.) คุณธรรม จริยธรรม 2.) ความรู้ 3.) ทักษะทางปัญญา 4.) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศ 6.) ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความรู้และความเข้า ใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความ ก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย๋างถูกต้องด้วยตนเอง มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BARCC405 เขียนแบบขั้นพื้นฐาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1) ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย ตลอดจนการร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ของคณะ และกิจกรรมนักศึกษา 2) ประเมินจากการมีวินัยและความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและส่งตรงตามเวลา การแต่งการเรียบร้อยเหมาะสมกับนักศึกษา ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 24
2 ความรู้ 1) ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค 2) ประเมินการปฏิบัติงานจากผลงานที่ทำทุกสัปดาห์ ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 15
3 ทักษะทางปัญญา 1) ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค 2) ประเมินการปฏิบัติงานจากผลงานที่ทำทุกสัปดาห์ งานทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา และสอบกลางภาค/ปลายภาค ร้อยละ 30
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1) ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานตามบทบาทของแต่ละคนภายในห้องเรียน 2) ประเมินพฤติกรรมนิสัยวิธีการทำงานของแต่ละคนจากนักศึกษาด้วยกันเอง 3) ความรับผิดชอบต่อการทำงาน และการมีน้ำใจต่อเพื่อนในห้อง ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 8
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศ 1.) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ จากการใช้ภาษาและเทคโนโลยีสาระสนเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 8
6 ทักษะพิสัย 1.) ประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงานจริง 2.) การตั้งใจทำงาน ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 15
เอกสารและตำราหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยปฐมพร ธนพัฒน์ปวงวัน. วิชาเขียนแบบพื้นฐาน Basic Drafting. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2559 สุรศักดิ์ พูลชัยนาวาสกุลง, พงษ์ธร จรัญญากรณ์. เขียนแบบเทคนิค พื้นฐานช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน), 2521 ธัญญลักษณ์ ก้องสมุท. เขียนแบบเทคนิค 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2535 ศาสตราจารย์เฉลิม รัตนทัศนีย. การเขียนแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 สุขสม เสนานาญ. เขียนแบบก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : บริษัท ประชาชนจำกัด, 2540 ชวลิต ดาบแก้ว และสุภาวดี เหมทานนท์. PERSPECTIVE DRAWING การเขียนทัศนียภาพ. กรุงเทพฯ : หจก.โรงพิมพ์ ดี แอล เอส กรุงเทพ, 2541 ธีระชัย เจ้าสกุล. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2546 ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด. เรียนรู้เขียนแบบเบื้องต้นด้วยตนเอง. ปทุมธานี : บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด, 2533 รองศาสตราจารย์สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. จุด เส้น ระยะ Toward Fundamental Drafting. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2556 วัชรพงศ์ หงส์สุวรรณ. การเขียนทัศนียภาพ พื้นฐานการเขียนแบบ. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์, 2556
นักศึกษาต้องตั้งใจหมั่นฝึกฝนการทำงานจนสามารถวาดภาพทัศนียภาพได้โดยการไม่ต้องใช้เครื่องมืออีกต่อไป
เอกสารและข้อมูลแนะนำ

สื่อออนไลน์ MS Teams ที่อาจารย์สอนได้ Up Load (สามารถศึกษาล่วงหน้าและดูย้อนหลังได้)
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia , Google
กลยุทธการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา สอบถามความเห็นจากนักศึกษาในสัปดาห์สุดท้าย แบบประเมินผลให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นต่อการสอนในสัปดาห์สุดท้าย
จัดประชุมทีมอาจารย์ประจำวิชาร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
ใช้การสอนแบบออนไลน์ช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ตลอดเวลาหรือเมื่อพร้อม และใช้ผลการประเมินโดยนักศึกษา และการประเมินโดยทีมผู้สอน เป็นเครื่องมือปรับปรุงการสอนเป็นประจำทุกปีการศึกษา
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบและผลสอบ แจ้งผลการประเมินผลการสอบ การรายงาน การนำเสนอและคะแนนให้นักศึกษาทราบ
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนา และ มคอ.5 มาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป