ออกแบบสถาปัตยกรรม 5

Architectural Design 5

1.1 เข้าใจวิธีการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎี ปรัชญา ตลอดจนข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงการ/แนวทาง/วิธีการออกแบบสถาปัตยกรรม และมีทักษะในการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ด้วยรูปแบบ/วิธีการที่เหมาะสม
1.2 เข้าใจขั้นตอนและวิธีการจัดทำโครงการทางสถาปัตยกรรมอย่างมีตรรกะ รวมทั้งการกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ โดยปล่อยให้บริบทเป็นตัวผลักดันการตัดสินใจ และคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
1.3 เข้าใจกระบวนการ/วิธีการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานการออกแบบที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน โดยการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีทักษะการนำเสนอผลงานการออกแบบด้วยการสื่อสารผ่านรูปแบบของภาษาที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
1.4 มีวุฒิภาวะ โดยเน้นถึงความมีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตนถูกต้องตามกาลเทศะ มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีทัศนคติที่ดี ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อสังคม ส่วนร่วมในกิจกรรม
นำข้อมูลจากประเมินผลการสอนโดยนักศึกษา และการผลการสอนใน มคอ 5 ของการเรียนการสอนครั้งที่ผ่านมา ทำการปรับปรุงซึ่งประกอบไปด้วย 
         2.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
         -  แก้ไขเรื่องสัดส่วนคะแนน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาตรวจแบบร่างผ่านทางระบบออนไลน์
         - ใช้ระบบการส่งงานผ่านทางออนไล์เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษามาส่งงานไม่ตรงต่อเวลา 
         2.2 ความรู้
         - ปรับโจทย์ในการเรียนให้เข้ากับรูปแบบการเรียนออนไลน์ เเละสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน
         - เน้นย้ำให้นักศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน หรือจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นักศึกษาใช้ในการออกแบบ
 
         2.3 ทักษะทางปัญญา
         บูรณาการความรู้เพื่อสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะ
          - เพิ่มกิจกรรมวิชาการ การประกวดแบบในระดับชาติ หรือนานาชาติ
        2.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
         - ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม (อย่างน้อย 1 ครั้ง) เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และค้นคว้าร่วมกับเพื่อนนักศึกษาต่างสาขา แสดงออกถึงความรับผิดชอบการทำงานเป็นกลุ่มและการได้รู้จักเพื่อนใหม่
        2.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
        -  เพิ่มการบรรยายถึงวิธีการนำเสนองานออกแบบ (การจัดเพลทเพื่อใช้ในการนำเสนอผลงาน) ก่อนการนำเสนอแบบครั้งสุดท้าย Final Design เพื่อส่งเสริมความเข้าใจงานออกแบบที่นักศึกษาต้องจะการสื่อสาร
        2.6 ทักษะพิสัย
        -   ไม่มีการแก้ไข
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบอาคารสาธารณะขนาดกลางประเภทอาคารพิพิธภัณฑ์ อาคารทางศาสนาอนุสรณ์สถาน จัดทำกระบวนการออกแบบโดยกำหนดองค์ประกอบโครงการ ขนาดพื้นที่ สำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้ง กำหนดแนวความคิดและทำการออกแบบสถาปัตยกรรมและผังบริเวณที่คำนึงถึงระบบโครงสร้าง งานระบบอาคาร และข้อกำหนดอาคารที่เกี่ยวข้อง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
กำหนด วัน เวลา แจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน 
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม
4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                 1.  ปลูกฝังให้เข้าใจความหลากหลายของสังคม เคารพต่อกฏข้อกำหนดของวัฒนธรรมองค์กร การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งการให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
                 2.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเอง คือ มีความซื่อตรง เชื่อมั่น และเคารพตนเอง เห็นตัวเองมีคุณค่า พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในทางที่ไม่ดี                      
                 3.  ปลูกฝังให้นักศึกษาเรียนรู้ที่จะพัฒนางานออกแบบของตนเอง ไม่คัดลอกงานขอผู้อื่นมาเป็นงานของตัวเอง  เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร  มีจิตใจสาธารณะ                            
                 1.  การเข้าชั้นเรียน  การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนและการส่งงานตามกำหนดที่มอบหมาย
                 2.  การมีวินัยในการร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
                 3.  ความตั้งใจการเรียนและการปฏิบัติงาน
1. มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1.  บรรยาย  อภิปรายในชั้นเรียนและการถามตอบ
2.  จัดแบ่งกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ตามความถนัดและความสนใจ
3.  การทำงานกลุ่มและการนำเสนอรายงาน
4. เชิญอาจารย์ต่างสถาบันหรือสถาปนิกวิชาชีพที่มีประสบการณ์มาวิพากย์และให้ข้อเสนอแนะผลงาน
 1.  ประเมินผลด้วยการตรวจแบบร่างของนักศึกษา
 2.  ประเมินผลด้วยการนำเสนองานออกแบบ ทั้งภาคข้อมูล จำนวน 2 ครั้ง และภาคออกแบบ จำนวน 2 ครั้ง
1. ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.  ให้นักศึกษานำเสนอหัวข้อที่ตนเองสนใจ แต่กำหนดให้อยู่ในกรอบของรายวิชา
2.  ใช้วิธีการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งรูปแบบออนไลน์เเละการเรียนรู้ทั้งในเเละนอกห้องเรียนยืดหยุ่นเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถของนักศึกษา
3.  ใช้วิธีสอนโดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อดึงศักยภาพที่มีของนักศึกษาแต่ละคนให้เป็นที่ประจักษ์
4.  ใช้ระบบการสอนที่ไม่ตีกรอบความคิด เพื่อให้นักศึกษาฝึกวิธีการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง
                 1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการนำเสนอผลงานการปฎิบัติของนักศึกษา 
 1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 2.  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1.  สอดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ระหว่างการเรียนการสอน
2.  นักศึกษาเสนอโครงงานปฏิบัติตามกลุ่มที่คัดเลือกกันเอง
3.  อภิปรายโครงงานปฏิบัติแต่ละกลุ่มร่วมกัน
4.  นักศึกษาปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม
1.  การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน การประเมินตนเองและเพื่อนในการปฏิบัติงาน
2.  พฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม
3.  การตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหา
1.  ให้ข่าวสารข้อมูลต่างๆแก่นักศึกษา อย่างต่อเนื่อง 
 2.  สนับสนุนให้หาข้อมูลจากหลายทาง   
1.  ประเมินจากทักษะการเลือกและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเเละการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 2 3 4 1 1 2 3
1 42011405 ออกแบบสถาปัตยกรรม 5
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ - มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 15
2 ความรู้ - มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฎิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา ตลอดภาคการศึกษา, และเน้นสัปดาห์ที่ 2-8 ร้อยละ 20
3 ทักษะด้านปัญญา - มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 40
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา, เน้นสัปดาห์ที่ 10-14 ร้อยละ 15
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม - สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม -ตลอดภาคการศึกษา, -เน้นสัปดาห์นำเสนองานหน้าชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 11, 15 ร้อยละ 10
- วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2537). การจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจ, ศิวาพร กลิ่นมาลัย (2556) จิตวิทยาสภาพแวดล้อม: มูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จี.บี.พี เซ็นเตอร์ จำกัด.
- ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ (2555) จิตวิทยาสถาปัตย์สวัสดี. กรุงเทพฯ: ลายเส้น พับบริชชิ่ง จำกัด.
 
- แนวทางในการออกแบบ Exhibition Space in Present Situation (Slide)
- แนวทางในการออกแบบ Bottom Up Approach (Slide)
วีดีโอ พิพิธเพลิน Discovery Museum ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
-
 
1. การสนทนากลุ่มระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาหลังการนำเสนองานซึ่งเป็นการสอบในแต่ละครั้ง 
2. แบบประเมินความพึงพอใจผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1. ผลการเรียนของนักศึกษา
2. การประชุมการสอนโดยอาจารย์ทุกท่านที่สอนในรายวิชาก่อนการสอนในสัปดาห์แรก
3. การประชุมการสอนโดยอาจารย์ทุกท่านที่สอนในรายวิชา หลังการสอบกลางภาคเรียน
4. การประชุมการสอนโดยอาจารย์ทุกท่านที่สอนในรายวิชาเพื่อสรุปผลการสอน หลังการสอบปลายภาคเรียน
1. ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจผู้สอนของนักศึกษา
2. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการสอนจากการประชุม กลางภาคเรียน
3. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการสอนจากการประชุม ปลายภาคเรียน
1. อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
2. อาจารย์ประกาศผลการเรียนครึ่งเทอมให้นักศึกษาทราบ
3. นักศึกษาสามารถขอดูคะแนนย่อยต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบตนเองหากเกิดข้อสงสัย
-