สถาปัตยกรรมล้านนา

Lanna Architecture

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมล้านนาแบบประเพณี ประเภทอาคารทางศาสนา ด้านลักษณะพื้นฐาน ความหมาย คติการสร้าง รูปแบบ วัสดุ โครงสร้าง และเทคนิคการก่อสร้าง เปรียบเทียบกับวัฒนธรรมข้างเคียง โดยบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และมีทักษะการเขียนแบบและทำหุ่นจำลองงานสถาปัตยกรรมล้านนา
2.1 พัฒนา/ ปรับปรุงเนื้อหาและการแบ่งหน่วยให้เหมาะสม เตรียมการเพื่อจัดทำสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.2 พัฒนา/ ปรับปรุง รูปแบบการเรียนการสอน ตลอดจนแนวทางการประเมินผล (เฉพาะอย่างยิ่ง งานปฏิบัติรายสัปดาห์) ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19  
ศึกษาและฝึกปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมล้านนาแบบประเพณีประเภทอาคารทาง ศาสนา ด้านลักษณะพื้นฐาน ความหมาย คติการสร้าง รูปแบบ วัสดุ โครงสร้าง และเทคนิคการก่อสร้าง เปรียบเทียบกับวัฒนธรรมข้างเคียง มีทัศนศึกษา
Study and practice of traditional religious architecture in Lanna in terms of basic structure, meaning, beliefs, patterns, materials and building techniques, compared to cultures nearby, including study visits.  
1 ชั่วโมง/ สัปดาห์ เฉพาะรายที่ต้องการ
1.1.1 ส่งเสริมให้ มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 พัฒนาให้ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอนและประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม เช่น กำหนดคะแนนจิตพิสัย โดยสังเกตจาการเข้าเรียนตรงเวลา และความตั้งใจในชั้นเรียน เป็นต้น
2.1.1 พัฒนาให้ มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 ส่งเสริมให้ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3 พัฒนาให้ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการ ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะ ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชา นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดย การศึกษาดูงาน ทัศนศึกษาภายนอกสถานที่ หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง เป็นต้น
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- งานปฏิบัติ การเขียนแบบสถาปัตยกรรมล้านนา
- งานปฏิบัติ (งานกลุ่ม) การทำหุ่นจำลองสถาปัตยกรรมล้านนา
3.1.1 ส่งเสริมให้ มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 พัฒนาให้ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษา การออกแบบสถาปัตยกรรมหรือการมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น ในชั้นเรียน เป็นต้น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน
4.1.1 ส่งเสริมให้ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิ์และการยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ งานของผู้อื่น 
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองานและผลงาน กลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
5.1.1 ส่งเสริมให้ สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับเนื้อหาข้อมูลและสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
6.1.1 พัฒนาให้ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา การออกแบบสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT203 สถาปัตยกรรมล้านนา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม การปฏิบัติตนขณะสอบ การปฏิบัติตนขณะเรียน การอ้างอิงข้อมูลในรายงาน เช็คชื่อการเข้าเรียน (ลาเรียน/ มาเรียนตรงเวลา/ มาเรียนสาย) ทุกสัปดาห์ 10%
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค/ สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และสัปดาห์ที่ 17 30%
3 ด้านทักษะทางปัญญา งานการเขียนแบบสถาปัตยกรรมล้านนา (Lanna Architecture Drawing) ตามใบงานที่กำหนดในแต่ละสัปดาห์ (งานเดี่ยว) /งานจัดทำ โมเดลหุ่นจำลองงานสถาปัตยกรรมล้านนาพร้อมเล่มรายงานการค้นคว้า (งานกลุ่ม) สัปดาห์ที่มีงาน 40%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การสังเกต การมีส่วนร่วมในการจัดทำ โมเดลหุ่นจำลองงานสถาปัตยกรรมล้านนาพร้อมเล่มรายงานการค้นคว้า (งานกลุ่ม) /การสังเกต ความตั้งใจ กระตือรือร้น ในระหว่างการทัศนศึกษา/ การนำเสนอผลงาน เป็นต้น สัปดาห์ที่มีงานกลุ่ม 5%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้าข้อมูล (จากแหล่งข้อมูลจริง, จากเว็ปไซต์รายวิชา, จากหนังสือประกอบการเรียนการสอนรายวิชาที่แนะนำ ฯลฯ) ทำรายงาน ความทันสมัยของข้อมูล การอ้างอิงข้อมูล ทุกสัปดาห์ที่มอบหมายงาน/สัปดาห์ที่มีการนำเสนอผลงาน 5%
6 ทักษะพิสัย การส่งผลงานการเขียนแบบสถาปัตยกรรมล้านนา (Lanna Architecture Drawing) รวมเล่ม (งานเดี่ยว)/ การส่งโมเดลหุ่นจำลองงานสถาปัตยกรรมล้านนาพร้อมเล่มรายงานการค้นคว้า (งานกลุ่ม) สัปดาห์ที่ส่งเล่มแบบ (drawing) หรือรายงาน (report) 10%
เวปไซด์รายวิชา http://suebpong.rmutl.ac.th (เดิม)
- ไม่มี -
- ผศ.ดร.ธาดา สุทธิธรรม, สถาปัตยกรรมไทย, ขอนแก่น, พ.ศ.2541.
- ศ.เฉลิม รัตนทัศนีย์, วิวัฒนาการศิลปะ สถาปัตยกรรมไทยพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2539.
- สมหมาย เปรมจิตต์ และคณะ, พระเจดีย์ในล้านนา, เชียงใหม่, พ.ศ.2526 (พิมพ์ครั้งที่2)
- ศ.โชติ กัลยาณมิตร, พจนานุกรม สถาปัตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่อง, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2548 (พิมพ์ครั้งที่2)
- ผ.ศ.วรลัญจก์ บุญสุรัตน์, วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2544. ร.ศ.สุรพล ดำริห์กุล, แผ่นดินล้านนา, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2539.
- ร.ศ.สมคิด จิระทัศนกุล, คติ สัญลักษณ์และความหมายของซุ้มประตู-หน้าต่างไทย, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2546.
- กรมศิลปากร, จอมเจดีย์, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2543.
- รศ.สมคิด จิระทัศนกุล, วัด: พุทธศาสนาสถาปัตยกรรมไทย, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2543.
- นารถ โพธิประสาท, สถาปัตยกรรมในประเทศไทย, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2542.
- รศ.เสนอ นิลเดช, ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2537.
- ผศ.สามารถ ศิริเวชพันธ์, สถาปัตยกรรมล้านนา, เชียงใหม่, พ.ศ.2548.
- ผศ.สามารถ ศิริเวชพันธ์, เอกสารประกอบการสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย 2,สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ, พ.ศ.2527.
- รศ.ฤทัย ใจจงรัก, สัดส่วนในงานสถาปัตยกรรมไทย, กรุงเทพฯ,พ.ศ.2544.
- Nithi Sthapitanonda, Brain Mertens, Architecture of Thailand, Bangkok, 2005.
- ชัยปฐมพร ธนพัฒน์ปวงวัน, สถาปัตยกรรมวิหาร วัดบวกครกหลวง, เชียงใหม่, พ.ศ.2559
นักศึกษาทำแบบประเมินประสิทธิผลรายวิชา
นักศึกษาทำแบบประเมินประสิทธิผลอาจารย์ผู้สอนในรายวิชา/ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาร่วมกันประเมินการสอน/ คณะกรรมการทวนสอบรายวิชา
นำผลการประเมินประสิธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษามาเป็นข้อมูลหรือแนวทางปรับปรุงการสอน/ สอน Online ผ่านช่องทางต่างๆ ในช่วงสถานการณ์การแพร่่ระบาดของโรค Covid-19
ยังไม่ได้รับการเสนอจากหลักสูตรฯ ให้เป็นรายวิชาที่จะทำการทวนสอบ
นำผลการทวนสอบรายวิชา/ข้อสรุปผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course Learning Outcomes - CLOs) มาใช้ปรับปรุง มคอ.3 ของรายวิชาต่อไป