แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน

Accounting Concepts and Financial Reporting

เพื่อศึกษาแนวคิดและข้อสมมุติทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การแปลความหมายของรายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายงานแบบบูรณาการ เป็นต้น ตลอดจนการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก และผลประโยชน์พนักงาน
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาแนวคิดและข้อสมมุติทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การแปลความหมายของรายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายงานแบบบูรณาการ เป็นต้น ตลอดจนการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก และผลประโยชน์พนักงาน
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการโดยกำหนดเวลาไว้วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
ข้อ 1 (1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
ประเมินจากการตรงต่อเวลาของการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงต่างๆ
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
ข้อ 2 (4) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
เน้นหลักการทางทฤษฎีให้เป็นไปตามคำอธิบายรายวิชาโดยการบรรยาย การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการ
ประเมินจากกระบวนการคิด วิเคราะห์และการตอบปัญหา ประเมินจากการทำแบบทดสอบ
ข้อ 3 (1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ข้อ 3 (3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1) บทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลอง
2) การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 4 (4) มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายงานให้ทำเป็นรายบุคคล
ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค - 9 - 17 - 35 คะแนน - 35 คะแนน
2 - ประเมินจากการตรงต่อเวลาฯ - ประเมินจากงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30 คะแนน
อรัณพงศ์ ทนันไชย, เอกสารประกอบการสอน
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ, ทฤษฎีการบัญชี, ทีพีเอ็น เพรส, 2559.
สภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th
 
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

การสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่ม แบบประเมินผู้สอนของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอนในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

สังเกตการมีส่วนร่วมในการทำงาน การตรวจงานที่มอบหมาย การตรวจความมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ทดสอบวัดผลการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

ประชุมผู้สอนในสาขาเพื่อพิจารณาผลในภาพรวมและนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

ทดสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการทวนถามและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ทดสอบความรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มด้วยวิธีการสัมภาษณ์หลังจากส่งผลการเรียนแล้ว
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนตามข้อเสนอและและผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนและสื่อการสอนต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ