ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1

Fundamental English 1

. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
              1. รู้ศัพท์ สำนวน  และโครงสร้างภาษาพื้นฐาน
              2. เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านและฟัง
              3. มีทักษะในการใช้ภาษาที่เหมาะสมในการเขียนข้อความสั้นๆ
              4. มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและหาความรู้เพิ่มเติม
 
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
         เพื่อให้เนื้อหามีความทันสมัย เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

 
คำอธิบายรายวิชา
               ศึกษาและฝึกปฏิบัติเพื่อเกิดทักษะ ฟัง  พูด  อ่าน  และเขียน  โดยเน้นทักษะการเพื่อจับใจความสำคัญและรายละเอียด  การพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์รูปแบบและการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง การเขียนระดับประโยคและข้อความสั้นๆ การรฟังเพื่อจับใจความสำคัญ การพูดเพื่อการสื่อสารในชีวืตประจำวัน
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
          อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง
          (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
         

เข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานตามที่กำหนด ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษาและสังคมที่ถูกต้อง 
       1.2  วิธีการสอน

อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง    แสดงบทบาทสมมติ
   1.3  วิธีการประเมินผล
           -  เข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานตามที่กำหนด
           -  สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
  
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
       2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติในทุกหน่วยการเรียนรู้
       2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์แขนงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    2.2  วิธีการสอน
            บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง  กิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  การทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลการทำงาน และแสดงบทบาทสมมติ
          และการฝึกฝน ค้นคว้า
2.3  วิธีการประเมินผล
           - ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย
           - การนำเสนอในชั้นเรียน
           - งานมอบหมาย
           - สอบกลางภาคและปลายภาค
 
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
    3.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
    3.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
    3.3  สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. 2   วิธีการสอน

อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ   กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น แสดงบทบาทสมมุติ  
3.3  วิธีการประเมินผล
           -  ผลงานที่มอบหมาย
           -  การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
           - สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
       4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
       4.1.2  มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม ทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
       4.1.3  มีความรับผิดชอบส่งงานตรงเวลา
4.2  วิธีสอน
-  กำหนดกิจกรรมกลุ่ม
-  กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
-  นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน
4.3  วิธีการประเมินผล
-  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน พฤติกรรมการเรียน
-  การตรงต่อเวลาและการส่งงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
      5.1.1  พัฒนาทักษะการใช้  Internet โดยการสืบค้นข้อมูล เพื่อเขียนรายงาน  และนำเสนอ
      5.1.2  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหาเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูล
         และนำเสนอผ่านสื่ออิเล็กโทรนิค
5.2  วิธีสอน
        -  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเวปไซค์ต่างเพื่อนำมารวบรวมนำเสนอโดยใช้ Computer
5.3  วิธีการประเมินผล
       -  การนำเสนอผลงาน
       -  การสืบค้นข้อมูลตามคำสั่งได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2,2.3.1,2.3.2, 2.3.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 18 lสอบปลายภาค สอบกลางภาค 25 % สอบปลายภาค 25 %
2 2.1.1,2.1.2,2.3.1,2.3.2, 2.3.3 สอบย่อยรายบทเรียน สอบย่อยรายบทเรียน ตลอดภาคการศึกษา สอบย่อยรายบทเรียน 20 %
3 1.1.1,4.1.3 การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2.1.1,2.1.2,2.3.1,2.3.2, 2.3.3, 5.1.1, 5.1.2 งานที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 20 %
หนังสือ  New Headway
- เวปไซต์ต่างๆ  สำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
1.  กลยุทธการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
   ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  และผู้เรียนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
    การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
    -  อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
    -  สังเกตจาการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
    -  ประเมินจากผลการนำเสนอ
   -  ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
3.  การปรับปรุงการสอน
   -  ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
  - กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
  - การวิจัยในชั้นเรียน
4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
          ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าหรือมีการพัฒนาที่ผิดปกติแก้โดยการขอพบนักศึกษา แจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
    สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขา/ คณะ