การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ

Statistical Analysis in Business

จุดมุ่งหมายของรายวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติคือ เพื่อให้ผู้เรียนการใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยใช้หลักสถิติอย่างเหมาะสม และสามารถทำการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
1)  เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักข้อมูลทางสถิติ แหล่งที่มาของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล
2)  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจกความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง และการวัดการกระจาย
3)  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม และค่าคาดหวังของตัวแปรสุ่ม
4)  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติอย่างเหมาะสม การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการใช้ค่าไคสแควร์
5)  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และสมการถดถอย
6)  เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7) เนื่องจากวิชา "การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ" เป็นวิชาอาจารย์ผู้สอนที่ต้องเข้าถึงนักศึกษา ตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม เนื่องจากนักศึกษามีพื้นฐานการเรียนและความสามารถทางคณิตศาสตร์และสถิติ และการคำนวณแตกต่างกัน การแบ่งห้องเรียนระหว่างนักศึกษาหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง และหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี โดยมีผู้สอนแยกเป็น 2 Section ทำให้อาจารย์สามารถดูแลและจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของนักศึกษาแต่ละกลุ่มได้ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ประจำหลักสูตรจำเป็นต้องปรึกษาอาจารย์ผู้สอนเพื่อวางแผนการจัดแบ่งกลุ่มนักศึกษาล่วงหน้าเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการสอนของอาจารย์ผู้สอน
การใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ หลักสถิติที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ทฤษฎีสุ่มตัวอย่างและการทดสอบสมมติฐานทางการวิจัยและทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไคสแควร์ การหาค่าสหสัมพันธ์ และการถดถอยพหูคูณ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
การให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ แอ๊ปพลิเคชั่นไลน์ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม ดังนั้น อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิชาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมตามที่ระบุไว้ดังนี้ 1.2
มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอนมีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
1)  ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
2)  ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3)  ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4)  สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
5)  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนัก รู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องสาหรับหลักสูตรวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชา และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ส่วนหลักสูตรวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติ จะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
นอกจากนี้ บัณฑิตต้องมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ อย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน มีทักษะในการทางานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ดังนี้
1)  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2)  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทารายงานโครงงานและนาเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง การบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
1)  การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2)  รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
3)  ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
4)  ผลกงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
5)  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
6)  ประเมินการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูลแนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาและงานอื่นๆ ด้วยตนเอง สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ทางทฤษฎี ประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการดสินใจ สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้ในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพ สาหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษาสามารถใช้วิธีการปฏิบัติงานประจำ และหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์ เพื่อคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผลตามที่ระบุไว้ดังนี้
1)  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2)  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
1)  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
2)  กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
3)  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
4)  การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
5)  จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนาเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคาตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน และต้องใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเองและอาชีพ นอกจากนี้ นักศึกษา ต้องมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ระหว่างการสอน   มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
1)  ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2)  จัดให้นักศึกษาได้ทากิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
3)  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4)  มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
5)  มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
1)  การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
2)  ประเมินจากรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
3)  ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4)  สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
สามารถศึกษาและทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการพูด การเขียน สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสาหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้
กว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
1)  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2)  สามารถแนะนาประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
1)  สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2)  มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3)  ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
4)  ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5)  บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์ หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่สามารถทำได้
1)  การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
2)  ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนาเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
3)  ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4)  ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชน และสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
1)  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบแก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล
2)  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนาเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2)  จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3)  จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4)  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
5)  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
6)  จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
1)  ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนาเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2)  พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3)  พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
4)  การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5)  นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม 2.2 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 4.1 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบแก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล 6.2 สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1 BBACC111 การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาสาขาการจัดการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มาตรฐานการเรียนรู้ครอบคลุมถึง 1) ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินผลจากงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน 3) จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ 4) ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์ คุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาสาขาการจัดการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มาตรฐานการเรียนรู้ครอบคลุมถึง 1) ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินผลจากงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน 3) จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ 4) ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ทีครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 1) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ทีครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2) การทดสอบย่อย เพื่อเป็นการติดตามและทดสอบความเข้าใจในบทเรียน 3) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน เพื่อเป็นการวัดผลการเรียนรู้จากการรวบรวม สังเคราะห์บทเรียน สรุปความเป็นความเป็นรู้ทั้งหมดในรายวิชา ด้วยความเข้าใจของผู้เรียนเองโดยปราศจากที่ปรึกษา 4) ประเมินจากจากงานที่มอบหมายนักศึกษา การให้ผู้เรียนต้องนำโจทย์ตัวอย่างจากตัวเลขสถิติทางธุรกิจเพื่อนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติ แล้วนำมาอธิบายผลจากค่าสถิติให้สอดคล้องบริบททางธุรกิจ อันจะสามารถใช้เป็นทักษะในการใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติต่อไป สัปดาห์ที่ 5, 8, 10, 15, 17 50%
3 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บรวบรวมภาคสนาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน (ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา) 1) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรองความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ การให้ผู้เรียนทำรายงานจากโจทย์ตัวอย่างทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูลทางธุรกิจ ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้สรุปความ การวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูลทางสถิติภายใต้สิ่งแวดล้อมทางสถิติอย่างถูกต้องเหมาะสม 2) สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม เมื่อผู้เรียนมีความรู้ทางเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูลทางธุรกิจ ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้สรุปความ การวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีตัวอย่างในโจทย์ปัญหาทางธุรกิจ ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือทางสถิติเพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของปัญหาทางธุรกิจ แล้วสามารถทำการตัดสินใจแก้ปัญหาทางธุรกิจบนพื้นทางค่าสถิติที่ได้ 1) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรองความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประเมินได้จากการตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน และการเลือกใช้ค่าสถิติที่ถูกต้องตามข้อสงสัยและประเภทของตัวแปร ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ นอกจากนี้ยังใช้วิธีการประเมินโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา การประเมินความรู้ทางสถิติ จะสามารถทดสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถเลือกใช้เครื่องมือถูกต้องหรือไม่นั้น จำเป็นต้องเป็นแบบทดสอบแบบคำถามปลายเปิด หรือข้อสอบอัตนัยที่จะเน้นให้นักศึกษาแสดงวิธีทำ เพื่อทดสอบความเข้าใจในค่าสถิติต่างๆ เช่น การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ 2) สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา การประเมินการสร้างโจทย์ตัวอย่างทางธุรกิจ ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีของแต่ละคนร่วมกันประยุกต์ใช้ในการเลือกใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูลทางธุรกิจ ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้สรุปความ การวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูลทางสถิติภายใต้สิ่งแวดล้อมทางสถิติอย่างถูกต้องเหมาะสม และความครบถ้วนของการอธิบายซึ่งได้จากการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ ต้องใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ และความสามารถเชิงปริมาณเป็นสำคัญ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในสถิติเบื้องต้นซึ่งเป็นรายวิชาที่ต้องผ่านการศึกษามาก่อน ผู้เรียนจะเสมือนได้รับการทบทวนอีกครั้งในความรู้ทางสถิติ เช่น ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่องและต่อเนื่องแบบต่างๆ การแจกแจงตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ ในขณะที่เมื่อต้องนำมาประยุกต์ใช้กับปัญหาทางธุรกิจ ผู้เรียนจะสามารถแก้ปัญหาโจทย์ทางสถิติเบื้องต้นได้ และสามารถอธิบายความหมายค่าของสถิติในบริบทของธุรกิจได้ 1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ ในการรายงานผลการศึกษา “วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ” ผู้สอนจะประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข จากการเลือกใช้คำนวณค่าสถิติ การกำหนดประเภทของการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปรอย่างเหมาะสม การเลือกมาตรวัดของตัวแปร การเลือกใช้ค่าสถิติในการอธิบายลักษณะตัวแปรอย่างเหมาะสม และการตั้งและทดสอบสมมติฐานอย่างถูกต้องตามหลักการทางสถิติ 2) ประเมินจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ เป็นรายวิชาที่ว่าด้วยความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ ต้องใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในสถิติเบื้องต้น ที่ได้ผ่านการศึกษาในรายวิชาสถิติเบื้องต้นมาแล้ว การประเมินผลการเรียนรู้จะสามารถวัดได้ด้วยการทดสอบเพื่อเป็นการวัดความสามารถ และความเข้าใจของผู้เรียน โดยปราศจากการซักถาม และสืบค้นจากแหล่งอื่น ด้วยแบบทดสอบเก็บคะแนนรายหน่วย ในขณะที่เมื่อผู้เรียนต้องนำความรู้ทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ การประเมินผลการเรียนรู้ว่าผู้เรียนจะสามารถอธิบายความหมายค่าของสถิติในบริบทของธุรกิจได้หรือไม่ จากรายงานกรณีศึกษาปัญหาธุรกิจ ตลอดภาคการศึกษา 10%
กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์เพื่อสถิติธุรกิจ: สถิติเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2538.
ประสพชัย พสุนนท์. สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2552.
สรชัย พิศาลบุตร. สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. พิมพ์ครั้งที่ 5. 2553.
www.watpon.com/table/
http://science.sut.ac.th/mathematics/pairote/uploadfiles/8268305977_UW.pdf
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. สถิติเบื้องต้นเพื่อธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. สถิติเพื่อการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
http://www.saruthipong.com/port/document/299-705/299-705-4.pdf
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวความคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3. ข้อเสนอแนะจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่อาจารย์ผู้สอนใช้เป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ