หลักเศรษฐศาสตร์

Principles of Economics

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักการพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์กับการศึกษาในรายวิชาและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ ตลอดจนเพื่อให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อธุรกิจ สังคม และบริบทสิ่งแวดล้อม
1.  เพื่อปรับปรุงข้อมูลและเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย  เพื่อความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
2.  เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
3.  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงิน และทางการบริหารจัดการธุรกิจ ทั้งนี้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงการยกตัวอย่างประกอบและกรณีศึกษาให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน และทันต่อความก้าวหน้าที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
4.  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อรายวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป
ศึกษาทฤษฎีขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับ อุปสงค์ อุปทาน การกำหนดราคาของตลาด การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ความยืดหยุ่น พฤติกรรมผู้ผลิต ต้นทุนการผลิต ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดต่างๆ รายได้ประชาชาติและผลิตภัณฑ์ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุน การกำหนดระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ระดับการจ้างงานดุลยภาพ ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน รัฐบาลและนโยบายการคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน ดุลยการค้าและดุลการชำระเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจ
A study of basic economic theory, demand and supply, market price equilibrium, price control, elasticity, consumer behavior, cost of production, equilibrium in markets, national income and gross domestic product, consumption saving and investment, the measurement of national income, the level of employment equilibrium, central bank and monetary policy, government and fiscal policy, international trade and finance, inflation and deflation, employment and unemployment, balance of payment, economic development.
อาจารย์ประจำรายวิชาจัดตาราง กำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษานอกเวลาเรียน จำนวน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาโดยตรงหรือผ่านดช่องทางสื่อออนไลน์ Microsoft Team หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ แอพพลิเคชั่นไลน์
1.  มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนัก ผู้สอนปลูกฝังแนวคิดเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้กับผู้เรียน ความรู้สึกผูกพันต่อพ่อแม่ ต่อการเรียน และสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้เรียนตระหนักสำนึกในหน้าที่ ในคุณค่าของชีวิต คุณค่าของความเป็นมนุษย์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนต้องการทำความดีแก่สังคม มีความกตัญญูที่แสดงออกทางกาย วาจา และทางใจ ให้เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้ง มีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลาจิตใจให้มีความอ่อนโยน สุภาพ อ่อนน้อม สุขุม รอบคอบ
2.  มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ผู้สอนยังเน้นให้มีความเพียรและการพึ่งตนเอง การศึกษาเล่าเรียนที่สุจริตอย่างกระตือรือร้น และตั้งใจจริงให้สำเร็จด้วยความมานะอดทน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมุ่งมั่นทำหน้าที่ของตนให้ประสบความสำเร็จ มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น ใช้เวลาว่างศึกษาหาความรู้อยู่เป็นเนืองนิตย์ ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถและความชำนาญในงานที่สุจริตเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ให้เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่กระทำใดๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง สร้างกิจนิสัยให้ตนเองมีคุณค่า มีความสำคัญและจะทำให้มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต มีความมั่นใจในการศึกษาเล่าเรียน และมีความกระตือรือร้นโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากใคร เมื่อมีงานกิจกรรมตั้งแต่งานเล็กน้อยไปถึงงานใหญ่ๆ และสลับซับซ้อนก็ให้สามารถใช้ความพยายามจนกระทำสำเร็จด้วยความสามารถของตนเอง
ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนมีการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยต้องมีการวางแผนการรับเงินและการใช้จ่ายเงิน ต้องใช้ของและรักษาสิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด เช่น เสื้อผ้า กางเกง รองเท้า และเครื่องใช้อื่นๆ ทุกอย่าง อาจมีการหารายได้เพิ่มเป็นหลักประกันอย่างหนึ่ง ทำให้มีการเก็บออมเงินได้ เป็นการเริ่มต้นสร้างค่านิยมที่ดีตั้งแต่วัยเรียน โดยใช้เวลาว่างที่มีอยู่ทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดเป็นรายได้ ซึ่งจะเป็นเห็นทำให้เกิดผลที่ดีแก่ชีวิตและครอบครัวในอนาคต อาจเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระมีฐานะทางเศรษฐกิจดี ไม่เป็นหนี้ มีหลักฐานมั่นคง เป็นทุนในการดำเนินกิจการได้ และสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
3.  มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม ให้นักศึกษารู้จักให้เกียรติสถาบัน ตนเอง และผู้สอนด้วยการแต่งกายให้ถูกระเบียบทุกครั้งที่เข้าชั้นเรียน การไม่ใช้เครื่องมือสื่อสารระหว่างมีการเรียนการสอนอันจะเป็นการทำลายสมาธิเพื่อนร่วมชั้นเรียน และเมื่อนักศึกษาคนใดต้องการติดต่อสื่อสาร รับโทรศัพท์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ให้นักศึกษาสามารถขออนุญาตออกนอกห้องเรียนได้ 
เมื่อตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบคำถามเป็นรายบุคคลตามความเข้าใจของตนเอง ในแต่ละหัวข้อย่อย แล้วจะทำการสังเกตว่านักศึกษาจะเปิดหนังสือหรือสมุดบันทึกดูหรือไม่ และให้นักศึกษาคนใดก็ได้อาสาเป็นผู้ตอบ แล้วจะทำการบันทึกมีนักศึกษาที่ตอบตามความเข้าใจของตนเองโดยไม่เปิดสมุดบันทึก เพื่อทดสอบความซื่อสัตย์ ผู้สอนจะกล่าวชมเชยนักศึกษาที่อาสาตอบคำถาม หรือตอบคำถามถูกต้อง
1.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ด้วยการเข้าสอนตรงเวลา เช็คชื่อก่อนเริ่มต้นสอนทุกครั้ง หรืออาจใช้วิธีการทดสอบย่อยหน่วยเรียนที่ผ่านมาตอนต้นชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ทดสอบความมีสำนึกสาธารณะสังเกตพฤติกรรมการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังเลิกใช้งาน โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า เพื่อทราบถึงความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม แสร้งว่า ลืมทดสอบย่อยรายหน่วยทั้งที่มีการนัดไว้แล้ว เพื่อทดสอบความซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น หรือ กำหนดให้มีการรับส่งงานแต่ละขั้นตอนของงานผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่มีการย้ำ เพื่อทดสอบซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น
2.  ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี กล่าวยกย่องชมเชยกับนักศึกษาที่มีสำนึกสาธารณะ เช่น นักศึกษาที่ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังเลิกใช้งาน นักศึกษาที่เป็นผู้แจ้งว่ามีการนัดทดสอบเก็บคะแนนรายหน่วย และนักศึกษาที่เข้าห้องเรียนตรงเวลาตลอดทั้งภาคการศึกษา ในการเรียนการสอนในห้องเรียน ตรวจสอบความซื่อสัตย์ด้วยวิธีการตรวจสอบจากรายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ว่านักศึกษามีการคัดลอกงานของผู้อื่นมาจากอินเตอร์เน็ตโดยมิได้มีการวิเคราะห์หรือไม่ด้วยการพิจารณาจากเนื้อหาของรายงาน และเอกสารที่ใช้อ้างอิงประกอบ เพื่อเป็นการทดสอบว่านักศึกษามีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองหรือไม่
3.  กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ ผู้สอนจะต้องกำหนดระเบียบลงโทษของผู้ที่ทุจริตการสอบให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า เพื่อให้นักศึกษาเคารพกฎร่วมกัน ว่า หากมีการทุจริตในการสอบรายหน่วย สอบกลางภาค หรือปลายภาค ผู้สอนจะให้นักศึกษารายดังกล่าวสอบใหม่ โดยใช้ข้อสอบคนละชุดที่มีความยากกว่า เช่น เปลี่ยนจากข้อสอบปรนัยเป็นข้อสอบอัตนัย เป็นต้น หรือผู้สอนจะตั้งคำถามใหม่กับนักศึกษาที่เปิดสมุดบันทึกในการตอบถาม โดยตั้งกติกาว่าให้นักศึกษาตอบคำถามตามความเข้าใจของนักศึกษาโดยไม่เปิดสมุดบันทึก
ผู้สอนจะให้นักศึกษาที่ทุจริตในการสอบรายหน่วย สอบกลางภาค และปลายภาค ด้วยการปรับปรุง
การตรวจสอบรายงานก่อนส่งด้วยการให้นักศึกษาส่งรายงานฉบับร่างทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำส่งรายงานฉบับจริง หากพบว่ามีการคัดลอก จะให้นักศึกษาปรับปรุงแก้ไข หรือทำใหม่
หากพบว่า ยังคงมีนักศึกษาที่มีการติดต่อสื่อสาร รับโทรศัพท์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ผู้สอนจะเป็นผู้อนุญาตให้ออกจากห้องเรียนเพื่อทำกิจกรรมดังกล่าว
4.  จัดกิจกรรมให้นักศึกษารู้จักดำเนินชีวิตบนความพอเพียง พอประมาณ ความมีเหตุมีผลและการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการให้ไปศึกษาดูงานการผลิตพืชภายในมหาวิทยาลัย เช่น การปลูกเมล่อน และการเลี้ยงโคนม ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสิ่งที่มีอยู่ การที่มหาวิทยาลัยจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ พอใจและใช้สิ่งที่ตนเองมี โดยจะเน้นการคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติและสังคมโลกต่อไป
5.  ผู้สอนยังจะต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา โดยแสดงออกมาในรูปธรรม คือ นักศึกษาเข้าเรียนสายได้ไม่เกิน 30 นาที หากมาสายจะถูกหักคะแนนจิตพิสัย
นักศึกษาสาขาสารสนเทศทางธุรกิจจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มีความพอเพียงในหลักการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน ใช้กลยุทธ์การประเมินการเรียนรู้ด้วยการสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ และมีคุณธรรม ดังนี้
ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น เงิน สิ่งของ เครื่องใช้ อย่างประหยัด คุ้มค่า รวมทั้งใช้เวลาอย่างเหมาะสม
ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี
ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผล
ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิดพลาด มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
วางแผนการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้
รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนมีความรู้ในเศรษฐศาสตร์ หน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจ กลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค อุปสงค์ อุปทาน ภาวะดุลยภาพ ความยืดหยุ่น การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ตลอดจนมีความรู้ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ และกลไกแนวคิดเศรษฐศาสตร์มหภาค บัญชีรายได้ประชาชาติ การเงินการธนาคารและนโยบายการเงินการคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ และโครงสร้างเศรษฐกิจไทยและปัญหา
2.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน เมื่อผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไปแล้ว ผู้เรียนสามารถนำหลักการที่เป็นทฤษฎีมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับธุรกิจจริง โดยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักการทางการบริหารธุรกิจสามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธุรกิจโดยใช้ทฤษฎีอย่างถูกต้องตามหลักการทางการบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ สามารถอธิบายสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโดยใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้
1.  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ภายหลังจากการบรรยายทุกหัวข้อบทเรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาค ผู้สอนจะทดสอบความเข้าใจผู้เรียนด้วยการแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม แล้วตั้งคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจในทฤษฎีนั้นๆ เช่น ประเภทของอุปสงค์ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาวาดกราฟอธิบายความตามเข้าใจ หากกลุ่มใดใช้เวลาน้อยที่สุด ทำเสร็จก่อนและถูกต้องจะได้สูงสุด และหากกลุ่มใดใช้เวลาเพิ่มขึ้น และถูกต้อง จะได้คะแนนลดหลั่นกันลงมา ในแต่ละบทเรียนจะกระทำเช่นนี้แล้วให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ผลัดเปลี่ยนตัวแทนออกมาวาดกราฟตอบคำถามตอนท้ายชั่วโมงเพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ที่ตนเองได้จากห้องเรียน แล้วผู้สอนจะเฉลยพร้อมอธิบาย
2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อเป็นกรณีศึกษาที่ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้กับปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ ด้วยการวิเคราะห์เข้ากับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ตอนท้ายภาคเรียนให้ผู้เรียนรวบรวมความรู้นอกเหนือจากบทเรียนด้วยการค้นคว้าข่าวเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ จากสื่อออนไลน์ หรือข่าวเศรษฐกิจ เศรษฐกิจการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และบริการ อธิบายสรุปใส่โปสเตอร์ขนาด A3 โดยมีเนื้อหารายละเอียดที่ประกอบด้วย ข่าวเศรษฐกิจ อภิปรายและวิเคราะห์ สังเคราะห์ ว่าข่าวที่นำมานั้นเกี่ยวข้องกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใด แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคในหน่วยเรียนที่เกี่ยวข้อง แสดงรูปกราฟที่เกี่ยวข้อง สรุปข่าว แล้วแสดงที่มาของข่าวด้วยบรรณานุกรม
1.  มีการทดสอบย่อย และการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน การทดสอบความรู้รายหน่วยด้วยการประเมินจากการทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน ทั้งเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล ทั้งการทำแบบฝึกหัดหน้าชั้นเรียน และการทำแบบฝึกหัดท้ายบท โดยจะมีการนัดเวลาตั้งแต่ตอนต้นภาคการศึกษาว่าให้ส่งแบบฝึกหัดท้ายบทของทุกบทในวันก่อนวันที่มีการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคก่อนหนึ่งวัน ทั้งนี้ผู้สอนจะทำการประเมินความเข้าใจจากความถูกต้องของแบบฝึกหัด และประเมินความมีวินัยและความตรงต่อเวลาของผู้เรียนด้วยการส่งตรงเวลา
2.  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา การนำเสนอผลงานที่มอบหมายเกี่ยวกับโปสเตอร์วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจตอนท้ายภาคการศึกษา โดยจะมีการกำหนดการส่งก่อนวันสอบปลายภาควันสุดท้าย
ผู้สอนต้องมีการเตรียมกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ โดยจะมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยและให้เวลาในการศึกษากรณีศึกษา และคิดหาคำตอบ โดยไม่ให้ผู้เรียนตอบทันที แต่ละคนจะมีคำตอบของตนเตรียมไว้ แล้วจึงร่วมกันอภิปรายกลุ่ม และนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน โดยต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและเหตุผลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดที่กว้างขึ้น การอภิปรายกลุ่มมุ่งให้ความสนใจที่เหตุผลหรือที่มาที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ
1.  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
การให้นักศึกษาเข้าศึกษาดูงานการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อให้นักศึกษาเห็นประโยชน์ของการที่ประเทศไทยควรมีการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของอากาศ ความเปลี่ยนแปลงของราคา ลดการระบาดของศัตรูพืช สร้างรายได้ได้ตลอดทั้งปีและช่วยรักษาระบบนิเวศน์ในพื้นที่ และให้อธิบายกิจกรรมของการทำการเกษตรแบบผสมผสานว่ามีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร
2.  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
ให้นักศึกษาวิเคราะห์การทำการเกษตรแบบผสมผสาน แนวโน้มการประสบผลสำเร็จได้ การวางรูปแบบและดำเนินการโดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร
3.  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ ให้นักศึกษาวิเคราะห์การทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ภาคเกษตรกรรมไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในขณะที่เกษตรกรไทยยังคงเผชิญปัญหาความยากจนอันเกิดจากความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นอันจะนำไปสู่ความจำเป็นในการเป็นการเกษตรแบบผสมผสาน
1.  ผู้สอนนำเสนอกรณีศึกษา คือ เกษตรแบบผสมผสาน แล้วให้ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง แล้วนำมาอภิปรายกลุ่มถึงประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ ในขณะที่ผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในการอภิปรายกรณีศึกษาดังกล่าว
การอภิปรายกลุ่ม จะมีสมาชิกกลุ่มละ 2 คน เพื่อให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นทีม และมีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับทีม การเตรียมการ การวางแผนการทำงาน การแบ่งงานกันทำ และการเขียนในเชิงวิชาการ จะเป็นการฝึกหัดให้นักศึกษาที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความในเชิงวิชาการ ฝึกคิดบนพื้นฐานของตรรกะ (Logic) ที่ใช้อธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในกรณีศึกษา
การอภิปรายกลุ่ม เริ่มต้นจากกรณีศึกษา ใกล้ตัวนักศึกษา จะทำให้นักศึกษารู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงนอกเหนือจากการบอกเล่าจากในตำรา จะทำให้นักศึกษาก่อเกิดความคิดในการวิเคราะห์ปัญหา การเปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอและวิเคราะห์ จะเป็นเวทีที่ให้ผู้เรียนสามารถอภิปรายและวิเคราะห์ธุรกิจภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจได้อย่างมีหลักการทางเศรษฐศาสตร์
นอกจากนั้น การให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดความเห็น ด้วยวิธีการนำเสนอผลการศึกการค้นคว้าจะเป็นการฝึกการพูดในที่สาธารณะ การพูดเชิงวิชาการ การจัดการนำเสนอ การใช้ภาษาในการนำเสนอ ฝึกการใช้ทักษะในการติดต่อประสานงานและการเตรียมการ ฝึกการสรุปความคิดและนำเสนอตามหลักเหตุและผล ฝึกการใช้สื่ออุปกรณ์นำเสนออย่างเหมาะสมกับข้อมูล เหมาะสมกับผู้ฟัง เหมาะสมกับโอกาสและระยะเวลา
2.  การสอนกรณีศึกษาต้องอาศัยการเตรียมความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียนก่อนเข้าห้องเรียน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังเลิกเรียน คือ ก่อนเข้าห้องเรียนมอบหมายกรณีศึกษาและหนังสือให้นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านเนื้อหาและกระบวนการสอน วัตถุประสงค์ รายชื่อผู้เรียน แผนกระดาษ หัวข้อคำถามในการเปิดอภิปราย คำถามสืบเนื่อง และบทสรุป
ระหว่างการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นผู้นำการอภิปรายโดยการถามคำถามนำและควบคุมทิศทางการอภิปรายและเสนอข้อคิดเห็น เชื่อมโยงและจัดการความต่อเนื่องของข้อมูล และสามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้อย่างมีเหตุผลมีผล มีความยืดหยุ่นในคำตอบที่อาจมีการตั้งประเด็นไว้ก่อนหน้า ผู้สอนจะเป็นผู้ให้ข้อมูล ทฤษฎี และความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนตั้งคำถามชวนคิดในการแสดงความเห็นที่มีมุมมองที่แตกต่าง และมีการสรุปผลการเรียนรู้ และชี้นำในการหาข้อมูลและองค์ความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน หลังการเรียนการสอน มีการประเมินการมีส่วนร่วมของผู้เรียนประเมินแผนการสอนของเรื่องๆ นั้น ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการสอนหรือไม่
1.  ประเมินจากการอภิปรายกรณีศึกษา การประเมินผลการสอนแบบกรณีตัวอย่างจะเน้นให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง (Self- Evaluation) และประเมินการปฏิบัติงานของสมาชิกกลุ่ม การประเมินจึงใช้เพื่อการประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่าตนเรียนรู้อะไรและยังบกพร่องในจุดใด โดยเน้นการประเมินกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) และนำข้อมูลเสนอให้ผู้เรียนได้ทราบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปมากกว่าที่จะประเมินผลรวมแต่เพียงอย่างเดียว
ในขณะที่ผู้สอนอาจสามารถสังเกตหรือประเมินผู้เรียนได้ในประเด็น การมีความคิดวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ความสามารถตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ความคิดสร้างสรรค์ มีการปรับใช้เครื่องมือและองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการเขียน ทักษะในการบริหารเวลา และการเข้าสังคมและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
2.  ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบในกรณีศึกษาอื่นที่มีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน แล้วให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์อภิปรายโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
1.  ความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม การอภิปรายกลุ่มเป็นการพัฒนากระบวนการคิด ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ข้อบกพร่องในด้านความรู้ หรือความไม่ประสานกัน ให้สามารถไวต่อการค้นหาวิธีแก้ปัญหา การเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง และทดสอบสมมติฐาน อาจสังเกตความคิดสร้างสรรค์ได้จาก การสังเกตจาก การจำหรือการจดบันทึกที่สะสมประสบการณ์ต่างในชีวิตประจำวัน การจดบันทึกทำให้เกิดทักษะการจำมากระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ การคิดนอกเรื่อง นอกกรอบ
2.  มีความรับผิดชอบการพัฒนาเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง การอภิปรายกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน เพื่อให้นักศึกษาแบ่งงานกันทำ โดยให้ทุกคนมีตำแหน่งรับผิดชอบอย่างชัดเจน ได้แก่ หัวหน้ากลุ่ม เลขากลุ่ม ผู้ประสานงาน บรรณาธิกร และพิธีกร โดยจะทบทวนหน้าที่ของแต่ละหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน เพื่อทำให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การอภิปรายกลุ่มเกิดจากการคิดประเด็นปัญหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง ผู้สอนจะกำหนดให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหา ด้วยการให้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นต่อปัญหาของกลุ่ม บนพื้นฐานองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ นำมาซึ่งตัวแปรสาเหตุของปัญหา เพื่อใช้เป็นตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์กำหนดตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์ต่อไป
1.  มอบหมายให้เขียนสรุปการอภิปรายกลุ่มร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนด การอภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษานอกจากให้นักศึกษาศึกษาดูงานแล้วนำมาอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับกรณีศึกษาการทำเกษตรแบบผสมผสานแล้ว ในการทำโครงงานสรุปกรณีศึกษาจะเป็นการฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในการประสานงานระหว่างสมาชิกกลุ่ม ติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น เช่น ติดต่อประผู้ให้ความรู้ ซึ่งต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล
2.  การอภิปรายกลุ่มและเขียนสรุปการอภิปรายเป็นการระดมความคิดแลร่วมกันทำงาน ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเอง และส่วนรวม
การประเมินความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ ประเมินได้จากพฤติกรรมในการอภิปรายกลุ่ม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระหว่างการอภิปรายระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม นอกจากนั้นผู้สอนจะประเมินจากการนำเสนอความคิดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีศึกษาที่ต้องใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออธิบายปัญหาอย่างสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผล ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งอาจต้องค้นหาวิธีแก้ปัญหา การเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง และทดสอบสมมติฐาน ด้วยการสังเกต การจำหรือการจดบันทึกจากการศึกษาดูงานประกอบกับการจดบันทึกหลักการทางเศรษฐศาสตร์ในห้องเรียน
1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน การเรียนการสอนหลักเศรษฐศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการผสมผสานพื้นฐานความรู้แบบบูรณาการในการมีสำนึกในการอธิบายเกิดปัญหาเศรษฐกิจด้วยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้เศรษฐศาสตร์ในการแก้ปัญหาความขาดแคลนของทรัพยากร โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ด้วยการประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์และสถิติ การประยุกต์ทฤษฎีสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพยากร และระบบสังคมเพื่อนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากร
การที่นักศึกษาเริ่มต้นการศึกษาด้วยกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษามองเห็นตัวแบบ (Model) ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงก่อนการนำเข้าสู่บทเรียนภาคทฤษฎีจะทำให้นักศึกษาทราบว่าทฤษฎีที่กำลังศึกษาอยู่นั้นมีตัวแปรใดที่มีความสัมพันธ์กันอยู่ สามารถคิดจากพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วสามารถสร้างตัวแบบ (Model) ของประเด็นปัญหาจากกรณีศึกษาเพื่อค้นหาตัวแปรเหตุ และตัวแปล และสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์
2.  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ
การมีทักษะทางการสื่อสาร ใช้ภาษาไทยได้ดีทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และใช้ภาษาอังกฤษในการอ่านได้ เศรษฐศาสตร์ทั่วไปมีศัพท์ทางเทคนิค (Technical Terms) จะทำให้ผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับคำทางเศรษฐศาสตร์ทั้งในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และแปลความหมายของคำ
มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของภาคทฤษฎีในบทเรียนที่เน้นทักษะของการวิเคราะห์เชิงตัวเลข เช่น ดุลยภาพ และความยืดหยุ่น การคำนวณต้นทุน รายได้ และกำไร และการคำนวณหาจุดต้นทุนต่ำสุดและกำไรสูงสุด ด้วยการทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน และสอดแทรกวิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณหาจุดเหมาะสมที่สุด ในการอภิปรายกลุ่มกรณีศึกษา จะต้องใช้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เพื่อสร้างเป็นเอกสารรายงาน และใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศในการติดต่อประสานงาน ตลอดข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การสร้างงานรายงาน
1.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเรียนการสอนภาคบรรยาย ผู้สอนบรรยายให้นักศึกษาเข้าใจในทฤษฎีก่อนที่จะมีการทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน ที่มีการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข เช่น การคำนวณค่าความชัน ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน การหาดุลยภาพของตลาด การหาต้นทุนรวม ต้นทุนเฉลี่ย ต้นทุนส่วนเพิ่ม รายได้รวม รายได้เฉลี่ย รายได้ส่วนเพิ่ม การหากำไร และการหาค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดของค่าต่างๆ ทั้งนี้ผู้สอนจะให้ทำเป็นแบบฝึกหัดในห้องเรียน และการบ้าน การอภิปรายกลุ่มกรณีศึกษา เป็นการฝึกการสื่อสารกับเพื่อนภายในและระหว่างกลุ่มอภิปราย เมื่ออภิปรายกลุ่มแล้วจะมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนก็จะเป็นการฝึกพูดอย่างเป็นทางการ การใช้คำพูดอย่างเป็นทางการ การลำดับพิธีการกำหนดการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการนำเสนอ นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะเป็นการฝึกการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูลและการนำเสนอ
2.  ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ การเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ดีจะต้องรู้จักเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีทักษะที่สำคัญในการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารตามความเป็นจริง โดยไม่ใช่ความรู้สึกเพียงอย่างเดียว รู้จักการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หลักเหตุและผลประกอบการตัดสินใจ สามารถแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ แล้วหาความสัมพันธ์ร่วมกันเพื่อค้นหาสภาพความจริงหรือสิ่งสำคัญที่ข้อมูลไปบ่งชี้ไว้ ทำให้การแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ
3.  มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้สอนสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้วยการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ การบรรยายโดยใช้สื่อนำเสนอคอมพิวเตอร์ และสิ่งพิมพ์ การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ และจากสื่อ Electronic เช่น เว็บไซด์ เพื่อให้การทำกิจกรรมอภิปรายกลุ่มสามารถมีข้อมูลที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ผู้เรียน จะนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และสิ่งพิมพ์เมื่อมีการนำเสนอกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม
การเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ รู้จักการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หลักเหตุและผลประกอบการตัดสินใจ สามารถแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ แล้วหาความสัมพันธ์ร่วมกันเพื่อค้นหาสภาพความจริงหรือสิ่งสำคัญที่ข้อมูลไปบ่งชี้ไว้ ทำให้การแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ
1.  ผู้สอนสามารถประเมินการเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้จากการนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีหลักฐานอ้างอิง เช่น จากหนังสือ เว็บไซด์ หรืองานวิจัย
2.  ผู้สอนสามารถประเมินจากการอภิปรายกลุ่มกรณีศึกษา และการนำเสนองานในรูปของสื่อนำเสนองานผ่านคอมพิวเตอร์และสิ่งพิมพ์
3.  การประเมินผลความรู้ความสามารถในทางเศรษฐศาสตร์ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค รวมถึงการความสามารถในอภิปรายกลุ่มโดยใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์เพื่อค้นหาปัญหา ค้นหาตัวแปรเหตุ และตัวแปล และสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์
1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศีกษาได้อย่างเหมาะสม ในรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เป็นอีกวิชาหนึ่งที่สร้างทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถวิเคราะห์ปัญหาให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้อื่นมาบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
3.  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศีกษาได้อย่างเหมาะสม ในรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เป็นอีกวิชาหนึ่งที่สร้างทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถวิเคราะห์ปัญหาให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้อื่นมาบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
3.  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศีกษาได้อย่างเหมาะสม ในรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เป็นอีกวิชาหนึ่งที่สร้างทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถวิเคราะห์ปัญหาให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้อื่นมาบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
3.  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรมจริยธรรม 2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น 1.2 มีความเพียงพอ มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม 1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.2 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4.1 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4.2 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนาเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 6.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง ด้วยการกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 6.3 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
1 05000101 หลักเศรษฐศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1) ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ 2) ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 3) ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4) สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน 5) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ความรู้ในหลักเศรษฐศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ใสชีวิตประจำวัน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 1) การเรียนการสอนแบบกลับหัว (Flipped Classroom) ด้วยการให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจในเอกสารประกอบการสอนล่วงหน้า โดยมีการทดสอบก่อนเรียน ก่อนที่จะบรรยายเนื้อหาเพื่อเฉลยคำตอบจากคำถามก่อนเรียน ตามหัวข้อบทเรียนสำหรับทุกบทเรียน 2) การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน 3) ผู้สอนออกแบบการวิจัยในชั้นเรียนเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการถามเชิงลึก (Deep-Interviewed) เพื่อปรับปรุงวิธีการเรียนการสอน 4) ประเมินการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 6, 8, 15, 17 50%
3 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปัญญา สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ประเมินจากการนาเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคาตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา สัปดาห์ที่ 6, 8, 16, 17 20%
4 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 1) ประเมินจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค 2) ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่ม 3) ประเมินจากการายงานหน้าชั้นเรียน 4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง สัปดาห์ที่ 8, 9, 16, 17 20%
5 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 1) การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค 2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนาเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม 3) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน ตลอดภาคการศึกษา 20%
นภาพร  สนองบุญ. (2560). หลักเศรษฐศาสตร์: เอกสารประกอบการสอน.
นภาพร  สนองบุญ. (2560). เศรษฐศาสตร์จุลภาค. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก. ม.ป.ท.
วันรักษ์  มิ่งมณีนาคิน. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น: เศรษฐศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 6. สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ. 2546.
วันรักษ์  มิ่งมณีนาคิน. เศรษฐศาสตร์ไม่ยากอย่างที่คิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นำรักษาการพิมพ์. 2538.
ประพันธ์  เศวตนันท์ และไฟศาล  เล็กอุทัย. หลักเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2542.
http://library.cmu.ac.th/faculty/econ
http://www.lib.ku.ac.th
http://www.lib.rmutl.ac.th
http://www.econ.tu.ac.th
www.tdri.or.th/research
สำนักงานสถิติแห่งชาติ www.nso.go.th
สถาบันอาหารแห่งชาติ www.nfi.or.th
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร www.oae.go.th
ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ www.nesdb.go.th
กระทรวงการคลัง www.mof.go.th
กระทรวงพาณิชย์ www.moc.go.th
สถาบันวิจัย TDRI www.infotdri.or.th
ในยุคที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและสร้างผลกระทบรุนแรงมากในหลายวงการ วงการหนึ่งที่เห็นได้ชัดถึงผลกระทบก็คือการศึกษาจากการเข้ามาของเครื่องมือดิจิตัลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนจาก “เศรษฐกิจฐานการผลิต” เป็น “เศรษฐกิจฐานความรู้” ทำให้ระบบการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในสาขาที่ผลิตนักศึกษาส่วนใหญ่ของตลาดแรงงาน ดังเช่น สาขาการจัดการธุรกิจ ที่ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ ซึ่งอาจมีมุมมองการเรียนวิชาทางสังคมวิทยาศาสตร์ (Social Science) อย่างเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัวเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต่อแรงงานไร้ทักษะ และพยายามลดเวลาเรียนหรือลดความสำคัญลง เป็นสาเหตุให้นำไปสู่ระบบการศึกษาเช่นนี้จะเป็นระบบการศึกษาที่สร้างแรงงานเพียงเพื่อเป็นแรงงานที่ไร้ทักษะและไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่มีทักษะได้อย่างสิ้นเชิง
ผู้สอนยังได้สอดแทรกการนำไปใช้สำหรับการเป็นผู้ประกอบการภายหลังจากสำเร็จการศึกษาอีกด้วย และเนื่องด้วยความจำกัดของระยะเวลาการเรียนเนื้อหาวิชาที่มีจำนวนมาก ทำให้ผู้สอนไม่สามารถพานักศึกษาออกไปศึกษาดูงานสถานประกอบการเพื่อให้นักศึกษามองเห็นถึงการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลมาใช้ในการตัดสินใจในการประกอบการได้อย่างไร ตามที่ผู้สอนได้ตั้งใจไว้ ดังนั้น ผู้สอนจึงวางแผนการปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนในภาคเรียนต่อไป ด้วยการสอดแทรกให้นักศึกษาออกไปศึกษาดูงานสถานประกอบการเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผู้สอนมีการทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาที่มีการเข้าศึกษาดูงานในสถานประกอบการกับนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ผ่าน ด้วยวิธีการทดสอบความเข้าใจจากแบบทดสอบทางเศรษฐศาสตร์
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 ผู้สอนวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอนในภาคเรียน ในภาคการศึกษา 1/2564 ด้วยการให้นักศึกษาศึกษาดูงานในสถานประกอบการในชุมชน แล้วให้นักศึกษากลับมาอภิปรายกลุ่มโดยใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์สังเคราะห์ความรู้ร่วมกับภาคธุรกิจที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ เมื่อได้ผลการประเมินแล้วสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเข้าใจและหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น หรือปรับปรุงเนื้อหาที่สอนและวิธีการวัดผลและประเมินต่อไป
ผู้สอนทบทวนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ใช้ในการปรับปรุงเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละด้าน จากเดิมที่เคยประเมินความรู้ทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ด้วยข้อสอบกลางภาคและปลายภาคพบว่า นักศึกษามีผลการเรียนค่อนข้างต่ำหรือไม่ค่อยมีความเข้าใจในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ผู้สอนทบทวนในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1.  การทบทวนกิจกรรมระหว่างเรียน เช่น การอภิปรายกลุ่ม
2.  การทบทวนแบบทดสอบเทียบเคียงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้แต่ละหน่วย
3.  การทบทวนข้อสอบกลางภาค และปลายภาค กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้แต่ละหน่วย
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1.  วางแผน (Plan) ผู้สอนมีการวางแผนการสอนโดยเตรียมการสอนก่อนเริ่มสอนให้สอดคล้องกับแผนการสอนที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
2.  ลงมือทำ (Do) ผู้สอนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางเอาไว้
3.  ตรวจสอบ (Check) มีการทำแบบประเมินโดยนักศึกษาและโดยผู้สอนทั้งก่อนและหลังเรียน มีการวัดผลการเรียนระหว่างภาคและสิ้นสุดภาคการศึกษา และมีการประมวลผลและแจ้งผลไปยังนักศึกษาได้โดยตรงโดยใช้ระบบประมวลผลกลางของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
4.  การปฏิบัติ (ACTION) พิจารณาผลการเรียนของนักศึกษาและวิธีการเรียนการสอนตาม มคอ.3 เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนในภาคการศึกษาถัดไป