เตรียมสหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน

Pre Co-operative Education / Pre Job internship

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน แนวคิด ปรัชญา แนวปฏิบัติ และประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับจากการปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทั้งด้านเอกสาร บุคลิกภาพ การปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมองค์กร กฎหมายแรงงานและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
             เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา หรือฝึกงานในสถานประกอบการ และการทำงานในอนาคต
          ศึกษาและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา หรือการฝึกงานทางวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะ เน้นในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือฝึกงานทางวิชาชีพ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาท ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
·1.1  มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
เสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ  ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
           ·1.2  มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
            ·1.3  มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
          1.4  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม  และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้
          1.5  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
           1.6  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรมที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร
และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร
           - สร้างจิตสำนึกของนักศึกษาให้มีจิตสาธารณะ และมีคุณธรรมจริยธรรม ผ่านการปฏิบัติในรูปแบบที่เหมาะสมตามควรแก่โอกาส และยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เหมาะสม
           - กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการฝึกปฏิบัติ เช่น การไปปฏิบัติงานตรงเวลา การแต่งกายถูกระเบียบ ฯลฯ
           - ฝึกให้นักศึกษารู้จักรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
           - การไปปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
           - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
           - การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
2.1  มีความรู้และเข้าใจหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
           ·3.2  มีความรู้และเข้าใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน สามารถนำความรู้
และทักษะมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้
           O 2.3  มีความรู้และเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการในการวางแผนการจัด
การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่หลากหลาย
           2.4  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งมีความเข้าใจ
ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
           2.5  สามารถวิเคราะห์ และนำข้อมูลมาปรับปรุงและ/หรือประเมินตามสถานการณ์
ที่เกิดขึ้น
           2.6  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้
ได้อย่างเหมาะสม
           2.7  รู้ เข้าใจ และสนใจที่จะพัฒนาความรู้ ความชำนาญในการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง
           2.8  มีความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา พร้อมทั้งเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา
           2.9  มีประสบการณ์เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า และ/หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในงานได้จริง
ให้ความรู้พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เหมาะสม ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งจากสิ่งพิมพ์และแหล่งข้อมูลออนไลน์

ฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
              - ผลการฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
              - ผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามหัวข้อที่กำหนด
3.1  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินข้อมูลจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม
           ·3.2  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก
ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
           3.3  สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และประสบการณ์ มาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม
           O 3.4  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา และความต้องการได้
           3.5  สามารถศึกษา ค้นคว้า ประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ให้ความรู้พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เหมาะสม ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งจากสิ่งพิมพ์และแหล่งข้อมูลออนไลน์

ฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
              - ผลการฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
              - ผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามหัวข้อที่กำหนด
O 4.1  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม  มีความรับผิดชอบ  ยอมรับฟัง
และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
           O 4.2  มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม การแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม 
           O 4.3  มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
           O 4.4  มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
           4.5  สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
           4.6  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
           4.7  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
     - มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ
     - ผลการประเมินการฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องทีศึกษา
           5.2  สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม 
มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
           ·5.3  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           5.4  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
           5.5  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อเรื่องศึกษาอย่างสร้างสรรค์
           ·5.6  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้
ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            - มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ
            - มอบหมายงานที่ให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้และทักษะทางภาษาในการสื่อสาร
             - การประเมินผลการฝึกปฏิบัติงาน
            - การประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษาดำเนินการ
            - การประเมินความสามารถในการรายงานผลการฝึกปฏิบัติงาน
           6.1  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ได้ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
           6.2  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
           ·6.3  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
           ·6.4  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
           6.5  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
 
     - มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ
     - ผลการประเมินการฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบความรู้ สอบข้อเขียน 3 10 %
2 ทำรายงานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายพร้อมทั้งนำเสนอ ส่งรายงาน 4-8 35%
3 การฝึกปฏิบัติงาน ฝึกปฏิบัติ 9-15 35%
4 นำเสนอผลการฝึกปฏิบัติงาน นำเสนอผลงาน ๅ16-17 20 %
เอกสารประกอบการสอนเรื่องสหกิจศึกษาและการฝึกงาน
-
-
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
     - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
     - ให้นักศึกษาเสนอแนะเกี่ยวกับรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
     - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียน
     - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
     - ประเมินจากคะแนนแบบทดสอบและความเข้าใจในเนื้อหา
     - ประเมินจากผลการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา
     การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
     - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
     - สังเกตรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
     - สรุปผลการทำกิจกรรมในภาคเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
       กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ งานที่มอบหมาย และการเลือกสถานประกอบการ
     - ทบทวนเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
     -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ
     -  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
      - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของหัวหน้าสาขาและรองคณบดีที่ตรวจสอบรายละเอียดของรายวิชาก่อนเปิดภาคเรียน