หลักสัทศาสตร์และสรศาสตร์เพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ

Essential English Phonetics and Phonology for Communication

1.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการผลิตเสียงพูดของคนเรา
2.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักอวัยวะสำคัญที่ใช้และมีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตเสียงและออกเสียง
3. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการผลิตเสียงพยัญชนะและสระในภาษา
4.  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสัทอักษรของระบบ IPA และรู้จักการถ่ายทอดเสียงด้วยระบบนี้
5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านสัทอักษรและสามารถถอดเสียงโดยสัทอักษรได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเรื่องกระบวนการผลิตเสียงพูด สรีระที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงและ การเปล่งเสียงพูดตลอดจนการออกเสียงอย่างถูกต้อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง  การออกเสียงพยัญชนะ สระภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียง การถอดเสียงตามหลักสัทอักษรสากล หน่วยเสียง และการวิเคราะห์ระบบเสียงเบื้องต้น การลงเสียงหนักเบา ทำนองเสียง เพื่อประยุกต์ใช้ในบริบททางการสื่อสารต่างๆ
จัดให้นิสิตพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรก ของการสอน   (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. 1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาเข้าใจและสามารถแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  อาทิ ความมีวินัย มีความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์สุจริต  เสียสละ  เป็นแบบอย่างที่ดี  และสามารถจัดการปัญหาโดยมี  พื้นฐานทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ  โดยนักศึกษาจะมีคุณสมบัติดังนี้
      [O]  มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง
              วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม  ( เน้นรอง)
1.2 วิธีการสอน
1. 2. .1   ใช้แรงเสริมเพื่อให้กำลังใจนักศึกษาในการทำดี เช่นเมื่อนักศึกษามีวินัยในการส่งงาน   มีความขยัน
        ในการเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และ
        สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
1.2.2  สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบต่อ
        ตนเองและสังคม มีความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์
        สิ่งแวดล้อม
1.3  วิธีการประเมินผล
-เข้าเรียนตรงเวลา
-ส่งงานตามที่กำหนด
-มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
นักศึกษามีความรู้ในแต่ละรายวิชาอย่างกว้างขวาง  มีทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ   เข้าใจติดตาม และศึกษาการเปลี่ยนแปลงในสถาการณ์ของโลกปัจจุบัน  สามารถ ศึกษา  ค้นคว้า  และมีแนวทางในการแก้ปัญหาและการต่อยอดความรู้ โดยมีผลการเรียนรู้ดังนี้
 
2.1.1  [l] มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
                สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
                และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (เน้นหลัก)
2.1.2  [l ]  มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน สามารถนำความรู้และทักษะมาประยุกตุ์
                  ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ (เน้นหลัก)
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 สอนโดยการบรรยาย การฝึกปฏิบัติจริงโดยเน้นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
        การเรียน (Student Center)
2.2.2 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติ
2.2.4  มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สอนและ
         เพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบ ปลายภาค
2.3.2  ผลการปฏิบัติ
2.3.3  ผลงานการค้นคว้าและการนำเสนอ
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
 3.1 สามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และสามารถใช้ข้อมูลแนวคิดและ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  ใช้ข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้  รวมถึงนำมาแก้ไขปัญหาอื่นๆ ได้ด้วยตัวเอง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ 
3.1.1  [O ] สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง
                เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม (เน้นรอง)
3.2 วิธีการสอน
1. ผู้สอนบรรยาย
2. ให้ผู้เรียนซักถามและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3. ผู้เรียนฝึกใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในทักษะ การฟัง การพูด ภาษาอังกฤษตามเนื้อหาการบรรยาย
4. ให้ผู้เรียนทำแบบฝึก จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการวิเคราะห์ และให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ
3.3 วิธีการประเมินผล
· จากการอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น

จากการทดสอบภาคปฏิบัติ จากการตอบคำถามท้ายบทเรียน

สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1 นักศึกษาสามารถแสดงออกซึ่งภาวะความเป็นผู้นำ  และผู้ตาม  มีความริเริ่ใในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐาน
     ของตนเองและของกลุ่ม  รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเอง  ดังนั้นนักศึกษาต้องรู้จักการวางตัว  การมี
      มารยาทในการเข้าสังคม  และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
[O] มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ( เน้นรอง)
4.2 วิธีสอน

สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ

     ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ท่วงทำนองเพื่อการสื่อสาร

จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม

จัดกิจกรรมให้นักศึกษาช่วยกันสอน ช่วยกันฝึกฝน
4.3 วิธีการประเมินผล

ให้เพื่อนนักศึกษาช่วยกันประเมิน ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติ สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ทักษะในการปฏิบัติงานวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC104 หลักสัทศาสตร์และสรศาสตร์เพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ 2.1 / 2.2 ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.4 1. มอบหมายเป็นรายบุคคลให้ไปฝึกฝนออกเสียงสระ พยัญชนะของเสียงภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับหน่วยเสียง ระดับคำ จนถึงระดับประโยคที่ใช้สื่อสารในบริบทต่างๅ โดยให้นักศึกษาไปศึกษาด้วยตนเองจาก online website และนำเสนอแหล่งข้อมูลที่แต่ละบุคคลไปศึกษาด้วยตนเอง ให้เพื่อนๆ ในชั้นเรียน ได้เรียนรู้และแชร์แหล่งเรียนรู้ร่วมกัน 2. สอบปฏิบัติ เป็นรายบุคคลโดยให้ออกเสียงสระ และพยัญชนะ ของเสียงในภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับหน่วยเสียง ระดับคำ จนถึงระดับประโยคที่ใช้สื่อสารในบริบทต่างๅ เป็นรายบุคคล ไำิหระำตลอดภาคเรียน 40 %
2 คุณธรรม จริยธรรม 1.2 จิตพิสัย 1. การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนและความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย โดยส่งงานตรงเวลา 2. เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน 3. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
3 ความรู้ 2.1 / 2.2 ทักษะทางปัญญา 3.1 สอบกลางภาค หน่วยเรียนที่ 1- 4 สัปดาห์ที่ 9 25 %
4 ความรู้ 2.1 / 2.2 ทักษะทางปัญญา 3.1 สอบปลายภาค หน่วยเรียนที่ 5 - 7 สัปดาห์ที่ 18 25 %
ปรารมภ์รัตน์ โชติกเสถียร. การออกเสียงสระและพยัญชนะในภาษาอังกฤษ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
             จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 188หน้า, /2552
พลเรือเอก ชุมศักดิ์  มัธยมจันทร์.วิธีออกเสียงและส านียงภาษาอังกฤษ.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์วิฑูรย์
               การปกฯ, 136 หน้า,/2547.
Lane L, Focus on pronunciation 1. New York : Pearson Education, 2005, 184 pp.
เอกสารประกอบการสอนวิชาสัทศาสตร์และสารศาสตร์เบื้องต้น
เว็บไซค์ที่เกี่ยวกับสอนการออกเสียง
www.uiowa.edu/~acadtech/phonetics/english/frameset.html www. Antimoon.com , และ http://lc.ust.hk
1. กลยุทธการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินผลรายวิชาจัดทำโดยนักศึกษา
-นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินการนำเสนอ
-นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
-สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายกลุ่มใหญ่
-สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
-ประเมินจากผลการนำเสนอ
-ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
3.  การปรับปรุงการสอน
การปรับปรุงการสอนวิชาคือ

แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัยเสมอ ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ทำวิจัยในชั้นเรียนทางด้านการออกเสียงของนักศึกษา

 
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษา แต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าหรือมีการพัฒนาที่ผิดปกติแก้โดยการขอพบนักศึกษา แจ้งผลการไดรับคะแนนเป็นระยะอย่าง ต่อเนื่อง
การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
-วิชาสัทศาสตร์และสารศาสตร์เบื้องต้นต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 2 ปี เพื่อให้มีความทันต่อโลกปัจจุบัน
- สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการ ประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสทธิผลของ รายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนา เสนอแนวทางในการ ปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุป วางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขา/ คณะ