ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

Accounting Information System

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ เพื่อให้นักศึกษามมีทักษะในการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐานได้แก่ วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารการเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการบัญชีและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและคณะกรรมการบริหารวิชาชีพการบัญชี (การบัญชี)
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์ผู้สอนในชั่วโมง Home Room หรือรายกลุ่มตามต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องการพัฒนา

1)   มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2)   มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถาบันและสังคม
3)   สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
4)   มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาที่เรียน ให้นศ.จัดกิจกรรม/ร่วมกิจกรรมที่แสดงถึงความมีเมตตา กรุณา เสียสละและการทำประโยชน์แก่ชุมชน กำหนดกติกาการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา ความมีวินัย การส่งงาน และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ประเมินผลจากการกระทำทุจริตในการสอบ
      1) ความรู้และความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฏี หลักการและวิธีการของระบบสารสนเทศทางบัญชี
              2) ความรู้และความเข้าใจในองคืความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านระบบสารสนเทศทางบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม            
              3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านบัญชีอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
              4) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
   
1) ใช้การสอนแบบกรณีศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น สอบถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ
      2) ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
     3) ให้ทำงานกลุ่ม ในรูปแบบ Team based Learning และมอบหมายงาน
     4) เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศทางบัญชี/ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักศึกษาเพื่อเกิดการเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง
ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา ที่มอบหมาย ประเมินจากการทดสอบ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง

               2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางระบบสารสนเทศทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะ    ทาง        วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ อย่าง       สร้างสรรค์  โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการตัดสินใจ
                3) สามารถติดตามประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ปัญหา / กรณีศึกษา ที่ค่อนข้างซับซ้อน ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ การอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมายและนำเสนอ
ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด แก้ปัญหาจากกรณีศึกษา ประเมินจากการสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่ม ประเมินจากคุณภาพของงานที่มอบหมายให้ทำ
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้มอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและบทบาทของผู้ร่วมงาน มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนอย่างต่อเนื่อง
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา จากการมอบหมายงาน และสลับกันเป็นผู้นำกลุ่มในการนำเสนอ จัดกิจกรรมตอบปัญหา ซักถาม แสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็นที่กลุ่มนำเสนอ
ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม และประเมินเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ประเมินจากการเป็นผู้นำ และผู้ตามระหว่างเรียน รวมทั้งการส่งงาน
1)  มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
                2)  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา และกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
                3)  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม       ข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนองาน ฝึกการวิเคราะห์ และนำเสนอโดยใช้รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวเลข โดยให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดหัวข้อศึกษาและนำเสนอในชั้นเรียน
การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่ม การสืบค้น การใช้ภาษาเขียนรายงาน และการนำเสนอในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและ  รายกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,4,5 การนำเสนองาน การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 1 ค้นคว้างานวิจัย/บทความวิจัย/วิชาการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางบัญชี นำมาวิเคราะห์ความสำคัญ และผลกระทบของ AIS ที่มีต่อองค์กรอย่างไรบ้าง 2 ศึกษาข้อมูลบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ พิจารณาว่า ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการดำเนินงานองค์กร อะไร และอย่างไรบ้าง 1-8 10%
2 1,2,3,4,5 การนำเสนองาน การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 1 นำข้อมูลจากการศึกษาสถานประกบการ/วิสาหกิจ และเขียน Flowchart 2 สืบค้นซอฟต์แวร์ทางการบัญชีที่มีอยู่ในท้องตลาด ศึกษารายละเอียดของซอฟต์แวร์ 7 10%
3 1,2,3,4,5 การนำเสนองาน การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร กลุ่มนศ. นำเสนอบทความวิจัย เกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อการตัดสินใจ 10-16 5%
4 1,2,3,4,5 การนำเสนองาน การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร นำความรู้วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐานประยุกต์ใช้กับสถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชนที่ได้ไปศึกษามาอย่างน้อย 2 วงจร 17 10%
5 1,2,3,4,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 18 30% 30%
6 1,3,4 การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การแต่งกายตามระเบียบ สุ่มรายสัปดาห์ 5%
พวงทอง วังราษฏร์. (2562) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. ลำปาง:                    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง.
นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. ระบบการเงินและการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรองค์กร. พิมพ์ครั้ง
          ที 1. 2554
พลพธู ปียวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3.
          2558
     วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2555) ระบบสาสนเทศทางการบัญชี พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพมหานคร:                                      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      ศรัณย์ ชูเกียรติ. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2557
      Romney M. B. and Steinbart P. J. (2015) Accounting Information Systems. 13th ed. Pearson                      Education.
    เว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    www.fap.or.th
    www.dbd.go.th
    www.set.or.th
    www.settrade.com
         ACCA: www.accaglobal.com
แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนที่อาจารย์ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์ผู้สอนในระหว่างภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ
ผลการสอบของนักศึกษาและการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของข้อสอบ การสังเกตการณ์สอนของสาขา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนจากอาจารย์ในสาขา   การทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้
การจัดทำการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และวิเคราะห์ผลจากรายงานเพื่อนำมาปรับปรุงการสอน ผู้สอนปรับปรุงการสอนจากผลการประเมินปีที่ผ่านมา (1/63 และ 3/63) โดยการเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์กรณีศึกษา/บทความ และเพิ่มทักษะการนำเสนองาน จัดกิจกรรมให้นศ.ได้นำเสนองาน ถามตอบปัญหาจากเพื่อนร่วมเรียน และเปิดโอกาสให้นศ.ได้ลงพื้นที่เพื่อประยุกต์ความรู้ไปแก้ไขปัญหา ในสถานประกอบการจริง ผู้สอนเสริมเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางบัญชี โดยจัดอบรม การใช้ Microsoft Visio เพื่อการออกแบบ วางแผน วาดภาพ แผนภาพของระบบงานต่าง ๆ  และโปรแกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ได้จากการตรวจผลงานและการนำเสนองานของนักศึกษา  การสอบถามนักศึกษา การพิจารณาผล การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
การนำผลการประเมินจาก ข้อ 1 2 และ 4 มาทบทวนและวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาทุกปี