เทคโนโลยีธัญพืชและผลิตภัณฑ์

Cereal and Cereal Products Technology

1.1 มีความรู้และเข้าใจโครงสร้างส่วนประกอบทางเคมีและสมบัติทางกายภาพของธัญพืชชนิดต่างๆ 1.2 สามารถอธิบายลักษณะและคุณภาพของธัญพืชที่ใช้ในการแปรรูปด้วยวิธีสีและโม่ได้ และมีทักษะในการแปรรูปเมล็ดธัญพืชด้วยวิธีสีและโม่ 1.3 มีทักษะในการตรวจสอบคุณภาพทางเคมีและกายภาพของเมล็ดธัญพืชและผลิตภัณฑ์ 1.4 มีทักษะการแปรรูปธัญพืชเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ และสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ 1.5 อธิบายสาเหตุการเสื่อมเสียและวิธีการเก็บรักษาเมล็ดธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากธัญพืช 1.6 มีทักษะในการจำแนกชนิดและการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้จากการแปรรูปเมล็ดธัญพืช
2.1 เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบัน
2.2 เพื่อปรับปรุงแผนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาของรายวิชาในปัจจุบัน และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ
2.3 เพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
ศึกษาความรู้พื้นฐานด้าน โครงสร้าง ส่วนประกอบทางเคมี และสมบัติทางกายภาพของธัญพืชชนิดต่างๆ การแปรรูปเมล็ดธัญพืชด้วยวิธีสีและโม่ การตรวจสอบคุณภาพทางเคมีและกายภาพเมล็ดธัญพืช การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่าง ๆ ธัญพืช การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ การเสื่อมเสียและการเก็บรักษาธัญพืชและผลิตภัณฑ์ ผลพลอยได้และการใช้ประโยชน์ส่วนเหลือจากการแปรรูปธัญพืช
3.1 วันพุธ เวลา 15.00–16.00 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร โทร.0-5529-8438 ต่อ 1188
3.2 E-mail: metawee@rmutl.ac.th
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม
1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ขาดวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ในฐานะนักวิทยาศาสตร์การอาหาร ตลอดจนผลกระทบที่ตามมา
2. สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในวิชา มีการตรวจเช็คการเข้าเรียน การแต่งกาย พฤติกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
1. การตรวจสอบการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การส่งงาน โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2. ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน ในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโส และอาจารย์
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 มีความรู้ในสาขาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1. สอนแบบบรรยาย อธิบายเนื้อหาพร้อมยกตัวอย่าง และตั้งคำถาม (Questioning) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้นักศึกษาซักถาม และแสดงความคิดเห็น และมีกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนโดยมีการมอบหมายงานให้เป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาฝึกทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีการนำเสนองานที่มอบหมายตามระยะเวลาที่กำหนด
2. ศึกษาจากสถานการณ์จริง มีการอภิปรายกลุ่มย่อย มีการศึกษาด้วยตนเอง และการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
1. การสอบวัดความรู้
2. ถาม-ตอบปัญหาในชั้นเรียน
3. ทำรายงานรายบุคคลหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. การนำเสนองานที่ได้มอบหมายในชั้นเรียน
3.1 มีความสามารถในการ ค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. วิเคราะห์กรณีศึกษาจากผู้ประกอบการจริง โดยกำหนดผลิตภัณฑ์อาหารแล้วแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาประเมินการปนเปื้อนและเสนอแนะวิธีการป้องกันการปนเปื้อน ลด ทำลาย หรือควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตอาหารและนำเสนอผลการศึกษา
2. การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. การนำเสนองานด้วยวาจา รวมกับการอภิปรายผล พร้อมแนวทางไปสู่การแก้ปัญหา หรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้บนพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์การอาหาร
1. การเขียนบันทึก
2. การนำเสนองาน
3. ข้อสอบอัตนัย/ปรนัย
4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม
4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) กิจกรรมการบูรณการร่วมระหว่างการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการสู่ชุมชน
2. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาในลักษณะของการทำงานเป็นทีม
3. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น รายงานบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4. การนำเสนองานด้วยวาจา
1. ประเมินตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2. พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. รายงานที่นำเสนอและผลงานที่ทำเป็นกลุ่ม
5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website และสื่อต่าง ๆ และทำรายงานโดยเน้นการอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดนส่วนหนึ่งนักศึกษาจะต้องค้นคว้าจากวารสารหรือฐานข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ
2. นำเสนองานกลุ่มต่อชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ รวมถึงการเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
1. ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน การนำเสนอความรู้ใหม่
2. การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ
3. การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
4. เอกสารรายงานของนักศึกษา และการสอบ
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1.  จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์ และวิธีการให้ได้มาซึ่งกระบวนการแก้ปัญหาทางด้านจุลชีววิทยาอาหารอย่างเหมาะสม
1. ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม 5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1 BSCFT118 เทคโนโลยีธัญพืชและผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง - จำนวนครั้งการเข้าเรียนต้องเกิน 80% - การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน - การส่งงานตรงเวลา - คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย - ความมีน้ำใจต่อเพื่อนและคณาจารย์ ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา 5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ - การสังเกต - การสอบย่อย (Quit) - รายงานผลปฏิบัติการ การนำเสนอบทปฏิบัติการ และอภิปรายผลภาควาจา - การสอบปลายภาค (แลบกริ๊ง) - ไม่ทุจริตในการสอบ 1–17 (เว้น 9) 35%
3 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา - การสอบกลางภาค/ปลายภาค - ไม่ทุจริตในการสอบ 9 และ 17 45%
4 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ - การนำเสนองาน/งานมอบหมาย 16 และ 17 10%
Cereals Processing Technology
Principles of cereal science and technology.
 
Introduction to cereal processing and by-products
www.fao.org
www.sciencedirect.com
1.1 แบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชาจากมหาวิทยาลัย ฯ โดยนักศึกษาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.2 แบบประเมินผู้สอนในแต่ละรายวิชาจากมหาวิทยาลัย ฯ โดยนักศึกษาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.3 แบบเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา ที่ประเมินโดยนักศึกษา
2.1 สาขาวิชาแต่งตั้งกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา โดยมีหัวหน้าสาขาวิชา ในฐานะประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย 1 ท่าน เป็นผู้ทำหน้าที่ในการประเมินการสอน โดยการสุ่มรายวิชาอย่างน้อย 3 รายวิชา ที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา
3.1 นำผลการประเมินรายวิชาและผลการประเมินผู้สอนในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาใช้ในการปรับปรุงและกำหนดกิจกรรม และแผนการสอน
3.2 ปรับปรุงการสอนโดยเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาจากที่เป็นปัจจุบัน ทันสมัย และบูรณาการข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ร่วมกับข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมา และคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนรายวิชาจุลชีววิทยาอาหาร รวมถึงวิธีการสอน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นแก่นักศึกษา
4.1 มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยกำหนดให้อาจารย์ผู้สอน มีการรายงานวิธีการที่ใช้ในการประเมิน เกณฑ์การประเมิน และผลการประเมินของนักศึกษา
4.2 คณะกรรมการบริหารหลักสูตร นำผลการเปรียบเทียบหารือและทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน พร้อมทั้งหาแนวทางพัฒนา
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.1
5.2 เพิ่มจำนวนผู้สอนร่วมในบางหน่วยเรียน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเนื้อหาวิชา และการนำไปประยุกต์ใช้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น
โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชา เพื่อพิจารณาต่อไป