โครงงานทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร

Food Production and Innovation Project

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการกําหนดปัญหาและสามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อนำเสนอโครงร่างสําหรับทําโครงงานทางด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้ 
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวางแผนการทํางานให้สอดคล้องกับระยะเวลาและงบประมาณได้ 
1.3เพื่อให้นักศึกษาสามารถสรุปและวิเคราะห์ผลที่ได้จากโครงงานเพื่อนําเสนอในรูปแบบของรายงาน และการประชุมทางวิชาการ
     ในภาคเรียนดังกล่าวได้มีการปรับแผนการเรียนของรายวิชาโดยให้นักศึกษานำเสนอสอบหัวข้อโครงร่างปริญญานิพนธ์ล่างหน้าก่อนการจัดการเรียนการสอนจริง เพื่อให้นักศึกษาสามารถวางแผนการดำเนินโครงงานทางด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และสามารถสอบรายงานความก้าวหน้า และสอบป้องกันปริญญานิพนธ์ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ได้มีการปรับแบบฟอร์มการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าเพื่อให้มีความสอดคล้องกับเล่มปริญญานิพนธ์มากยิ่งขึ้น
การศึกษาค้นคว้าหรือทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร ภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาความสามารถในเชิงปฏิบัติ สำหรับการจัดการในอุตสาหกรรมอาหาร นักศึกษาต้องนำเสนอหัวข้อเสนอโครงการวิจัย รายงานความก้าวหน้า สอบป้องกันโครงงาน รวมทั้งจัดทำรายงาน โดยนักศึกษาจะต้องประยุกต์ใช้ทักษะและองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในคาบแรกของการจัดการเรียนการสอน
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
1.2.1      บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทํางานวิจัย การสืบค้นข้อมูล ตลอดจนการอ้างอิงข้อมูล
1.2.2      เน้นให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานตามกรอบที่ได้มีการกำหนดไว้ และเน้นการจัดส่งงานตามเวลา 
1.3.1      ประเมินจากความรับผิดชอบในการส่งงานตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลาตามระยะเวลาที่มอบหมาย และพฤติกรรมการเข้าเรียน
1.3.2      ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน และโอกาสต่างๆนอกห้องเรียน
1.3.3      ประเมินผลจากการนำเสนองานทั้งรายงานความก้าวหน้า และการสอบป้องกันปริญญานิพนธ์
1.3.4      ประเมินจากการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
นักศึกษาต้องมีทักษะในการกําหนดปัญหาและสามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อนําเสนอโครงร่างสําหรับทําโครงงานด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์และวางแผนการทํางานให้ สอดคล้องกับระยะเวลาและงบประมาณ และสามารถสรุปและวิเคราะห์ผลที่ได้จากโครงงานเพื่อนําเสนอในรูปแบบของรายงาน และการประชุมทางวิชาการ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ           ในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยาย อภิปราย  ฝึกการนําเสนอผลงานและการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และการจัดทํารูปเล่มปริญญานิพนธ์
ประเมินจากการนําเสนอโครงร่างงานวิจัย รายงานความก้าวหน้า การสอบปริญญานิพนธ์ รวมถึง ประเมินจากการจัดทํารูปเล่มปริญญานิพนธ์
นักศึกษาสามารถพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นําความรู้ที่ ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในโครงงาน 
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1   จัดให้มีการรายงานความก้าวหน้าในการทําโครงงานฯ เดือนละครั้ง เพื่อให้นักศึกษา ได้มีการวางแผนการทํางาน และได้คิดอย่างเป็นระบบ
3.2.2   อภิปรายการนําเสนอรายงานความก้าวหน้าของนักศึกษา
3.3.1   ประเมินผลจากการนําเสนอ และความก้าวหน้าของโครงงานฯ ในแต่ละครั้ง
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1      ฝึกให้นักศึกษาทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มจากการทําโครงงาน การนําเสนอรายงาน ความก้าวหน้ารวมทั้งการจัดทํารูปเล่มปริญญานิพนธ์
4.3.1      ประเมินจากการนําเสนอและรายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม 
4.3.2      การตอบข้อซักถามร่วมกัน
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ และทํารายงานฯ รวมทั้ง รูปเล่มปริญญานิพนธ์โดยเน้นการนําตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   การนําเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่หมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการตอบข้อซักถาม
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
6.2.1   นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในโครงงานของตนเอง
6.2.2   การฝึกปฏิบัติการทำงานระดับห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย      ให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
6.3.1   ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการลงมือปฏิบัติในโครงงานวิจัย
6.3.3   ประเมินจากการนำเสนอกระบวนการได้มาซึ่งการแก้ไขโจทย์ปัญหา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 6.1 6.2 6.3
1 ENGFI120 โครงงานทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงาน/การเข้าพบที่ปรึกษา/รายงานความก้าวหน้า ก่อนและหลังสอบกลางภาค ร้อยละ 15
2 ด้านความรู้ รูปเล่มปริญญานิพนธ์ เอกสารการนำเสนอ ก่อนและหลังสอบกลางภาค ร้อยละ 20
3 ด้านทักษะทางปัญญา รูปเล่มปริญญานิพนธ์ /การสอบจบปริญญานิพนธ์/ การตอบคำถามในการนำเสนอ ก่อนและหลังสอบกลางภาค ร้อยละ 20
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รูปเล่มปริญญานิพนธ์ /การทำงานกลุ่ม/การเข้าพบที่ปรึกษา/ ก่อนและหลังสอบกลางภาค ร้อยละ 15
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อการนำเสนอ/รายงานความก้าวหน้า/ รูปเล่มปริญญานิพนธ์ ก่อนและหลังสอบกลางภาค ร้อยละ 20
6 ด้านทักษะพิสัย การปฏิบัติในระหว่างโครงงาน/การเข้าพบที่ปรึกษา ก่อนและหลังสอบกลางภาค ร้อยละ 10
เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2562). คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม.  พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์ไพบูลย์พิพัฒน์.
คู่มือการจัดทําปริญญานิพนธ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการผลิตและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา     
เอกสารการเขียนอ้างอิง https://www.mendeley.com/download-desktop-new/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อทบทวนผลการเรียนรู้หลังคาบเรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาเป็นรายบุคคลโดยนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
 2.1   การสังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน โดยประยุกต์ใช้แบบฟอร์มการนิเทศผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรายวิชาในภาคการศึกษานั้นๆ
 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา เช่น รายงานความก้าวหน้าโครงงาน รูปเล่มปริญญานิพนธ์ สื่อการนำเสนอของนักศึกษา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบรายงาน แบบฟอร์มและวิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ