ฝึกงานสถาปัตยกรรม

Internship in Architecture

- เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน และแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใต้มาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ - สามารถเชื่อมโยงความรู้และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในการปฏิบัติงาน - มีทักษะชีวิต เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนการทำงานร่วมกับผู้อื่น
เพื่อให้นักศึกษาบูรณาการความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติวิชาชีพในสถานการณ์จริง ภายใต้การดูแลให้คำแนะนำของสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ ความมั่นใจ และเป็นการเตรียมความพร้อมให้สามารถทำงานได้จริง
ฝึกปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมกับสถาปนิก หน่วยงานราชการ สำนักงานเอกชน หรืออุตสาหกรรมก่อสร้าง ในระหว่างปิดเรียนภาคฤดูร้อน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 210 ชั่วโมง โดยนักศึกษาต้องผ่านการประเมินผลงานการฝึกงานจากพี่เลี้ยงหรือหัวหน้าหน่วยงานในระดับ พ.จ. หรือ S และต้องเสนอรายงานผลเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน
ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่เปิดเผยข้อมูลและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 1.1.1         มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2         มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.3         มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2 วิธีการสอน
1.2.1         ปฐมนิเทศนักศึกษาเกี่ยวกับระเบียบ วินัย คุณธรรมจริยธรรม และพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติ ก่อนการฝึกงาน 1.2.2         กำหนดช่วงเวลาฝึกงาน ขอบเขตของงาน การบันทึกผลการฝึกงาน และกำหนดวิธีการประเมินผล มอบหมายงาน ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งในระหว่างการฝึกงานและหลังจากฝึกงานแล้วเสร็จ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกงาน จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบ 1.3.2 ประเมินจากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน/หัวหน้างาน/ผู้เกี่ยวข้อง และมีการรายงานในเอกสารผลการฝึกงาน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 สถานประกอบการ จัดสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับบทบาทและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิกเกี่ยวกับงานที่มอบหมาย รวมทั้งแหล่งข้อมูลและเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ที่จำเป็นในการค้นคว้าข้อมูลและการปฏิบัติงาน 2.2.2 การจัดประชุม การมอบหมายงานและติดตามความก้าวหน้า รวมทั้งการประเมินผลงานตามที่กำหนด
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1   ประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้เกี่ยวข้อง 2.3.2   ประเมินคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลงาน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1   การมอบหมายโจทย์ให้นักศึกษาฝึกหัดรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของงาน/โครงการ 3.2.2   การประชุมร่วมกันระหว่างสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาฝึกงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน 3.2.3   ฝึกทักษะการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม โดยการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในด้านต่างๆที่เหมาะสม
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1   ประเมินกระบวนการคิด ตลอดจนการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้เกี่ยวข้อง 3.3.2   ประเมินทักษะการปฏิบัติวิชาชีพจากคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
4.2.1   จัดให้มีการแนะนำระหว่างผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง และอาจมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดี 4.2.2  มอบหมายการทำงานเป็นทีมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน และอาจมีการมอบหมายงานที่ต้องไปศึกษาค้นคว้า พูดคุย สัมภาษณ์ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงาน 4.2.3   ประชุมร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนติดตามและ ประเมินผลการทำงาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินการสร้างสัมพันธภาพ มารยาททางสังคม ภาวะผู้นำและผู้ตามจากการสังเกตพฤติกรรม และผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง 4.3.2 ประเมินการทำงานเป็นทีมจากแนวทางการค้นคว้าข้อมูลหรือการทำงานที่ได้รับจากการพูดคุย สัมภาษณ์ หรือการขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงาน 4.3.3 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการยอมรับจากผู้ร่วมงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 วิธีการสอน
5.2.1   มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การคิดพื้นที่ การประมาณราคา รวมทั้งการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.2  มอบหมายงานที่ใช้ทักษะการสืบค้นข้อมูลและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยแก้ปัญหาในการทำงาน 5.2.3  มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะการติดต่อสื่อสาร เช่น การเขียนบันทึก/รายงาน การอธิบายแนวคิดหรือนำเสนอผลงาน ฯลฯ
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1   ประเมินจากเอกสารผลงานการคำนวณที่ถูกต้อง และมีการใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.3.2   ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลและเอกสารที่สื่อสารผ่านช่องทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.3.3  ประเมินจากการเขียนบันทึก/รายงาน หรือการนำเสนอและอธิบายผลงาน
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42014406 ฝึกงานสถาปัตยกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินนักศึกษา 1. หลักเกณฑ์การประเมิน ประเมินการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ดังนี้ 1.1 แบบประเมินผลการฝึกงานโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง ร้อยละ 80 1.2 การตรวจเยี่ยมของอาจารย์นิเทศ ร้อยละ 10 1.3 การนำเสนอรายงานผลการฝึกงาน ร้อยละ 10 ทั้งนี้ ต้องได้รับคะแนนรวมเฉลี่ยจากการประเมินผล ไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5 หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา 2.1 ประเมินผลการฝึกงานโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามที่สาขาวิชากำหนด 2.2 ประเมินจากเอกสารรายงานและการนำเสนอข้อมูลผลการฝึกงาน เพื่อทวนสอบผลการฝึกงานและวางแผนการแก้ไขปรับปรุง 2.3 สรุปผลการประเมิน และรายงานผลต่อสาขาวิชา 3. ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินพฤติกรรมและผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งระหว่างการฝึกงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน รวมทั้งบันทึกผลพร้อมทั้งข้อเสนอแนะในแบบประเมินผลการฝึกงานของสาขาวิชา และส่งแบบประเมินผลคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด 4. ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินพฤติกรรมและผลการฝึกงานของนักศึกษาจากการนิเทศ ร่วมกับแบบประเมินผลการฝึกงาน และการนำเสนอเอกสารและรายงานผลการฝึกงาน รวบรวม สรุปและรายงานผลต่อสาขาวิชาฯ 5. สรุปผลการประเมินที่แตกต่าง กรณีผลการประเมินมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ให้อาจารย์นิเทศหารือร่วมกับพนักงานพี่เลี้ยง เพื่อชี้แจงข้อมูลและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกงาน เพื่อพิจารณาหาข้อสรุป
กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้   1.  นักศึกษา -   นักศึกษาตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกงาน ความพร้อมของสถานประกอบการ และการดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ -   ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงานของนักศึกษา 2. พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ -           ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกงานของนักศึกษา -           ประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ -           ประเมินการทำหน้าที่ของตนเอง -           ประเมินแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงานของนักศึกษา 3. อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม -           ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกงานของนักศึกษา -           ประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ -           ประเมินการทำหน้าที่ของตนเองและพนักงานพี่เลี้ยง -           ประเมินแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงานของนักศึกษา 4. อื่นๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่ -           ติดตามผลการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ติดตามผลประเมินสมรรถนะผู้ใช้บัณฑิตจบใหม่ที่ทำงานตรงตามสาขาวิชา
ไม่มี
ไม่มี
กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนปรับปรุง อาจารย์นิเทศประชุมร่วมกันเพื่อนำผลจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะของทุกฝ่าย มาประมวลและนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไปให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และจัดทำ รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.6) ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดภาคการศึกษา