ฝึกงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน

Internship in Interior Architectural

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการทำงานจากประสบการณ์จริง จากหน่วยงานต่างๆที่ปฏิบัติงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน ทั้งหน่วยงานราชการ และสำนักงานเอกชน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ความหมายและวัตถุประสงค์ของหลักการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอยอาคารเก่า โครงสร้าง ข้อจำกัดข้อกฎหมายขั้นตอนและเทคนิคการซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารเดิม เพื่อปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยโดยคำนึงถึงหลักการอนุรักษ์    การประหยัดพลังงาน  และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. คำอธิบายโดยทั่วไปของประสบการณ์ภาคสนามหรือคาอธิบายรายวิชา
เป็นการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน ตามหน่วยราชการ สำนักงานเอกชน สถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 210ชั่วโมง ต้องผ่านกระประเมินผลการฝึกงานจากหัวหน้าหน่วยงานในระดับ พ.จ. หรือ S และเสนอรายงานผลการฝึกงานเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน
2. กิจกรรมของนักศึกษา
การทำงานภายใต้การดูแลของสถาปนิกเพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางวิชาชีพในช่วงระยะเวลาต่อเนื่องจนครบจำนวนชั่วโมงที่ระบุไว้ตามหลักสูตร และ/หรือตามเวลาการทำงานของสถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงาน โดยนักศึกษาต้องมีการเตรียมตัวก่อนการทำงาน ดังนี้
- เรียนรู้ ทำความเข้าใจในภารกิจ เป้าหมาย วัฒนธรรม กฎ ระเบียบ กระบวนการและขั้นตอนในการทำงานของสถานประกอบการ
- เรียนรู้ และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสถานประกอบการที่ฝึกงาน
- นำความรู้ หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน
- ฝึกการแก้ไขปัญหาในงานที่ได้รับมอบหมาย และนำเสนอผลงาน โดยใช้อุปกรณ์/เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสอดคล้องกับการทำงานในสถานประกอบการ
3. รายงานหรืองานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย

รายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย กำหนดส่ง 1. จัดทำรายละเอียดการมอบหมายงาน และแผนการทำงาน
2. จัดทำรายงานผลการทำงาน และการประเมินผลงาน
3. จัดทำรายงานผลการฝึกงาน ระหว่างการฝึกงาน ตามที่สถานประกอบการกำหนด
 
ระหว่างการฝึกงาน ตามที่สถานประกอบการกำหนด
 
หลังสิ้นสุดการฝึกงาน ตามที่สาขา/คณะกำหนด

4. การติดตามผลการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา
- ให้นักศึกษานำเสนอการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- อาจารย์ชี้นำให้เห็นถึงความสำคัญ และผลกระทบต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่มีผลต่อการทำงานในอนาคต
- จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลการฝึกงาน และนำผลมาใช้เป็นแนวทางการฝึกงานสำหรับรุ่นต่อไป
5. หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการที่ดูแลกิจกรรมในภาคสนาม
- แนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับบุคลากร สถานที่ กฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ และวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงาน ตลอดจนอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน
- จัดทำตารางเวลาการฝึกงาน ร่วมกับนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์นิเทศ
- กำกับดูแล และติดตามความก้าวหน้า รวมทั้งประเมินผลการทำงานของนักศึกษา และรายงานต่ออาจารย์นิเทศ/อาจารย์ที่ปรึกษา/หัวหน้าสาขาวิชา
- ประสานงาน/ประชุมกับอาจารย์นิเทศ/อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้ความเห็นในการปรับปรุงการทำงานของนักศึกษา
6. หน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์นิเทศก์
- ปฐมนิเทศ/จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับสถานที่ กฎระเบียบ แนวปฏิบัติต่างๆในการฝึกงาน
- ประสานงานและร่วมวางแผนการฝึกงานกับสถานประกอบการ
- สังเกตการณ์การฝึกงานของนักศึกษาในสถานประกอบการ ทั้งในแบบสถานที่จริงและแบบทางออนไลน์
- แนะนำหรือให้คาปรึกษาแก่นักศึกษาให้มีทักษะการทำงานในองค์กร
- ประเมินผลการฝึกงาน และทวนสอบ/ปรับปรุงแผนการฝึกงานของนักศึกษา
7. การเตรียมการในการแนะแนวและช่วยเหลือนักศึกษา
- จัดทำทำเนียบสถานประกอบการ และแนะนำนักศึกษาก่อนการฝึกงาน
- ปฐมนิเทศ พร้อมทั้งแจกคู่มือการฝึกงาน
- จัดอาจารย์นิเทศ เพื่อคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานในสถานประกอบการ
- จัดช่องทางติดต่อ สำหรับรับแจ้งเหตุด่วน กรณีต้องการความช่วยเหลือ ผ่านทางอาจารย์นิเทศ อาจารย์ที่ปรึกษา และหัวหน้าสาขาวิชา
8. สิ่งอานวยความสะดวกและการสนับสนุนที่ต้องการจากสถานที่ที่จัดประสบการณ์ภาคสนาม/สถานประกอบการ
- สถานที่ทำงาน ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
- สถาปนิกที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ /พนักงานพี่เลี้ยง ที่คอยให้คาปรึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
- วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จาเป็นต่อการปฏิบัติงาน นอกเหนือจากที่ได้แจ้งให้นักศึกษาจัดเตรียมมาเอง
- สำรวจ/ประสานงาน/จัดหาที่พักที่มีความปลอดภัย สาหรับกลุ่มนักศึกษาที่ฝึกงานต่างจังหวัด
 
-
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลาดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ปฐมนิเทศนักศึกษาเกี่ยวกับระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนการฝึกงาน
1.2.2 กำหนดช่วงเวลาฝึกงาน ขอบเขตของงาน บันทึกผลการฝึกงาน และกำหนดวิธีการประเมินผล
1.2.3 มอบหมายงาน ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งในระหว่างการฝึกงานและหลังจากฝึกงานแล้วเสร็จ
1.3.1 นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม
1.3.2 ประเมินโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกงาน จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบ
1.3.3 ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน/หัวหน้างาน/ผู้เกี่ยวข้อง และมีการรายงานในเอกสารผลการฝึกงาน
อธิบายถึงความรู้ ที่จะได้รับ/ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
2.1.1 มีความรู้เกี่ยวกับบทบาทและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิก
2.1.2 เข้าใจการวิเคราะห์ปัญหา กระบวนการการทำงาน รวมทั้งการใช้หลักการ/ทฤษฎีที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาของโครงการสถาปัตยกรรม
2.1.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรม
2.2.1 สถานประกอบการ จัดสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง ให้คาแนะนำเกี่ยวกับบทบาทและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิก รวมทั้งแหล่งข้อมูลและเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ที่จาเป็นในการค้นคว้าข้อมูลและการปฏิบัติงาน
2.2.2 การจัดประชุม การมอบหมายงานและติดตามความก้าวหน้า รวมทั้งการประเมินผลงานตามที่กำหนด
2.3.1 ประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้เกี่ยวข้อง
2.3.2 ประเมินคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลงาน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่จะได้รับการพัฒนา/ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
3.1.2 สามารถศึกษารวบรวม วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของงาน/โครงการ
3.1.3 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะเพื่อการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบหมายโจทย์ให้นักศึกษาฝึกหัดรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของงาน/โครงการ
3.2.2 การประชุมร่วมกันระหว่างสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาฝึกงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน
3.2.3 ฝึกทักษะการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม โดยการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในด้านต่างๆที่เหมาะสม
3.3.1 ประเมินกระบวนการคิด ตลอดจนการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้เกี่ยวข้อง
3.3.2 ประเมินทักษะการปฏิบัติวิชาชีพจากคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลงาน
4.1 คำอธิบายเกี่ยวกับทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับภาระความรับผิดชอบ ที่ควรมีการพัฒนา
4.1.1 ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือหรืออานวยความสะดวกในการแก้ปัญหาของงาน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดให้มีการแนะนำระหว่างผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง และอาจมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดี
4.2.2 มอบหมายการทำงานเป็นทีมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน และอาจมีการมอบหมายงานที่ต้องไปศึกษาค้นคว้า พูดคุย สัมภาษณ์ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงาน
4.2.3 ประชุมร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนติดตามและ ประเมินผลการทำงาน
4.3.1 ประเมินการสร้างสัมพันธภาพจากการสังเกตพฤติกรรม และผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง
4.3.2 ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากการไปศึกษาค้นคว้า พูดคุย สัมภาษณ์ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงาน
4.3.3 ประเมินจากราการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการยอมรับจากผู้ร่วมงาน
5.1 คำอธิบายเกี่ยวกับทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ควรมีการพัฒนา
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลขในการทำงาน
5.1.2 ทักษะการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง และการเขียน
5.1.3 ทักษะในการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งผลงานทางอีเมล์ การสร้างศูนย์ข้อมูลกลางในการปฏิบัติงาน การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Web Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การคิดพื้นที่ การประมาณราคา
5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะการสื่อสาร รวมทั้งการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 มอบหมายงานที่ใช้ทักษะการสืบค้นข้อมูลและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร
5.3.1 ประเมินจากเอกสารผลงานการคำนวณที่ถูกต้อง
5.3.2 ประเมินจากการนำเสนอและอธิบายผลงาน ที่มีการใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.3 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลและเอกสารที่สื่อสารผ่านช่องทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42024405 ฝึกงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การกำหนดสถานที่ฝึก อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม คัดเลือกสถานประกอบการที่ยินดีรับนักศึกษาฝึก ประสบการณ์ภาคสนาม โดยดูลักษณะงานที่เหมาะสมและมีความพร้อมดังนี้ - เข้าใจและสนับสนุนการฝึกงานของนักศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยต้องเป็นงานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นหลัก - มีความปลอดภัยของสถานที่ตั้ง มีความสะดวกในการเดินทาง และสภาพแวดล้อมการทางานที่ดี - มีสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จาเป็นเพียงพอต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษา - มีสถาปนิกที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ /พนักงานพี่เลี้ยง ที่ดูแลและให้คาแนะนำนักศึกษา - นักศึกษากำหนดสถานที่ฝึกงานด้วยตนเอง โดยติดต่อประสานงานให้แล้วเสร็จล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้รับผิดชอบรายวิชา การประเมินนักศึกษา 1. หลักเกณฑ์การประเมิน ประเมินการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ดังนี้ 1.1 แบบประเมินผลการฝึกงานโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง ร้อยละ 80 1.2 การตรวจเยี่ยมของอาจารย์นิเทศก์ ร้อยละ 10 1.3 การนำเสนอรายงานผลการฝึกงาน ร้อยละ 10 ทั้งนี้ ต้องได้รับคะแนนรวมเฉลี่ยจากการประเมินผล ไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5 หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา 2.1 ประเมินผลการฝึกงานโดยสถาปนิก/พนักงานพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามที่สาขาวิชากำหนด 2.2 ประเมินจากเอกสารรายงานและการนำเสนอข้อมูลผลการฝึกงาน เพื่อทวนสอบผลการฝึกงานและวางแผนการแก้ไขปรับปรุง 2.3 สรุปผลการประเมิน และรายงานผลต่อสาขาวิชา
2 การเตรียมนักศึกษา - แนะนำรายวิชา ชี้แจงรายละเอียด และการหาสถานที่ฝึกงาน - ปฐมนิเทศการฝึกงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์ สิ่งที่คาดหวัง การประเมินผล และมอบคู่มือการฝึกงาน
3 การเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์นิเทศก์ สาขาวิชาแต่งตั้งอาจารย์นิเทศก์ ประชุมชี้แจงให้รับทราบวัตถุประสงค์ สิ่งที่คาดหวัง จากการฝึกงาน ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ต้องการเน้น ช่องทางการติดต่อกรณีเหตุด่วน มอบตารางการนิเทศก์และเอกสารคู่มือการนิเทศก์
4 การเตรียมพนักงานพี่เลี้ยงในสถานที่ฝึก อาจารย์นิเทศก์ประสานงานกับพนักงานพี่เลี้ยง เพื่อชี้แจงให้เข้าใจถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองในการควบคุมการฝึกงาน รวมทั้งอธิบายให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ สิ่งที่คาดหวังจากการฝึกงาน ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ต้องการเน้น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการฝึกงาน รับทราบถึงวิธีการบันทึกผลการทางานของนักศึกษา มอบเอกสารคู่มือการดูแล และประเมินผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม บอกหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออาจารย์นิเทศ ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินพฤติกรรมและผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งระหว่างการฝึกงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน รวมทั้งบันทึกผลพร้อมทั้งข้อเสนอแนะในแบบประเมินผลการฝึกงานของสาขาวิชา และส่งแบบประเมินผลคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินพฤติกรรมและผลการฝึกงานของนักศึกษาจากการนิเทศก์ ร่วมกับแบบประเมินผลการฝึกงาน และการนำเสนอเอกสารและรายงานผลการฝึกงาน รวบรวม สรุปและรายงานผลต่อสาขาวิชาฯ สรุปผลการประเมินที่แตกต่าง กรณีผลการประเมินมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ให้อาจารย์นิเทศก์หารือร่วมกับพนักงานพี่เลี้ยง เพื่อชี้แจงข้อมูลและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกงาน เพื่อพิจารณาหาข้อสรุป
5 การจัดการความเสี่ยง อาจารย์นิเทศประชุมร่วมกันเพื่อประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดต่อนักศึกษา และก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการ เช่น - แนะนำการหาสถานที่ฝึกงานที่มีความเสี่ยงน้อย และให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการฝึกงาน - ประเมินความเสี่ยงจากสถานที่ตั้ง สภาพแวดล้อมในการทางาน และการเดินทางที่มีการคมนาคมสะดวกและปลอดภัย - ป้องกันความเสี่ยงจากอุบัติภัยจากการทางาน การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ โดยจัด ปฐมนิเทศ แนะนำการทางานที่เน้นความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการ เน้นจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และกำหนดให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด - ประสานงานกับนักศึกษาและพนักงานพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามผล และแก้ไขปัญหาจากการฝึกงานร่วมกัน
-
-
-
- นักศึกษาตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกงาน ความพร้อมของสถานประกอบการ และการดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์
- ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงานของนักศึกษา
 
 
พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
- ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกงานของนักศึกษา
- ประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ
- ประเมินการทำหน้าที่ของตนเอง
- ประเมินแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงาน
อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
- ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกงานของนักศึกษา
- ประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ
- ประเมินการทำหน้าที่ของตนเองและพนักงานพี่เลี้ยง
- ประเมินแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงานของนักศึกษา
อื่นๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่
- ติดตามผลการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- ติดตามผลประเมินสมรรถนะผู้ใช้บัณฑิตจบใหม่ที่ทำงานตรงตามสาขาวิชา
1.พิจารณาสถานที่ฝึกงานของนักศึกษาให้มีความเหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ทางหลักสูตรคาดหวัง
2.ติดตามสถานกราณ์เรื่องดรคระบาทอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้วางแผนรูปแบบการฝึกงานของนักศึกษา และรูปแบบการนิเทศก์ของอาจารย์ผู้ที่ต้องรับผิดชอบ
อาจารย์นิเทศก์ประชุมร่วมกันเพื่อนำผลจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะของทุกฝ่าย มาประมวลและนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไปให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และจัดทำรายงานผลการดาเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.6) ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดภาคการศึกษา