ทฤษฎีโครงสร้าง

Theory of Structures

1.1  ผู้เรียนสามารถอธิบายความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมโยธา  และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
1.3  ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สําคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหารายของวิชาได้ เฉพาะด้านทางวิศวกรรม
1.3  ผู้เรียนรู้จักบทบาท  หน้าที่  และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้ อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 
1.4 ผู้เรียนสามารใช้เครื่องมือการคํานวณ และเครื่องมือทางวิศวกรรม (โปรแกรมคำนวณ) เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552
ศึกษาการวิเคราะห์โครงสร้างแบบดิเทอร์มิเนทเพื่อหาแรงปฏิกิริยา  แรงเฉือน  โมเมนต์ดัดในคานและโครงข้อแข็ง  วิเคราะห์แรงภายในโครงข้อหมุนโดยวิธีคำนวณและวิธีกราฟ  อินฟูเอ็นไลน์ในคานและโครงข้อหมุน  การขจัดเชิงมุมและการโก่งของโครงสร้างโดยวิธีพื้นที่โมเมนต์วิธีคานเสมือน  วิธีงานเสมือน  วิธีพลังงานความเครียด    และวิธีแผนภูมิวิเลียต-มอร์  การวิเคราะห์โครงสร้างแบบอินดิเทอร์มิเนทโดยวิธีสมมติการเปลี่ยนรูปของโครงสร้าง
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ตามความต้องการ  3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ                                ข้อบังคับต่างๆ ของห้องปฏิบัติการ องค์กรและสังคม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึง เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรม ต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1    ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถามมีแบบฝึกหัดเพิ่มเติมให้นักศึกษา หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมควบคุม
1.2.2    ให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลา โดยผู้สอนเป็นต้นแบบ
1.2.3    อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลาการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
1.3.1    การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา
1.3.2    การแต่งกายตามระเบียบมหาวิทยาลัย
1.3.3    ส่งงานตรงเวลา
1.3.4    สังเกตการณ์ทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1    รู้ลักษณะการวิเคราะห์โครงสร้างแบบดีเทอร์มิเนทเพื่อหาแรงปฏิกิริยา แรงเฉือน โมเมนต์ดัดในคานและโครงข้อแข็ง วิเคราะห์แรงในโครงข้อหมุนโดยวิธีคำนวณและวิธีกราฟ  อินฟลูเอ็นไลน์ในคานและโครงข้อหมุน การขจัดเชิงมุมและการโก่งของโครงสร้าง  โดยวิธีพื้นที่โมเมนต์  วิธีคานเสมือน วิธีงานเสมือน วิธีพลังงานความเครียด และวิธีแผนภูมิวิเลียต–มอร์  การวิเคราะห์โครงสร้างแบบอินดีเทอร์มิเนทโดยวิธีสมมติการเปลี่ยนรูปของโครงสร้าง         
2.2.1    บรรยายหลักการและทฤษฎีตามมาตรฐานของงานตามคำอธิบายรายวิชา และตรงจุดประสงค์
2.2.2    ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติตามหลักการทฤษฎีจากใบงานที่มอบให้
2.3.1     การตอบข้อซักถาม และแสดงความคิดเห็น
2.3.2     ประเมินผลจากการทดสอบย่อย สอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.1.1     พัฒนาความรู้ทางทฤษฎีเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาวิชาที่ต่อเนื่องตามแผนการเรียน
3.2.2     พัฒนาความรู้ทางทฤษฎีเพื่อนำไปใช้ในงานก่อสร้างระดับมืออาชีพ
3.2.1    บรรยายประกอบการซักถาม
3.2.2    จัดการเรียนการสอนให้ได้รับประสบการณ์จริง โดยการลงมือปฏิบัติตามใบงานที่
มอบหมายให้ เพื่อความเข้าใจและความชำนาญ
3.2.3  ส่งเสริมความคิด วิเคราะห์  ตามคำอธิบายรายวิชา ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กัน  นักศึกษามีความช่างสังเกต ประยุกต์ และนำมาพัฒนาต่อยอดได้
3.3.1    ประเมินผลงานจากที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1    มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม
4.1.2    สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
4.1.3    วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
4.2.1   แบ่งกลุ่มความรับผิดชอบ ห้องเรียน ให้อยู่ในสภาพที่ดีและเรียบร้อยหลังจากเลิกเรียนทุกครั้ง
4.2.2   ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลาที่กำหนดให้
4.3.1    ประเมินผลจากความสนใจและซักถามความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
4.3.2   ดูการฝึกปฏิบัติจากงานที่ทำ ต้องถูกต้องตามหลักมาตรฐาน
4.3.3   สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ที่ได้รับหมายหมาย
5.1.1   สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพ
          ในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.1.2    สามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม
5.2.1    การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
5.2.2    การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
 
5.2.3    การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.4    การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
5.3.1   ประเมินจากวิธีการ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ
5.3.2   การทดสอบ หรือการประเมินจากงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ในการแก้ปัญหางานวิจัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 ENGCV103 ทฤษฎีโครงสร้าง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 การสังเกต 1-17 5%
2 1,2,3,4,5,6,7,8 การเข้าห้องเรียน 1-17 5%
3 1,2,3,4,5,6,7,8 แบบฝึกหัด และงานที่มอบหมาย 1-17 15%
4 1,2,3,4 การสอบกลางภาค 8 35%
5 1,2,3,4,5,6,7,8 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ 1-17 5%
6 5,6,7,8 การสอบปลายภาค 17 35%
อาจารย์มนตรี  คงสุข ทฤษฏีโครงสร้าง เอกสารประกอบการสอน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
        คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- หนังสือทฤษฏีโครงสร้าง  Theory of Structures  ดร.วินิต ช่อวิเชียร
http://www.eit.or.th (วิศวกรรมสถาน)
http://www.tumcivil.com
 
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา เป็นลักษณะโปรแกรมออนไลน์
การประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะทำการประเมิน
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวน และปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ. กำหนดทุกภาคการศึกษา สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำรายงานต่อสาขาวิชา เพื่อปรับหากลยุทธวิธีการสอนที่เหมาะสมต่อไป
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาจากที่คณะประเมินการสอนของรายวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชาเสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป