การสัมมนาและการฝึกอบรมในองค์กร

Training and Seminar in Organization

หลังจากศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการสัมมนาและการจัดฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ แบบจุลและแบบมหาภาค การวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบและนำเอาผลวิเคราะห์งานมาจัดสัมมนาและฝึกอบรมในองค์การ การจัดทำสื่อในการสัมมนาและฝึกอบรม การจัดทำโครงการและเอกสารประกอบในการฝึกอบรม พร้อมทั้งสรุปผลและเสนอรายงาน
๑. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสัมมนาและการจัดฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร
๒. มีความเข้าใจในหลักการวิธีการปฏิบัติการสัมมนาและการจัดฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร
๓. มีความสามารถในการวิเคราะห์งานและนำมาจัดสัมมนาและฝึกอบรมบุคลากร
๔. มีความรู้ความสามารถในการจัดทำโครงการและเอกสารประกอบพร้อมนำเสนอ
๕ มีความเข้าใจหลักการประเมินโครงการทั้งก่อนและหลัง
๖. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญในวิธีการจัดการสัมมนาและฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการสัมมนาและการจัดฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ แบบจุลภาคและแบบมหาภาค การวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบและนำเอาผลวิเคราะห์งานมาจัดสัมมนาและฝึกอบรมในองค์การ การจัดทำสื่อในการสัมมนาและฝึกอบรม การจัดทำโครงการและเอกสารประกอบในการฝึกอบรม พร้อมทั้งสรุปผลและเสนอรายงาน
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ E-learning และในห้องเรียน
- อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
๑.๑ คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ตระหนักใน
ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและ ลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการพัฒนาวัสดุช่วยสอนในปัจจุบัน มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
๑.๒.๑ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
๑.๒.๒ สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
๑.๒.๓ เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
๑.๒.๔ ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
๑.๒.๕ เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
๑.๓.๑ ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
๑.๓.๒ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๑.๓.๓ ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
๑.๓.๔ มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๒.๑ ความรู้ ที่ต้องได้รับ
ความหมายของการสัมมนาและการฝึกอบรม หลักการในการจัดสัมมนา และการจัดการฝึกอบรมในองค์กร การวิเคราะห์งานเพื่อสร้างหลักสูตรการอบรม การจัดทำสื่อการอบรม การจัดทำโครงการและเข้าใจกระบวนการจัดทำเอกสารการฝึกอบรม
๒.๒.๑ บรรยาย
๒.๒.๒ อภิปรายโครงการที่นักศึกษาแต่ละคนนำเสนอแล้วเลือกที่ดีที่สุด
๒.๒.๓ การทำงานกลุ่มจัดโครงการอบรมหรือสัมมนาตามที่เลือก
๒.๒.๓ จัดการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning
๒.๓.๑ ทดสอบย่อย
๒.๓.๒ สอบกลางภาค
๒.๓.๓ สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
๒.๓.๔ ประเมินจากผลงานรายงานกลุ่ม การนำเสนอโครงการแต่ละคน
๓.๑ ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
๓.๑.๑ มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้าน
ก. การเขียนโครงการอบรมและสัมมนา
ข. การเขียนเอกสารการอบรมและจัดทำสื่อการสอน
ค. การออกแบบใบประเมินการอบรมและสัมมนา
๓.๑.๒ มีทักษะในการเป็นผู้นำการจัดอบรมและสัมมนา
๓.๒.๑ บรรยาย
๓.๒.๒ อภิปรายข้อดีและข้อด้อยของการจัดการอบรมแต่ละวิธี
๓.๒.๓ การทำงานกลุ่มค้นคว้าเรื่องการอบรมโครงการที่ได้รับเลือก
ก. โครงการการอบรมที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนด
ข. โครงการที่นักศึกษาได้นำเสนอและได้รับการคัดเลือก
๓.๒.๔ จัดทำรายงานการประเมินผลโครงการ ตามรูปแบบที่กำหนด
๓.๓.๑ ทดสอบย่อย
๓.๓.๒ สอบกลางภาค
๓.๓.๓ สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
๓.๓.๔ ประเมินจากผลสำเร็จของโครงการ
๓.๓.๕ ผลการค้นคว้าและการบ้านทาง E-Learning
๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
๔.๑.๑ มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
๔.๑.๒ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๑.๓ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
๔.๑.๔ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
๔.๒.๑ มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
๔.๒.๒ การนำเสนอรายงานและจัดโครงการอบรมอย่างน้อย ๑ โครงการ
๔.๓.๑ ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
๔.๓.๒ ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
๔.๓.๓ ประเมินจากรายงานสรุปโครงการ
๕.๑ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
๕.๑.๑ สามารถเลือกใช้การสืบค้นได้ทางอินเตอร์เน็ท
๕.๑.๒ สามารถสื่อสารกับผู้สอนผ่านทางระบบ E-Learning
๕.๑.๓ สามารถส่งการบ้านได้โดยทางระบบ E-Learning
๕.๒.๑ มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
๕.๒.๒ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๓.๑ ประเมินจากรายงาน การจัดทำโครงการและรูปแบบการฝึกอบรมที่เหมาะสม
๕.๓.๒ ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงานผ่านระบบ E-Learning
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 1 2 3 1 2
1 30023203 การสัมมนาและการฝึกอบรมในองค์กร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๒.๑ ๒.๑,๓.๑ ๒.๑,๓.๑ ๒.๑,๓.๑ ทดสอบครั้งที่ ๑ สอบกลางภาค ทดสอบครั้งที่ ๒ สอบปลายภาค ๔ ๘ ๑๒ ๑๗ ๕% ๒๕% ๕% ๒๕%
2 ๑.๑,๔.๑ ๒.๑ ๕.๑ ๔.๑ ๕.๑ งานรายบุคคล และการทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย ๑.การทำการบ้านทาง E-Learning ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรมที่ดำเนินการ ๓.รายงานการประเมินโครงการ ตลอดภาคการศึกษา ๓๐%
3 ๑.๑ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ๑๐%
๑. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ๒๕๔๕
สมชาติ กิจยรรยง เทคนิคการจัดฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น ๒๕๓๙
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท ๒๕๔๕
 
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
๑.๑ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
๑.๒ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
๒.๑ การสังเกตของผู้สอน
๒.๒ ผลการเรียนของนักศึกษา
๒.๓ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชาจะจัดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยการสอบถามนักศึกษาหรือการตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา การทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้
๔.๑ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
๔.๒ มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย
ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
๕.๑ ปรับปรุงหัวข้องานที่มอบหมายและวิธีการสอน สื่อประกอบการสอนภาคการศึกษาที่ทำการสอนตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔
๕.๒ เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการจัดกาฝึกอบรม โดยเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ให้ความรู้เชิงปฏิบัติ.