การตลาดบริการและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์

Services Marketing and Customer Relationship Management

เพื่อศึกษาลักษณะของตลาดบริการ และพฤติกรรมผู้บริโภค เทคนิควิธีการแบ่งกลุ่มลูกค้า การ ใช้ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับตลาด บริการเพื่อบรรลุคุณภาพการให้บริการความพึงพอใจของ ลูกค้า แนวคิดต่างๆทางการตลาดบริการที่สำคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้ากลยุทธ์การสร้าง ความสำคัญโปรแกรมการสร้างความสำพันธภาพปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบผลิคภัณฑ์และบริการต่าๆเพิ่มความจงรักภักดี ที่มีต่อตราสินค้า
เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ ในการวิเคราะห์กลยุทธ์ของตลาดบริการ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไป โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวการเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ
ศึกษาลักษณะของตลาดบริการ และพฤติกรรมผู้บริโภค รวมทั้งความแตกต่าง ระหว่างตลาดสินค้าและตลาดบริการ การใช้ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับ บริการเพื่อบรรลุคุณภาพการให้บริการความพึงพอใจของลูกค้า และความภักดี ที่มีต่อการให้บริการขององค์กร รวมถึงแนวคิดต่าง ๆ ทางด้านตลาดบริการที่สำคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้า
3.1 วันพุธ (คาบกิจกรรม) เวลา 15.00 - 17.00 น. ของทุกสัปดาห์ ห้อง ห้อง สาขาวิชาการตลาด อาคารราชมังคลานครินทร์ 3.2 line กลุ่ม วิชาการตลาดบริการและ
1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม 1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน 1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
- กำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าเรียนและการให้คะแนนอย่างชัดเจน - ให้นักศึกษารายงานผลงานที่มอบหมายทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล - ให้นักศึกษานำข้อมูลที่ค้นคว้ามาวิเคราะห์พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน -
1. คะแนนมาเรียน (พฤติกรรมการเข้าเรียน) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 2. คะแนนงานรายบุคคล (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 3. คะแนนงานกลุ่ม+นำเสนอ (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 4. คะแนนสอบ จำนวนร้อย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ 2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมี ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
บรรยายเนื้อหาทั้ง โดยใช้ power point และหนังสือ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามประเด็นสงสัย และมีกิจกรรมในชั้นเรียนโดยเลือกแบบฝึกหัดและหรือกรณีศึกษาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละบท
การประเมินผลใช้แบบทดสอบ 70 คะแนน
 3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารยุคใหม่ๆ 3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม 3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนาความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ 3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
วิเคราะห์กรณีศึกษาด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบตามทฤษฎีทางการตลาดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นการคิดวิเคราะห์
4.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา 4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความ รับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม 4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่าง สร้างสรรค์
- มอบหมายงานให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นรายกลุ่ม - จัดกิจกรรมกลุ่ม ติดตามการทำงานกลุ่มและงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินผลการเคารพสิทธิและให้เกียรติผู้อื่น และการกล้าแสดงความคิดเห็น จากคะแนนต่าง ๆ ดังนี้ 1. คะแนนงานกลุ่ม+นำเสนอ (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 2. การสังเกตุ
5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการ วิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ 5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็น ต่อการปฏิบัติงาน 5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียน รายงานและการนำเสนอด้วยวาจา 5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย 5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและ ทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ สื่อสารและดำเนินงาน
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซด์ วิเคราะห์งานโดยการนำเสนอ บรรยายพร้อมบอกแหล่งอ้างอิง - นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ประเมินจากรายงานการเขียน และการนำเสนอผลงานในรูปของเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 4 5 6 7 1 2 3
1 BBABA624 การตลาดบริการและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
จันทรา ยินดียม. การจัดการขาย.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
-internet วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี . การจัดการสัมพันธ์ลูกค้า
Marketing Oops , Marketeer Magae
1.1 อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาเสนอแนะการเรียนการสอนในรายวิชานี้ เขียนลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน 1.2 ผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
2.1 ผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
3.1 แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา 3.2 แก้ไขข้อบกพร่องจากข้อเสนอแนะจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาในชั้นเรียน 3.3 การทำวิเคราะห์กรณีศึกษาในชั้นเรียน
.1 ทวนสอบคะแนนสอบของนักศึกษาตามจุดประสงค์การสอนแต่ละหน่วยเรียน 4.2 ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษาตามจุดประสงค์การสอนแต่ละหน่วยเรียน
5.1 ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินผู้สอน จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน 5.2 วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 5.3 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)