โลหะวิทยาในงานวิศวกรรม

Engineering Metallurgy

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในทางโลหะวิทยา คุณสมบัติเชิงกลของโลหะและโลหะผสม โครงสร้างจุลภาคและมหภาคของโลหะ การเกิดผลึก การเปลี่ยนรูปของโลหะ แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน กรรมวิธีอบชุบและการกัดกร่อน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในทางโลหะวิทยา และให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโลหะ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในทางโลหะวิทยา คุณสมบัติเชิงกลของโลหะและโลหะผสม โครงสร้างจุลภาคและมหภาคของโลหะ การเกิดผลึก การเปลี่ยนรูปของโลหะ แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน กรรมวิธีอบชุบและการกัดกร่อน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
วิธีการสอน


บรรยายและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมช่วงการเรียนการสอน สอดแทรกเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในทางโลหะวิทยา คุณสมบัติเชิงกลของโลหะ โครงสร้างของโลหะและการเกิดผลึก การเปลี่ยนรูปของโลหะ คุณสมบัติของโลหะผสม ไดอะแกรมของเหล็ก-เหล็กคาร์ไบด์ การอบชุบของเหล็ก กรรมวิธีชุบแข็ง
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอเป็นกลุ่ม โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 พัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความรู้และเทคโนโลยี
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำรายงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2 วัดผลจากการทำรายงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่ม เกี่ยวกับเทคโนโลยีวัสดุ
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินตนเอง และสมาชิกด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 ส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลจาก web site
5.1.4 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก web site สื่อการสอน E- Learning และนำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2 มอบหมายงานที่ใช้การคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายที่ใช้การคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
6.1 ทักษะพิสัย ที่ต้องพัฒนา
6.1.1 พัฒนาทักษะในด้านการบริหารจัดการเวลา การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ อย่างถูกต้อง มีวินัยและประสิทธิภาพ
6.1.2 พัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันอย่างดี
6.2 วิธีการสอน
6.2.1 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม โดยกำหนดเวลาส่ง และระเบียบการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์
6.3 วิธีการประเมินผล
6.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ทดสอบการใช้เครื่องมือ
6.3.2 ใบรายงานการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-5 สอบกลางภาค 8 25%
2 บทที่ 6-10 สอบปลายภาค 17 25%
3 บทที่ 1-10 1. แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 2. ปฏิบัติงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน 3. การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 1. แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 10% 2.ปฏิบัติงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน 30% 3. การส่งงานตามที่มอบหมาย 5%
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
วีระพันธ์ สิทธิพงศ์. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร ภาค 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นิยมวิทยา, 2552
วีระพันธ์ สิทธิพงศ์. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร ภาค 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นิยมวิทยา, 2553
มานพ ตัณตระบัณฑิตย์. งานทดสอบวัสดุอุตสาหกรรม. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), 2553
มนัส สถิรจินดา. วิศวกรรมการอบชุบเหล็ก. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษาการประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอนในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อที่ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนด้วยการทำการวิจัยในชั้นเรียน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4