นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

Innovation and Information Technology for Educational

เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา มีความรู้ในด้านการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ สามารถออกแบบ สร้าง ประยุกต์ใช้ และประเมินหาประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา มีความรู้ในการสื่อสารในการพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา สามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการศึกษา สามารถจัดการเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้ ประเมินสื่อและนวัตกรรมได้
เพื่อให้นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ดังนี้ 1. มีความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา 2. มีทักษะในการออกแบบ สร้าง และประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา 3. สามารถประเมินหาประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 4. มีความรู้ในด้านการสื่อสาร การพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา 5. มีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการศึกษา 6. มีความรู้และสามารถใช้แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ 7. สามารถประยุกต์ใช้สื่อและประเมินสื่อและนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การออกแบบ การสร้าง การประยุกต์ใช้ การประเมินหาประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อการเรียนรู้และการสื่อสารการพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการศึกษา แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ การประเมินสื่อและนวัตกรรม
จัดให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เฉพาะนักศึกษารายที่ต้องการ) และสามารถให้คำปรึกษาผ่านระบบ E-learning, Facebook , Line, MS Team และโทรศัพท์ได้ตลอดเวลา
1. สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณ วิชาชีพครู 2. แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
1. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย 2. กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 3. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
1. ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2. ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเป็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน 3. ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลง่านทางวิชาการของผู้อื่น 4. ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
1. มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้งและเป็นระบบ 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตะหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
1. เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง 2. ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานวิชาการ
1. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย 2. ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการ
1. มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม 2. มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
1. ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นำสคัญโดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
1. ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ประเมินผลจาการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 3. ประเมินผลจากการอธิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
1. แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ 2. แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
1. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 2. ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ 3. กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื่อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
1. ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงมีการมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 2. ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ 3. ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
1. มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสาร ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 2. สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร 2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน 3. จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
1. แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์ 2. แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มเรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
1. สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน 2. สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ 3. สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติการ 4. จัดนิทรรศการการแสดงผลงานของนักศึกษา 5. สนับสนุนการจัดทำโครงงาน
1. ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน 2. ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน 3. ประเมินผลจากโครงงานนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC810 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การปฏิบัติตนในการเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
2 ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,17 40
3 ทักษะทางปัญญา ผลงานจากการฝึกปฏิบัติในการผลิต สร้าง สื่อและนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 9, 10, 12, 14, 15, 16 30
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายและจากการนำเสนองานด้วยวาจา ตลอดภาคการศึกษา 5
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลงานที่ให้นักศึกษาไปค้นคว้าและจัดส่ง ตลอดภาคการศึกษา 10
6 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ผลงานที่ให้นักศึกษาไปค้นคว้า ตบอดภาคการศึกษา 5
กิดานันท์ มะลิทอง. (2540). เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. (2549). นวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โปรแกรมปฏิบัติการสร้างสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา เอกสารประกอบการเรียนการสอน
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนการสอน เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา
-สะท้อนความคิดของนักศึกษาโดยดูจากความคิดเห็นในการนำเสนอผลงาน และ การแแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการนำเสนอ -การประเมินผ่านข่องทางในการเรียนในระบบ E-learning  
-แบบประเมินออนไลน์ของมหาวิทยาลัยฯ
-การจัดสัมมนา จัดกิจกรรมการเรียน และการประเมินผลการเรียนรู้
-ทวนสอบผลสัมฤทธิทางการศึกษา โดยการประเมินข้อสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก -การทวนสอบในระดับหลักสูตร ทำโดยมีระบบประกันคุณภาพภายในสถาบันการศึกษาดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้  
-ปรับปรุงรายวิชาทุก ๆ ปี โดยจัดสัมมนาร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่สอนในรายวิชานี้