เทคนิคการนำเสนอ

Presentation Techniques

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการสื่อสาร  สื่อ และประสิทธิภาพของสื่อแต่ละชนิด เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในการรับรู้ และการใช้อุปกรณ์นำเสนอ เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และสามารถจัดการเตรียมสารสนเทศ การสร้างสรรค์ การเตรียมตัวผู้นำเสนอ การนำเสนอสารและการโต้ตอบ รวมทั้งการประเมินผลการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้องอย่างมืออาชีพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการสื่อสาร การรับรู้  การใช้อุปกรณ์นำเสนอ รวมถึงการเรียนรู้บทบาท และความสำคัญของการเตรียมสารสนเทศ การสร้างสรรค์ การเตรียมตัวผู้นำเสนอ การนำเสนอสารและการโต้ตอบที่มีต่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด และการพัฒนาการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานการสื่อสาร  สื่อ และประสิทธิภาพของสื่อแต่ละชนิด การรับรู้ การใช้อุปกรณ์นำเสนอ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การเตรียมสารสนเทศ การสร้างสรรค์ การเตรียมตัวผู้นำเสนอ การนำเสนอสารและการโต้ตอบ รวมทั้งการประเมินผลการนำเสนออย่างมืออาชีพ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ติดประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาการส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตลอดจนการแต่ง กายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
3.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
4.การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
5.ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
6.ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
1.จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงานโครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเช่นการบ้านงานที่มอบหมายรายงานการทดสอบย่อยการนำเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ
1.การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
1.ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้าโครงงานโดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2.ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2..มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1.พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2.การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
1.สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูลและการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
1.ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2.พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสารของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
1.จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 2 1 2 2 2
1 BBABA625 เทคนิคการนำเสนอ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 4.1.1, 4.1.2 , 4.1.3, 5.1.2 , 5.1.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน 1. การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย 2. การส่งงานตามกำหนดเวลา 3. การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-8, 10-16 1. 20% 2. 10% 3. 10%
2 1.12, 1.1.4, 1.15 1. คะแนนเจตคติ 1-8, 10-16 10%
3 2.1.1 1. การสอบกลางภาค 2. การสอบปลายภาค 9, 17 20% 30%
1. ครูภณิชญา ชมสุวรรณ (ม.ป.ป.). การติดตามผลและการประเมินผลการนำเสนอ. แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (ม.ป.ป.). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองาน.  สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562 จาก https://sites.google.com
3. ไพริน มูหลาน สกุลเล็ก (2556). ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร.  สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562 จาก https://www.gotoknow.org/posts/521170
4. นิรมล ศิริหล้า (2553). การรับรู้ (Perception). สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562 จาก https://www.gotoknow.org
5. เรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ (ม.ป.ป.). อุปกรณ์และเครื่องมือช่วยในการนำเสนองาน.   สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม จาก https://sites.google.com
6. ร่วมสร้างสรรค์แบ่งปันความรู้เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ – Knowledge Sharing (ม.ป.ป.). เทคนิคการ
ออกแบบสื่อนำเสนอ. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562 จาก http://www.thailibrary.in.th
7. NovaBizz (2561). การรับรู้ (Perception). สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม  จาก https://www.novabizz.com
8. Prasitsuppkarn Phungbun na Ayudhya (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค.   สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2562 จาก http://pphungbun.blogspot.com
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน
1.3 ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง