เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

Engineering Economy

1.1 รู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในงานวิศวกรรม 1.2 เข้าใจ ต้นทุน การคำนวณดอกเบี้ย การหามูลค่าปัจจุบัน และมูลค่ารายปี 1.3 เข้าใจการหาอัตราผลตอบแทน การหาผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน 1.4 อธิบายหาค่าเสื่อมราคาจุดคุ้มทุน และผลกระทบภาษีรายได้ 1.5 อธิบายการทดแทนทรัพย์สิน การประเมินค่าความไวการวิเคราะห์เงินเฟ้อ 1.6 อธิบายการวิเคราะห์การตัดสินใจในโครงการต่างๆ
2.1 เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเนื้อหาให้เข้ากับเหตุการณ์ในปัจจุบัน ให้ทันสมัย และน่าสนใจมากขึ้น 2.2 เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึ่งประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ศึกษาเกี่ยวกับ ชนิดของต้นทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ มูลค่ารายปี ดอกเบี้ยในนามและดอกเบี้ยแท้จริง หลักการเลือกตัดสินใจที่ดีที่สุดสำหรับวิศวกรรม อัตราผลตอบแทน จุดคุ้มทุน ค่าเสื่อมราคา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 
3.1 วัน พุธ  เวลา 15.00 – 17.00 น. ห้อง 731 3.2 E-mail; kungtubtim@hotmail.com และ โทรศัพท์มือถือ; 0897079399
1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
(1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ (3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (4) เคารพในคุณค่าและศักดี้ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 สอดแทรกตัวอย่างให้เห็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอาชีพวิศวกร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตาม 1.2.2 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย เคารพระเบียบ ข้อบังคับ เช่น การตรงต่อเวลา การเป็นผู้ฟังที่ดี การทำงานกลุ่ม เป็นต้น 1.2.3 ปลูกฝังให้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ กำหนดบทลงโทษ และผลกระทบต่อตนเอง สังคม จากพฤติกรรมดังกล่าว
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 ประเมินผลจากการทำงานเป็นกลุ่ม ความสัมพันธ์ในกลุ่ม 1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
 
2. ความรู้ 2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
(1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งต้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ ศึกษา (2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ ศึกษา (3) สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
2.2 วิธีการสอน
ใช้การบูรณาการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) บรรยาย อภิปรายครอบคลุม เนื้อหาทางทฤษฎีทั้งหมดในรายวิชา การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ประยุกต์มาใช้กับวิชาชีพ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย การทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียนและการบ้าน 2.3.3 ประเมินจากการจัดทำรายงานของนักศึกา และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3. ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือ วิชาชีพ (2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 การสอนภาคบรรยายที่มีการใช้ตัวอย่างที่เหมาะสม สอดคล้องกับวิชาชีพ 3.2.2 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์ 3.2.3 อภิปรายกลุ่ม การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ 3.2.4 เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักภาม เพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาด้วยกันเองในชั้นเรียน
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ 3.3.2 วัดผลจากการประเมินผลงานที่มอบหมาย 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
(1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี (2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม (3) สามารถทำงานเป็นทีมและแกไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม (4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้การศึกษางาน หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน 4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
(1) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม (2) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแกไฃป้ญหาอย่าง เหมาะสม (3) ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตาม กาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล 
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3 สอนเกี่ยวกับโปรแกรมช่วยในการคำนวณ และวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย 5.3.3 ประเมินจากการใช้โปรแกรมช่วยในการเรียนการสอน
 
6. ด้านทักษะพิสัย 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
(1) มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม  (2) มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์ และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ 
6.2 วิธีการสอน
6.2.1 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม โดยกำหนดกรณีศึกษาให้กับผู้เรียน 6.2.2 ให้ผู้เรียนออกมาถ่ายถอดองค์ความรู้ ระหว่างเรียนในชั้นเรียน
6.3 วิธีการประเมินผล
6.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอ  6.3.2 ประเมินจากการออกมาถ่ายถอดองค์ความรู้ ระหว่างเรียนในชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบย่อย 8 16 20% 30% 10%
2 3.2, 4.1, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2, 5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน แบบฝึกหัดในชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.2, 1.3, 6.1, 6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 เอกสารประกอบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (เอกสารอัดสำเนา)
2.1 นชัย ริจิรวนิช และคณะ. เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. ศูนย์หนังสือจุฬา : กรุงเทพฯ. 2.2 ไพบูลย์ แย้มเผื่อน. เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น : กรุงเทพฯ.
Engineering Economy. 4th Blank, L.T. and Targuin A.J... 1993 McGraw-Hill; Co. Engineering Economics . 4th James L.Riggs , David D. Bedworth 1996 McGraw-Hill; Co. Engineering Economy . 8th Thuesen G.J. and Fabrycky W.J. 1993 Prentice-Hall International,Inc.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3. และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4. 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ