งานทดลองเครื่องกล

Mechanical lab

เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ กำลังงานของเครื่องยนต์ การสั่นสะเทือนและการสมดุล ระบบส่งกำลังและระบบบังคับเลี้ยว
เพื่อให้นักศึกษานำความรู้พื้นฐาน มาแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรม ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ควรมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพที่ดีและทันสมัยขึ้น
ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เช่น การบิด การดึง การดัด ความแข็งแรงและความล้า การสั่นสะเทือนทางกล การสมดุล ทดลองความเร่ง ระบบเกียร์ ไจโรสโคป ทดลองเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบบังคับเลี้ยวและระบบเบรก
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม  1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไข ข้อขัด แย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ ศรีของความเป็นมนุษย์  1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม  1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ วิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 ในระหว่างบรรยายหลักการและทฤษฎี มีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม
1.2.2 มีการตรวจสอบเวลาการเข้าเรียน กำหนดให้เข้าเรียนตรงต่อเวลา 1.2.3 ให้งานทำเป็นกลุ่มเพื่อฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ
1.3.1 ประเมินจากการเวลาการเข้าเรียน การส่งงานตามกำหนดเวลาที่มอบหมาย 1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการลงปฏิบัติงานต่าง ๆ 1.3.3ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการ สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม  2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎี เพื่อนำใช้คำนวณในงานทดลองเครื่องกลที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งยกตัวอย่างโครงงานต่าง ๆ  2.2.2 มอบหมายงาน เพื่อจัดทำรายงาน
2.3.1 นำเสนอผลงาน และซักถามและตอบคำถาม ที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีที่นำมาใช้งาน  2.3.2 รายงานหลักจากการทดลอง
3.1.2 สามารถรวบรวม  ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการคำนวณและการประยุกต์ใช้จริง  3.2.2 มอบหมายงาน เพื่อตรวจสอบกระบวนการคิด-วิเคราะห์
3.3.1 ผลการดำเนินงานในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเน้นปริมาณงานและคุณภาพ  3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  4.1.2 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม   สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ    สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ  4.1.3 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน  และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 มอบหมายงานรายบุคคล และหมู่คณะ เพื่อให้ได้ปริมาณงานที่เท่าเทียมกัน และสามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้  4.2.2 การถาม-ตอบในระหว่างเรียน เพื่อให้นักศึกษามีโอกาศแสดงความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินจากรายงานและพฤติกรรมการทำงานในระหว่างเรียน  4.3.2 ประเมินจากรายงานที่มีการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์  5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์  5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 อธิบายการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทดลองทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทดลอง  5.2.2 บรรยายหลักการทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยงข้องกับการแก้ปัญหาที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ เช่น การคำนวณสมรรถนะของปั้มด้วยโปรแกรมเอกเซล  5.2.3 มอบหมายงานที่มีการใช้สถิติ เพราะข้อมูลทางสถิติจะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของผลการทดลอง
5.3.1 คุณภาพและความถูกต้องของรายงาน  5.3.2 ผลการปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี 
อธิบายการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทดลองทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล และอาคารของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
6.2.1 ประเมินจากการทดลองใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงาน  6.2.2 ประเมินจากพฤติกรรมการทางานเป็นทีม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ตาม มคอ.2 ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการประลอง วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 25% 60% 15%
ตามใบงานการทอลองของแต่ละงานทดลอง
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ 3.1 Vibration Analysis , Vierck R.K 3.2 วิศวกรรมการสั่นสะเทือน , มนตรี พิรุณเกษตร 3.3 เครื่องล่างและระบบส่งกำลัง ,ชาญ ถนัดงาน 3.4 เอกสารเผยแพร่จากงานฝึกอบรมช่างยนต์ ฝ่ายบริการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยจำกัด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ