การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการ

Basic Industrial Engineering Training

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เช่น เครื่องมือวัดทั่วไป เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ เป็นต้น เครื่องมือกลพื้นฐาน เช่น เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ เป็นต้น การเชื่อมประสาน เครื่องมือทั่วไป เช่น งานร่างแบบ งานเลื่อยมือ งานตะไบ เป็นต้น และหลักการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอย่างปลอดภัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติการทำงานโดยใช้เครื่องมือให้ถูกต้อง เพื่อจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม และเป็นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในขั้นสูงต่อไป และได้ทำการปลุกผังจิตสำนึกให้นักศึกษาเอาใจใส่ ให้ความสำคัญของ การตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย ด้วย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม เมื่อถึงเวลาได้ไปปฏิบัติงานจะสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานอย่างหนึ่งของอาชีพวิศวกรด้านอุตสาหกรรม ผู้สอนได้ดำเนินการจัดแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชา และเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้า และทางผู้สอนเองก็ต้องมี การปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีของการทำงานซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ศึกษาและปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน การเชื่อมประสาน เครื่องมือทั่วไป และหลักการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอย่างปลอดภัย
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งเวลาให้คำปรึกษา หรือช่องทางในการติดต่อหน้าชั้นเรียน และให้ช่องทางการติดต่อด้าน IT เช่น Line และโทรศัพท์มือถือ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
1.1.1   เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2   มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4   สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.5   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นในการสอนรายวิชาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ยังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา  
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2   ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมอุตสาหการมีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
2.3.1   การทดสอบย่อย
2.3.2   การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4   ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
2.3.5   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.6   ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิศวกรรมอุตสาหการ
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
3.1.1   มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2   สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4   มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1   กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
3.2.2   การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.3   ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้
4.1.1   สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2   สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4   รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
4.2.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย                           
4.2.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.2.4   มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3.1   ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2   ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3   ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4.3.4 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2   มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4   มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.2.2 ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1   ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
5.3.2   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการ ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการดังข้อต่อไปนี้
6.1.1   มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1   สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2   สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1   สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2   สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE103 การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2. เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 3. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1. เช็คชื่อเข้าชั้นเรียน 2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรม 1 - 18 10%
2 1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2. มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. สอบกลางภาค 2. สอบปฏิบัติ 3. สอบปลายภาค 9, 17, 18 1. สอบกลางภาค 15% 2. สอบปฏิบัติ 10% 3. สอบปลายภาค 15%
3 1. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 2. สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. รายงานเป็นรูปเล่ม 2. การนำเสนอรายงาน 3. แบบฝึกหัดท้ายบท 2 - 8 10 - 16 หรือตามลำดับที่ได้รับมอบหมาย 10%
4 1. รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 2. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 1. สังเกตุพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การให้ความช่วยเหลือกันในกลุ่ม 2 - 8 10 - 16 หรือตามลำดับที่ได้รับมอบหมาย 5%
5 1. มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 2. สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 1. สังเกตุการใช้เครื่องมือต่างๆ ทางด้านสาระสนเทศ มาช่วยในการนำเสนองาน 2 - 8 10 - 16 หรือตามลำดับที่ได้รับมอบหมาย 5%
6 1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. ประเมินผลงานจากการทำงาน และผลงานตามใบงานในภาคปฏิบัติ 2 - 8 10 - 16 30%
อนันต์ วงศ์กระจ่าง. เอกสารประกอบการสอน(การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรม). มปป.
วิทยา ทองขาว. งานฝึกฝีมือ 1. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991), 2556.
อำพัน เมธนาวิน. วัดละเอียด. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991), 2556.
ศิริชัย ต่อสกุล. เขียนแบบเครื่องกล. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991), 2557.
ที กรุ๊ฟ อ๊อฟ เอ็นจิเนียร์. ตารางเหล็ก 2. กรุงเทพฯ: มปป.
อนุศักดิ์ ฉี่นไพศาล. งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส (1989), 2555.
วิชัย โรมโธสง. งานฝึกฝีมือ. 2. กรุงเทพฯ : วังอักษร, 2546.
นริศ ศรีเมฆ. งานฝึกฝีมือ. นนทบุรี : เอมพันธ์, 2545.
ฝ่ายวิชาการบริษัทสกายบุกส์. งานฝึกฝีมือ. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ชินดิเคท, 2547.
อำนาจ ทองแสน. ทฤษฎีเครื่องมือกล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น (2559)
www.pwo.co.th/ewt_dl_link.php?nid=815, เข้าถึง พฤษภาคม 2561.  
www.rsu.ac.th/engineer/esc/images/ความปลอดภัย.pdf, เข้าถึง พฤษภาคม 2561.
http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2016/02/s58.pdf, เข้าถึง พฤษภาคม 2561.
http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter4/chapter4.htm, เข้าถึง เมษายน 2561.
http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter3/chapter3.htm, เข้าถึง เมษายน 2561.
http://202.29.239.245/media/welder/2100-1004/lesson/lesson5-3.html, มิถุนายน 2561.
https://sites.google.com/site/wanidj/home/6-ngan-leuxy-sawing, เข้าถึง พฤษภาคม 2560
http://kpt-work-work.blogspot.com/p/9.html, เข้าถึง ธันวาคม 2560.
https://sites.google.com/site/prakasittid3qqq/si-xen-si/kheruxng-ceiyrani, เข้าถึง ธันวาคม 2560.
https://goo.gl/99q6UM, เข้าถึง มกราคม 2561.
https://sites.google.com/site/prakasittid3qqq/si-xen-si/kheruxng-ceaa, เข้าถึง เมษายน 2560.
ie.eng.cmu.ac.th/IE2014/elearnings/2016_08/195/บทที่5%20เครื่องเจาะและงานเจาะรู.pdf, เข้าถึง มิถุนายน 2561.
http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter6/chapter6.htm, เข้าถึง มิถุนายน 2560.
www.moro.co.th/วิธีการ-tap-เกลียวในด้วยมื/, เข้าถึง มกราคม 2561.
https://sites.google.com/site/wanidj/home/8-ngan-tha-keliyw-threading, เข้าถึง มีนาคม 2561.
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088450077_15051112121315.pdf, เข้าถึง มกราคม 2561.
https://goo.gl/7OLaU8, เข้าถึง พฤษภาคม 2561.
https://goo.gl/9zYcF2, เข้าถึง ธันวาคม 2560.
https://goo.gl/soT2OU, เข้าถึง ธันวาคม 2560.
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~kjirapon/Drawing%20Notes/Chapter%2011.pdf, เข้าถึง พฤษภาคม 2561.
goo.gl/D14Ub6, เข้าถึง มิถุนายน 2561.
http://www.bbntool.co.th/articles/41910415/vernier-caliper-mitutoyo,vernier-mitutoyo.html, เข้าถึง เมษายน 2561.
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088450077_15051111115507.pdf, เข้าถึง มีนาคม 2561.
https://goo.gl/YZ37Ug, เข้าถึง เมษายน 2561.
goo.gl/kDPMur, เข้าถึง มิถุนายน 2561.
https://carpenterwoodblog.weebly.com/blog/7, เข้าถึง มิถุนายน 2561.
รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน
การประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษา
ช่วงก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับภาควิชา และ/หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา
ด้านกระบวนการนำผลการประเมินไปปรับปรุง สามารถทำโดยรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและกำหนดประธานหลักสูตรและทีมผู้สอนนำไปปรับปรุงและรายงานผลต่อไป
การทวนสอบในระดับรายวิชาควรให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา มีคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมของข้อสอบให้เป็นไปตามแผนการสอน มีการประเมินข้อสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกการทวนสอบในระดับหลักสูตรสามารถทำได้โดยมีระบบประกันคุณภาพภายในสถาบันการศึกษาดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้และรายงานผล
การทบทวนโดยอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มรายวิชาเดียวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพิจารณาปรับปรุงเพื่อการเรียนการสอนในครั้งต่อไป