ศิลปะนิพนธ์สำหรับสื่อศิลปะ

Art Thesis for Media Art

๑.  รู้ความเป็นมาของสื่อศิลปะ
๒.  เข้าใจแนวคิดและรูปแบบของงานสื่อศิลปะ
๓.  มีทักษะในการนำสื่อศิลปะสมัยใหม่มาสร้างสรรค์งานทางทัศนศิลป์  
๔.  มีทัศนคติที่ดีต่องานสื่อศิลปะสมัยใหม่
1. เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลง
2. พัฒนาศักยภาพของอาจารย์และนักศึกษาให้ก้าวทันโลกเทคโนโลยี
3. ประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
4. รู้และเท่าทันความรู้ทั้งทางด้านความเป็นมาและอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป
ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์แนวความคิด แก้ปัญหา เพื่อสร้างสรรค์โครงงานศิลปนิพนธ์ สามารถนำกระบวนการ การสร้างสื่อศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตน นำเสนอให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยมีผลงานและเอกสารประกอบการสร้างสรรค์ รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์
อาจารย์ผู้สอนจะให้คําปรึกษาและแนะนําทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จํานวน ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกําหนดเวลาล่วงหน้า
ข้อ ๑  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม ข้อ ๒  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ข้อ ๓  มีวินัย ขยันอดทนตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อ ๔ เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ

บรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวกับสื่อศิลปะสมัยใหม่ที่สำคัญทั้งในไทยและต่างประเทศ

-      แนะนำให้ศึกษาและพัฒนานำเอาข้อดีของผลงานเพื่อนำมาปรับปรุงใน  
        ผลงานให้ดีขึ้น
-      ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตน และเมื่อนำผลงานของผู้อื่น  
        มาศึกษาปรับปรุงต้องอ้างอิงถึงทุกครั้ง
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
-    พฤติกรรมการเข้าเรียน และลงมือปฏิบัติงานตามที่กำหนดตรงเวลา
-    ตั้งใจในการศึกษาและฝึกปฏิบัติด้วยความสนใจ
          -    ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
ข้อ ๑ มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและหักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา

   ข้อ ๒ สามารถคิดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา    ข้อ ๓ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)/ CDIO :(Conceiving - Desighing -Implementing –Operating)  โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ        มีความรู้ในหลักการและมีทักษะในงานสื่อศิลปะสมัยใหม่ เข้าใจในหลักการสามารถคิดวิเคราะห์วางแผนการสร้างสรรค์งานได้อย่างเป็นระบบ
บรรยายบรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานและนำเสนอก่อนการปฏิบัติงาน   ลงมือฝึกปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนด
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
                                (๑) การทดสอบย่อย เช่นการทำภาพร่างก่อนขยายผลงานจริง
                                (๒) ประเมินจากการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
                   (๓) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
ข้อ ๑ มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ข้อ ๒ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษา  การสร้างผลงานทางศิลปะ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูลเพื่อนำมาตีความถ่ายทอดเป็นผลงานเฉพาะตน การบูรณาการทางศิลปะ   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผนในการสร้างผลงาน และเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะสมัยใหม่
-    การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การนำเสนอผลงาน
-   อภิปรายกลุ่ม
-   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในกระบวนการสร้างสรรค์งานสื่อศิลปะสมัยใหม่
  -   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน  การปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
ตรวจผลงานปฏิบัติ พร้อมการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและวิพากษ์ผลงานอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
ข้อ ๑ มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี

  ข้อ ๒ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ข้อ ๓ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม   ข้อ ๔ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
-   อภิปรายอย่างมีส่วนร่วม
-   การนำผลงานไปจัดนิทรรศการ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย
-   กำหนดส่งงานตามหัวข้อที่กำหนด
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ  ตรวจผลงานปฏิบัติ พร้อมการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและวิพากษ์ผลงานอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
ข้อ ๑ สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ข้อ ๒ สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
ข้อ ๓ สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ    ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
- อภิปราย ซักถามระหว่างบรรยายเพื่อเน้นความเข้าใจ
          -   ศึกษานอกเวลาค้นคว้ารายงาน สืบค้นแหล่งข้อมูลจากหนังสือและอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานองค์ประกอบศิลป์
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอธิบาย  การนำเสนอ
- ประเมินจากผลงาน และงานที่เสร็จสมบูรณ์
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานและวิธีการนำเสนอ
ข้อ ๑ มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ข้อ ๒ มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด ข้อ ๓ สามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม ข้อ ๔ สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน ข้อ ๕ มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
                   ใช้วิธีการสอน การใช้กรณีศึกษา โครงงาน สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
                       - ศึกษาผลงานศิลปินตัวอย่าง
                       - ภาพร่างสามารถนำไปขยายเป็นผลงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                       - ผลงานสร้างสรรค์มีความเป็นสื่อศิลปะและมีความเฉพาะตัวอย่างโดดเด่น
                       - สอนให้รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อผลงานต้องมีการปรับเปลียนให้           เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือวัสดุที่ใช้
                       - ผลงานสร้างสรรค์มีความเฉพาะตนอาจสอดคล้องกับกระบวนการทางศิลปะ         อื่นๆได้แต่ไม่ควรนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นตัวเองทั้งหมด
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะที่มีเอกลักษณ์และเป็นไปตามหลักการการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเฉพาะตนอย่างโดดเด่นและมีความงาม มีสุนทรีย์ศาสตร์และมีคุณค่าต่อจิตใจ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๖.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ข้อ 1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม ข้อ 2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ข้อ 3 มีวินัย ขยันอดทนตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อ 4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ข้อ ๑ มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและหักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา ข้อ ๒ สามารถคิดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา ข้อ ๓ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑ มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ข้อ ๒ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ข้อ ๑ มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ข้อ ๒ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม ข้อ ๔ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม ข้อ ๑ สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ข้อ ๒ สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ข้อ ๓ สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑ มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ข้อ ๒ มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด ข้อ ๓ สามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม ข้อ ๔ สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน ข้อ ๕ มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
1 41015407 ศิลปะนิพนธ์สำหรับสื่อศิลปะ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้จากการศึกษา การปฏิบัติงานใน และนอกเวลา การนำเสนอผลงานครั้งที่ ๑, ๑๒ และ ๑๗ ๒-๑๗ ๗๐%
2 ความรับผิดชอบ ประเมินการนำเสนอในแต่ละครั้ง การนำเสนอรวบรวมเป็นรูปเล่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา ๒๐%
3 จิตพิสัย ความสนใจ การเรียนสม่ำเสมอ การแต่งกาย สะอาด การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ๑๐%
ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช. 2531
              ศิลปะหลังสมัยใหม่ = Postmodern art / วิรุณ ตั้งเจริญ, กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์, 2547
Art and illusion / E. H. Gombrich, London : Phaidon, 1959.
Artspeak : a guide to contemporary ideas, movements, and buzzwords,
1945 to the present / Robert Atkins, New York : Abbeville Press Publishers, 1997
๒. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ ทั้งในห้องสมุดและสถานที่จริง
                   -  หอศิลปวัฒนธรรม ต่างๆในประเทศไทย
                   -  วัดต่างๆที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
                   - แหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย
                   - โรงงานอุตสาหกรรมทางด้านศิลปะที่มีชื่อเสียง
                   - แกลลอรี่
                   - บ้านศิลปินแห่งชาติ
        - พิพิธภัณฑ์
วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ
          - Art 4D
          - Fine Arts
          - Aesthetica - The Art and Culture Magazine
- ART PAPERS, based in Atlanta, US
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
๑.๑ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
๑.๒ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
๑.๓ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
๒.๑ การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
๒.๒ ผลการเรียนของนักศึกษา
๒.๓ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
๓.๑   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
๓.๒   การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อประกอบการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
              ๔.๑ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
             ๔.๒ มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา การให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
           ๕.๑   ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี ตามข้อเสนอแนะ ผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ข้อ ๔
          ๕.๒ เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ