สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

Electronic Print Media

1.  รู้ความเป็นมาและวิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ 2.  เข้าใจแนวคิดและรูปแบบของสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ 3.  มีทักษะในการสร้างและการออกแบบสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ 4.  มีทัศนคติที่ดีต่องานสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์
1. เพื่อให้การเรียนการสอนทันต่อยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลง 2. พัฒนาศักยภาพของอาจารย์และนักศึกษาให้ก้าวทันโลกเทคโนโลยีที่ก้าวไกล 3. ประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน 4. รู้และเท่าทันความรู้ทั้งทางด้านความเป็นมาและอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ การสร้างและการออกแบบสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ การจัดวางตัวอักษร ศึกษาระบบการจัดเก็บและการถ่ายโอนข้อมูลตลอดจนเครื่องมือและโปรแกรมสำหรับสร้างสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์
- อาจารย์ผู้สอนจะให้คําปรึกษาและแนะนําทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จํานวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกําหนดเวลาล่วงหน้า - อาจารย์ผู้สอนสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกจากที่มีการนัดหมายแล้วยังสามารถคุยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ทันต่อช่วงวัยของนักศึกษาผ่านแอปพริเคชั่นทางสมารท์โฟน และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เช่น Facebook, Line, Instagram และ Messenger
ข้อ 1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ข้อ 2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
ข้อ 1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรม
ศาสตร์อย่างเป็นระบบ
ข้อ 3. มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและ
วัฒนธรรม
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ในด้านต่าง ๆ คือ
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(5) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
ข้อ 1. สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน
ข้อ 2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
ข้อ 3. มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา  การจัดทำโครงงาน  หรือการจัดทำศิลปนิพนธ์  การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
ข้อ 1. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 2. สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่าง
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
ข้อ 1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ข้อ 2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 3. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
ข้อ 1. มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ ข้อ 2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง ข้อ 3. มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงานและศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน 4.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 6.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA144 สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-16 - ตรวจผลงานภาคการปฏิบัติขั้นสำเร็จตามหัวข้อที่กำหนด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - การส่งงานตามที่มอบหมาย - การนำเสนอโครงงานภาคเอกสาร ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 1-16 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9, 17 30%
3 1-16 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร, 2550. การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ : วิสคอมเซ็นเตอร์
จุฑามาศ มโนสิทธิกุล, 2554. สร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์แบบฉบับมืออาชีพ : Magazine design with Adobe InDesign CS5. กรุงเทพมหานคร : เน็ตดีไซน์ พับลิชชิ่ง
ประชา พฤกษ์ประเสริฐ, 2555. สร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์แบบมืออาชีพด้วย InDesign CS5.5 ฉบับสมบูรณ์ : ประยุกต์ใช้ได้กับเวอร์ชัน CS5. กรุงเทพฯ : ซิมพลิฟาย
พีระ จิรโสภณและคณะ, 2547. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ (Introduction to Print Media).สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
ปาพจน์ หนุนภักดี, 2555. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์ = Graphic design principles. กรุงเทพฯ : ไอดีซี พรีเมียร์
ถาวร โกอุดมวิทย์, 2554. การออกแบบสิ่งพิมพ์เพื่องานศิลปะ = Printed matter design for arts. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อประกอบการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ