การวางแผนการตลาด

Marketing Planning

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการวางแผนการตลาด เพื่อให้ผู้เรียนรู้กระบวนการการเขียนแผนการตลาด เพื่อให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้กระบวนการการเขียนแผนการตลาดกับธุรกิจได้
เพื่อเพิ่มศักยภาพโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นทิศทางการดำเนินงานทางการตลาดที่ดีมีขั้นตอนและเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล  เพื่อนำหลักการไปประยุกต์กับอาชีพทางธุรกิจในอนาคตและเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการ   การอุดมศึกษา (สกอ.) และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศ
ศึกษาความหมาย  ความสำคัญและบทบาทของการวางแผนการตลาด คุณลักษณะที่ดีของแผนการตลาด  กระบวนการวางแผนการตลาด  การพยากรณ์การขาย  การวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจ  การกำหนดวัตถุประสงค์  การกำหนดกลยุทธ์การตลาด  การกำหนดโปรแกรมการตลาด  การกำหนดงบประมาณการนำไปใช้และการควบคุม
สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง 
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้ง จรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อทำให้ให้การดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมเป็นปกติสุข สามารถสร้างสรรค์ และทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม นอกจากนั้น การใช้ความรู้ และทักษะทางวิชาชีพ และต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความมั่นคง   ทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจารย์จะต้องสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา ทั้งในด้านคุณธรรม และจริยธรรม ต่อไปนี้
1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพ และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ  ของสถาบันและสังคม เช่น การตรงต่อเวลา การแต่งกายให้เหมาะสมตามกาลเทศะ เป็นต้น
3) มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
4) สามารถบริหารเวลา และปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
 
1) การรักษาระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย ความมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัย ชุมชน การตรงต่อเวลา การแต่งกายให้เหมาะสมตามกาลเทศะ ความรับผิดชอบ  ในหน้าที่ และความซื่อสัตย์สุจริต
2) อาจารย์ผู้สอนต้องช่วยกันสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนรายวิชา รวมทั้ง ฝ่ายกิจการนักศึกษาของคณะต้องส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดกับนักศึกษา โดยการจัดโครงการ / กิจกรรม พัฒนาจิตสาธารณ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน กิจกรรมภายใน ได้แก่  การยกย่องชมเชยนักศึกษาที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นที่ประจักษ์ นักศึกษาที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม
3) ในหลักสูตรมีรายวิชาจริยธรรมทางธุรกิจซึ่งเป็นวิชาในกลุ่มวิชาเลือกให้นักศึกษาได้เลือกเรียน
1) การประเมินผลคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นตามหลักวิชาการ และให้ผู้มีส่วนได้เสียต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 คน ได้ประเมิน เช่น เพื่อนร่วมชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาประเมินผลตนเอง   ผู้ให้การฝึกหัดงาน หรือชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
2) สังเกตพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น เช่น การเข้าเรียนตรงเวลา  การแต่งกายให้เหมาะสมตามกาลเทศะ จำนวนทุจริตในการสอบลดน้อยลง ความพร้อมเพรียง ในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมของนักศึกษา ความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นต้น
นักศึกษาต้องมีความรู้ด้านการตลาด และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ด้านองค์การและธุรกิจ ความรู้และความสามารถในเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านความรู้ จึงครอบคลุมความรู้ต่อไปนี้
1) สามารถความสำคัญและกระบวนการการวางแผนทางการตลาด
2) สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการตลาดได้อย่างเหมาะสม
3) สามารถนำเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการตลาดและอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
4) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎี  และภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีความรู้และความเข้าใจในทฤษฎีการตลาด และการใช้ข้อมูลทางการตลาด เทคโนโลยีระบบสารสนเทศประยุกต์ใช้ในกระบวนการวางแผนทางการตลาด
2) การเรียนรู้จากสื่อออนไลน์
1) สังเกตการณ์อภิปราย แสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม
2) การสอบกลางภาค
3) การสอบปลายภาค
4) การรายงานผลการศึกษาค้นคว้า  โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
นักศึกษาจะต้องสามารถพัฒนาสติปัญญาของตนเอง โดยผู้สอนต้องมุ่งเน้นให้นักศึกษาใช้ความเข้าใจมากกว่าการจำ มีหลักการและเหตุผลในการคิด มีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะกับตนเอง และสามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ต่อไปนี้
1) สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่าง ๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง
2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบ    ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1) การสอนแบบการบรรยาย  อภิปรายกลุ่ม
2) การสอนโดยใช้กรณีศึกษา โจทย์ปัญหา และชุดฝึกปฏิบัติ  
1) การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค  
2) การรายงานผลการศึกษาค้นคว้า  โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
3) การประเมินผลตามสภาพจริงของผลงานที่มอบหมาย
 
การพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษา  โดยสอดแทรกเข้าไปในการสอนรายวิชา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกัน ผู้สอนจะต้องมีวิธีที่จะพัฒนาคุณลักษณะในด้านนี้ หรืออาจแนะนำให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาด้านสังคมศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติต่อไปนี้
1) แสดงความเป็นกัลยาณมิตร ช่วยเหลือผู้อื่น
2) แสดงภาวะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
3) แสดงความรับผิดชอบในการตัดสินใจ การกระทำของตนเอง รวมถึง สังคม
4) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาความรู้ พัฒนางาน และความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้ทำเป็นงานกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานกับนักศึกษา บุคลากรของหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอก
1) การสัมภาษณ์ การรายงานหน้าชั้นเรียน
2) คุณภาพผลงานของนักศึกษา โดยมีเกณฑ์ที่ตรงประเด็นกับการมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด
3) สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในระหว่างที่ทำงานร่วมกัน
4) ให้ผู้ร่วมงานของนักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินผล
1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์ตัวเลขและสถิติเชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปล ความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล  การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1) มอบหมายงานตามหัวข้อในรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์  พร้อมประยุกต์ใช้กับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
2) จัดหาช่องทางกำหนดให้มีการนำเสนอผลงาน เชิงวิเคราะห์จากกรณีศึกษา หรืองานที่มอบหมาย
1)ใช้แบบประเมินผลงานที่มอบหมาย โดยมีเกณฑ์การประเมินเทคนิคการนำเสนอ ความถูกต้อง การใช้ภาษาเขียน ภาษาพูด ความสามารถในการอธิบาย ความครบถ้วนของข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจทางการตลาด  การประยุกต์ใช้ข้อมูลกับกลยุทธ์และแผนการตลาด
2)การสอบภาคปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 16 30% 30%
เพลินทิพย์  โกเมศโสภา.การวางแผนการตลาด.พิมพ์ครั้งที่ 12 .โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555
ปณิศา  มีจินดาและคณะ.กลยุทธ์การตลาดและการวางแผน.สำนักพิมพ์ธรรมสาร.2554
กานต์สุดา  มาฆะศิรานนท์และคณะ.วิธีเขียนแผนการตลาด.ธรรกมลการพิมพ์.2554
เกษม  พิพัฒน์เสรีธรรม.การตลาดเหนือชั้นกลยุทธ์พร้อมรบ.พิเพิลมีเดีย.2554
1.1 การสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ผลการเรียนของนักศึกษา  สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
ผลการฝึกปฏิบัติ,รายงานการค้นคว้าตาง ๆ ที่มอบหมาย, การนำเสนอผลงาน, การตอบคำถามของนักศึกษา
จัดวิพากษ์แนวการสอนโดยคณาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรและอาจารย์อื่น ในสาขาวิชา  และนำผลจากการประเมินในข้อ 1 และ 2  มาใช้เพื่อการดำเนินการ
จัดประชุมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
หลักสูตรมีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา  พิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่เรียนในแต่ละภาคการศึกษา บัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพแล้ว  ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของหลักสูตร  การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน  หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาอาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอน  กลยุทธ์ที่ใช้ในการสอน และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาต่อไป