สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา

Environment and Development

1.  เข้าใจความรู้พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร           2.  เข้าใจหลักนิเวศวิทยา           3.  เข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มลพิษสิ่งแวดล้อม           4.  เข้าใจคุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อม           5.  เข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน           6.  เข้าใจจริยธรรมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของแต่ละสาขาวิชา
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  คุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันจริยธรรมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3ชั่วโมงต่อสัปดาหฺ์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา 1.2.2 จัดทำโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำเสนอ กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  
1.บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2.มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคน  ได้ทำการวิเคราะห์  สรุปเนื้อหา  และทำแบบฝึกหัด   เพื่อให้มีการฝึกฝนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง 3.มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม โดยให้ทำการค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมเนื้อหาที่ได้เรียน   เพื่อให้สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขเมื่อพบข้อขัดแย้งจากการทำงานร่วมกัน
1.ประเมินจากงานที่มอบหมายแต่ละสัปดาห์
.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
 
1.ฝึกฝนในห้องเรียนหลังการบรรยาย และมอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคน   2.ฝึกฝนให้นักศึกษาทำงานกลุ่มในหัวข้อที่กำหนด ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem based instruction) 3.บรรยายยกตัวอย่าง มีการแสดงความคิดเห็นของแต่ละบุคคลในหัวข้อต่าง ๆ ที่สอน
1. ประเมินจากการบ้านในห้องเรียนและนอกห้องเรียน 2. ประเมินจากการโต้ตอบ การแสดงเห็นผล การตอบคำถามในชั้นเรียน 3. การนำเสนอหน้าชั้นเรียนและการร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้องเรียน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้ประสิทธิภาพ 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมทักษะการอยู่ในสังคม 2. กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน 3. ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อความสำเร็จในงานกลุ่ม ตลอดจนใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น (Brain storming) เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล 4.ส่งเสริมการใช้ความรู้ในรายวิชาที่เรียนเพื่อประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือสังคม
1. สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ 2. ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา ในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน โดยประเมินจากอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน 3. ประเมินและติดตามผลการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล 4. สังเกตจากพฤติกรรมขณะนักศึกษาร่วมกิจกรรมในการช่วยเหลือสังคม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. แนะแนววิธีการในการเลือกใช้สื่อหรือเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลที่เหมาะสมและเทคนิคในการนำเสนอข้อมูล 2. มอบหมายงานให้นักศึกษามีโอกาสค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และให้นักศึกษา 3. มอบหมายงานให้นักศึกษาเขียนรายงาน รู้จักการใช้ภาษาไทยตลอดจนสามารถเขียนเรียบเรียงได้อย่างเหมาะสม
1. ประเมินจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ประเมินจากผลงานหรือรายงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย ประเมินจากทักษะ การรายงานหน้าชั้นเรียน 3. ประเมินจากรายงาน การเรียบเรียง ความสามารถในการใช้ภาษาในรูปแบบของภาษาเขียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2 ความรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1 GEBSC106 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 ประเมินจากงานที่มอบหมาย การอภิปราย แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 90 %
2 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.4 ประเมินจากการสังเกต พฤติกรรมของนักศึกษา ทุกสัปดาห์ 10%
เกษม จันทร์แก้ว. 2553. วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. 2554. สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศินา ภารา. 2550.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: เอ๊กซเปอร์เน็ท.
 
- การประเมินผลการสอนของอาจารย์ 
- การประเมินตามแบบประเมินความพึงพอใจ
- การประเมินผลจากการตรวจใบงาน 
- การประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน 
- การสังเกตพฤติกรรม และการมีส่วนร่วม 
- การเข้าเรียน
- การปรับปรุงแบบประเมินผลจากการตรวจใบงาน 
- การปรับปรุงแบบประเมินผลการนำเสนอผลงาน  
 ทวนสอบจากคะแนนใบงาน 
- ทวนสอบจากผลการวิเคราะห์และนำเสนอกรณีตัวอย่าง 
- ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา เน้นการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกมากยิ่งขึ้น 
- จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการ โครงการจัดการหรืออนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือการศึกษาดูงาน 
- ปรับปรุงกิจกรรมโครงการจัดการหรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ