การสำรวจ

Surveying

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในงานสํารวจในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้น การวัดระยะ การระดับ การวัดมุม การใช้อุปกรณ์เครื่องมือวัดชนิดต่างๆที่ใช้ในงานสํารวจ และใช้ผล ที่ได้จากการสํารวจเป็นข้อมูลสําหรับสร้างงานอื่นในงานวิศวกรรมโยธา
เพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินการสอนให้มีความชัดเจน ทั้งในเนื้อหาวิชา ระยะเวลาที่ใช้ แต่ละ หัวข้อ การจัดกิจกรรมการสอน และการประเมินผลได้ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กําหนด
ศึกษาเกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐานและความรู้เบื้องต้นในงานสํารวจ อุปกรณ์การวัดชนิดต่างๆ  การวัดและความคลาดเคลื่อน การวัดระยะ งานระดับวิธีต่างๆ เส้นชั้นความสูง การวัดมุมและทิศทาง งานวงรอบ งานสํารวจโดยใช้ทฤษฎีของสามเหลี่ยม และการสํารวจเพื่อทําแผนผังภูมิประเทศ
1. คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 2.คุณธรรมพื้นฐาน การตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ การรักษาวินัย ปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคมรักความเป็นระเบียบ ความสะอาด ความประหยัด จิตสาธารณะ ฯ 3. ภาวะผู้นํา และผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ไม่ก้าวล้ำสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น ฯ
1 ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เป็นที่ยอมรับของนักศึกษา 2 ทุกครั้งในการสอน พยายามหาโอกาสสอดแทรกและเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม 3 ยกกรณีศึกษาจากข่าว หรือจากเหตุการณ์ทั้งทางดีและทางร้ายให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดเห็น
1 ประเมินจากพฤติกรรมที่นักศึกษาแสดงออก 2 ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน
1 ความรู้ที่นักศึกษาต้องได้รับ 1.1 ความรู้พื้นฐานและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสํารวจ 1.1.1 รู้หน่วยการวัดระยะ หน่วยการวัดพื้นที่ หน่วยการวัดปริมาตร หน่วยการวัดมุมทั้งในระบบไทย ระบบเมตริก และระบบอังกฤษ 1.1.2 เข้าใจทฤษฎีทางวิชาเรขาคณิต วิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ และวิชาตรีโกณมิติ ในส่วนที่นํามาใช้ในวิชาสํารวจ 1.1.3 นําความรู้พื้นฐานดังกล่าวข้างต้นมาใช้เพื่อการคํานวณในวิชาสํารวจได้ 1.1.4 การจําแนกประเภทของงานสํารวจ 1.1.5 รู้วิธีการวัดและลักษณะของความคลาดเคลื่อน 1.2 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดและอุปกรณ์เสริมที่ใช้ในงานสํารวจ 1.2.1 รู้จักชื่อ และวิธีใช้เครื่องมือวัดระยะ 1.2.2 รู้จักชื่อ และวิธีใช้เครื่องมือวัดระดับ 1.2.3 รู้จักชื่อ และวิธีใช้เครื่องมือวัดมุม  1.3 ความรู้ในงานระดับ 1.3.1 เข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีการหาความสัมพันธ์ทางดิ่งระหว่างจุดต่างๆ 1.3.2 เข้าใจการตรวจสอบหาความผิดพลาดในงานระดับ 1.3.2 เข้าใจวิธีการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนในงานระดับ 1.3.4 นําความรู้ในงานระดับเพื่อใช้เขียนเส้นชั้นความสูง 1.3.5 ใช้ความรู้ในงานระดับเพื่อคํานวณปริมาณงานดินได้ 1.4 ความรู้ในการวัดมุม 1.4.1 รู้หลักปฏิบัติในการวัดมุมแต่ละชนิดของมุม และแต่ละวิธีการของกา 1.4.2 ตรวจสอบความถูกต้องของการวัดมุมได้ 1.4.3 คํานวณผลค่ามุมจากข้อมูลที่ได้จากการวัด  1.5 ความรู้ในเรื่องของทิศทางของแนวเส้นสํารวจ 1.5.1 รู้กฎเกณฑ์การเรียกทิศทางของแนวเส้นสํารวจในชื่อต่างๆ 1.5.2 เมื่อรู้ทิศทางของเส้นในชื่อใดๆ สามารถคํานวณหาทิศทางของเส้นนั้นในชื่ออื่นได้                              1.6 ความรู้เรื่องแนวเส้นสํารวจและวงรอบ 1.6.1 ร้องค์ประกอบของแนวเส้นสํารวจ 1.6.2 รู้ความหมายและชนิดของวงรอบ 1.6.3 คํานวณปรับแก้วงรอบ และคํานวณค่าพิกัดได้ 1.6.4 เขียนแผนผังจากผลการคํานวณปรับแก้วงรอบ 1.7 ความรู้เรื่องโครงข่ายสามเหลี่ยม 1.7.1 เข้าใจหลักการการสํารวจโดยใช้โครงข่ายสามเหลี่ยม 1.72 คํานวณปรับแก้ค่ามุมภายในสามเหลี่ยมได้ 1.7.3 คํานวณหาระยะทางที่เป็นด้านของสามเหลี่ยมได้ 1.7.4 คํานวณหาพื้นที่และค่าพิกัดของจุดได้ 1.7.5 เขียนแผนผังจากผลการคํานวณปรับแก้สามเหลี่ยม 1.8 ความรู้ในการสํารวจภูมิประเทศ 1.8.1 รู้จุดประสงค์ในการใช้ข้อมูล 1.8.2 รู้ขั้นตอนในการสํารวจ 1.8.3 รู้วิธีการสํารวจเก็บรายละเอียด 1.8.4 ใช้ข้อมูลจากการสํารวจเขียนแผนผังภูมิประเทศได้
สอนโดยการบรรยาย ประกอบการแสดงตัวอย่างการคํานวณ และมอบหมายงานเป็นแบบฝึกหัดให้ นักศึกษาทํา
1 ประเมินจากงานแบบฝึกหัดที่มอบหมายให้ 2 ประเมินจากการสอบตามระเบียบการวัดผล
1.ทักษะในการเรียนรู้ 1.1ใช้ความรู้พื้นฐานมาประยุกต์ใช้คํานวณในงานสํารวจได้ 1.2 สามารถค้นหาความรู้จากแหล่งความรู้อื่นได้ 1.3 สามารถตรวจสอบความถูกผิดของการคํานวณได้ 2. ทักษะในการใช้อุปกรณ์ช่วยคํานวณ 2.1 ปฏิบัติการคํานวณโดยยึดตัวอย่างเป็นแม่แบบ 2.2 ใช้เครื่องคํานวณได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและได้ผลที่ถูกต้องแม่นยํา 2.3 ใช้คอมพิวเตอร์สําหรับคํานวณงานสํารวจ และเขียนแผนผังได้
1 มอบหมายงานให้นักศึกษาคิดคํานวณในชั้นเรียน ผู้สอนติดตามการทํางานและขอคําตอบผลที่ได้เป็นรายบุคคล 2 มอบหมายงานให้ทํานอกเวลา กําหนดเวลาส่งที่แน่นอน
1 ประเมินจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษาะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เป็นที่ยอมรับของนักศึกษา,ทุกครั้งในการสอน พยายามหาโอกาสสอดแทรกและเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม,ยกกรณีศึกษาจากข่าว หรือจากเหตุการณ์ทั้งทางดีและทางร้ายให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดเห็น สอนโดยการบรรยาย ประกอบการแสดงตัวอย่างการคํานวณ และมอบหมายงานเป็นแบบฝึกหัดให้ นักศึกษาทํา - - - ประเมินจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย
1 ENGCV301 การสำรวจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้พื้นฐาน หน่วยการวัด และพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คะแนนวัดผลประจําภาค 4 6/80
2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานสํารวจ คะแนนวัดผลประจําภาค 4 6/80
3 วิธีการวัดระยะทาง,งานระดับ,เส้นชั้นความสูง คะแนนวัดผลประจําภาค 8 22/80
4 การวัดมุม,ทิศทางในงานสำรวจ คะแนนวัดผลประจําภาค 12 14/80
5 การใช้ผลจากมุมราบและมุมดิ่งคํานวณหาระยะทาง,งานวงรอบ,งานโครงข่ายสามเหลี่ยม, งานสํารวจเพื่อเขียนแผนผังภูมิประเทศ คะแนนวัดผลประจำภาค 37 32/80
มีการให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดมากขึ้น
นักศึกษามีความเข้าใจหลักการสำรวจ