การเตรียมโครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ

Industrial Engineering Pre-Project

เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการองค์ความรู้ทางวิศวกรรมอุตสาหการ มาศึกษาหาหัวข้อโครงงานวิจัย ในเรื่องที่มีความสนใจ โดยการระบุปัญหา ตั้งสมมติฐาน วางแผนดำเนินงาน หาวิธีการทดสอบ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ และสามารถจัดทำข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเป็นพี่เลี้ยง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านการเตรียมโครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมอุตสาหการ การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 ตรวจเช็คการเข้าเรียนทุกครั้งและให้มีการส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา 1.2.2 ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำกลุ่มและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคีในการทำงานเป็นกลุ่ม 1.2.3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
1.3.1 ให้คะแนนการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 1.3.2 สังเกตการณ์ทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 1.3.3 ประเมินผลจากการสอบหัวข้อโครงงาน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาหัวข้อโครงงาน 2.2.2 ใช้การสอนโดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้สามารถเรียบเรียงทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงงานและ มีการอ้างอิงเอกสารได้ถูกต้อง
2.3.1 ประเมินผลงานที่มอบหมายเป็นรายสัปดาห์ 2.3.2 ประเมินจากโครงงาน โดยพิจารณาจากความถูกต้อง ความน่าสนใจและนำไปใช้งานได้จริงของโครงงาน 2.3.3 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอโครงงาน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 ส่งเสริมการอ่านเพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์ เพื่อให้สามารถหาหัวข้อโครงงานได้ 3.2.2 ให้มีการเรียนรู้โดยการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ 3.2.3 ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง เพื่อให้มีจินตนาการในการปรับใช้ผลที่ได้จากการศึกษาไปต่อยอดองค์ความรู้ และใช้งานได้จริง 3.2.4 มอบหมายให้ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแบบอย่างในการสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
3.3.1 วัดผลจากหัวข้อของโครงงาน 3.3.2 วัดผลจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 3.3.4 วัดผลจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย
4.1.1 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 ให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็น เพื่อให้นำเสนอโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.2.2 ให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด 4.2.3 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย 4.2.4 ให้มีจิตสานึกในความปลอดภัยในทำงาน
4.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วม กล้าแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4.3.2 ประเมินจากการส่งงานตามกำหนด 4.3.2 สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.4 สังเกตจากการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สาหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.4 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ฝึกให้มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการแปลความหมาย รวมทั้งการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา 5.2.2 มอบหมายการนำเสนอโครงงานโดยมีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3 อธิบายวิธีการจัดทารายงานที่ถูกต้อง ให้มีการอ้างอิงเอกสารอย่างถูกต้อง
5.3.1 ประเมินจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล 5.3.2 ประเมินจากการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.3 ประเมินจากความสมบูรณ์ ถูกต้องของรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3
1 ENGIE117 การเตรียมโครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 2.1 1.1 2.2 1.1 2.2 4.2 5.1 5.3 6.1 การเข้าชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน อภิปรายเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.3 3.4 5.2 3.2 5.2 นำเสนอโครงงาน 7-8 15-16 20%
3 การดำเนินการสอบหัวข้อโครงงาน 14-15 60%
4 งานที่มอบหมายครั้งที่ 1 พิจารณาจากความเป็นไปได้ของโครงงาน การนำไปใช้งานได้จริง -งานที่มอบหมายครั้งที่ 2 พิจารณาจากความถูกต้อง ควบถ้วน มีมาตรฐานรองรับ -งานั้มอบหมายครั้งที่ 3 พิจารณาจากความถูกต้อง ครบถ้วน มีเอกสารอ้างอิง มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -รายงานประกอบการนำเสนอครั้งที่ 2 12-13 10%
- คู่มือแบบเสนอหัวข้อปริญญานิพนธ์ - คู่มือการจัดทำปริญญานิพนธ์
ตัวอย่างปริญญานิพนธ์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องในการประมวลรายวิชา ตัวอย่างเช่น http://dcms.thailis.or.th/dcms/index.php http://www.find-docs.com/index.php http://www.eit.or.th /ejournal.php?siteid=0&option=ejournal&lang=th http://www.cpacacademy.com http://libary.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/searching.php http://www.sciencedirect.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน e-mail address ของอาจารย์ผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการประเมินของนักศึกษา 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงการพิจารณาจากการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ดังนี้ 4.1 การทวนตรวจสอบการให้คะแนนการส่งตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการประจำสาขาวิชา ตรวจสอบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ผลจากการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ