การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

Life and Social Skills

           1.  เพื่อเสริมสร้างแนวความคิด  เจตคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิตของตนเอง  การอยู่ร่วมกันใน                 สังคม  ตลอดจนการทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           2.  เพื่อนำเอาหลักเกณฑ์  เทคนิควิธี  ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพ
           3.  เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษา  ให้สามารถเป็นผู้นำและ                 เป็นผู้ตามที่ดี
   4.  เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีคุณสมบัติด้านคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพตลอดจนมี               ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา  คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์  และหลักธรรมในการดำรงชีวิต  การพัฒนาความคิด  เจตคติ  บทบาท  หน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมไทย  การมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม  ศึกษาวิธีจัดการกับภาวะอารมณ์  และสร้างสัมพันธภาพการทำงานเป็นทีม  การสร้างผลิตผลในการทำงาน  และจรรยาบรรณวิชาชีพ
-  อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนรู้จักและเข้าใจการพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้  ตลอดจนการพัฒนาด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และด้านสติปัญญา  การเข้าใจธรรมชาติของสังคมและมนุษย์ รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและผู้อื่น  การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนดังนี้

มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบและมีสติ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญา  หลักธรรม  แนวความคิด  เจตคติ  ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ  การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมของมนุษย์  การทำงานเป็นทีม  คุณสมบัติด้านคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ อภิปรายกลุ่มเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ อภิปรายกลุ่มเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ในวัยต่างๆ แบ่งกลุ่มเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ให้นักศึกษารวบรวมข้อมูลข่าวสารในด้านพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  พฤติกรรมด้านบวก  พฤติกรรมด้านลบ  และนำมาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อหาวิธีแก้ไขร่วมกันในชั้นเรียน ใช้ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงปัญหาสังคมไทยในด้านคุณธรรม  จริยธรรม  มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ถึงปัญหา และหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip, วีดิทัศน์, สารคดีทางโทรทัศน์, นิทาน, โฆษณา,  ภาพยนตร์ และอื่น ๆ ใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการจัดกิจกรรม/โครงการ ร่วมกับการเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาค้นหาเรื่องที่สนใจ และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน หรือหน่วยงานอื่นๆ รวบรวมข้อมูลที่ได้มานำเสนอผลงานในชั้นเรียน
 
1.3.1   การเข้าชั้นเรียน
1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์ข่าว  และภาพยนตร์
1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรมPower point วีดิทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.6   ประเมินผลจากการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการจัดกิจกรรม/โครงการ และการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
1.3.7   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
 
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   มีความรู้เบื้องต้นในทางสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์     
2.1.5   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
 2.1.6   ตระหนักและเห็นความสำคัญของคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพตลอดจนมีระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
2.1.7  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว  สารคดี  เศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่เรียน โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
 
2.3.1   กิจกรรมชั้นเรียน
2.3.2   กิจกรรมนอกชั้นเรียน
2.3.3   รูปเล่มรายงาน
2.3.4   การนำเสนองานในชั้นเรียน
 
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
          การสอนวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมช่วยให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้  รู้จักคิดวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ  มีเหตุผล  ฟังแนวคิดของคนอื่นๆ       ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น  รู้จักบทบาท  และหน้าที่ของตนเอง  เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น  และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , วีดีทัศน์ , สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา , นิทาน ,ภาพยนตร์  แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน
3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3.2.5   การเลือกทำโครงการตามที่นักศึกษาสนใจ การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน 
3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
4.1.2   มีความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
 
4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
4.1.4   สามารนำความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป
           เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
4.2.4   กรณีศึกษา
           - สื่อจาก Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา  นิทาน  และ                          ภาพยนตร์
 
4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ ,
         โฆษณา  นิทาน  และภาพยนตร์
5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล 
5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ
           จาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้
5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD,วีดีทัศน์  และเทปเสียง
5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
5.3.1   ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านปัญญา 4.ด้านมักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSO102 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.3 2.1,2.3 3.1,3.3 4.1,4.3 1.1 - 2.3 3.1 - 5.3 การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5 14 8 17 5% 5% 20% 30%
หนังสือการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (Life  and  Social  Skill)
          เรียบเรียงโดย ทรงสิริ  วิชิรานนท์ , โรจน์รวี  พจน์พัฒนพล , สุทธิพร  บุญส่ง ,  สุวิมล  จุลวานิช และอนุรีย์  แก้วแววน้อย
ทรงสิริ  วิชิรานนท์,โรจน์รวี  พจน์พัฒนพล,สุทธิพร บุญส่ง,สุวิมล  จุลวานิช และอนุรีย์ แก้วแววน้อย.                การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น,  2550. 
- หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
กาญจน์ หงส์ณี. มารยาทและการสมาคม. กรุงเทพฯ:เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์, 2549
ประเสริฐ  แย้มกลิ่นฟุ้ง และคณะ. สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา             คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
วิภาพร มาพบสุข.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม.  กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต              เทคนิคกรุงเทพฯ, 2540. สุพัตรา สุภาพ. สังคมและวัฒนธรรมไทย  ค่านิยม  ครอบครัว  ศาสนา  ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ :             ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2543. อนุรี แก้วแววน้อย และคณะ.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ทริปเพิ้ล             เอ็ดดูเคชั่น,  2548. 
-  เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมและเว็บไซด์อื่น ๆ
ปัทมา ผาดจันทึก.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม(Online). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
             แหล่งที่มา: http://courseware.rmutl.ac.th/courses/44/unit000.htm
 
  -  เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องและเว็บไซด์อื่น ๆ
ธรรมะไทย(Online).แหล่งที่มา: http://www.dhammathai.org/indexthai.php
บ้านจอมยุทธ(Online).แหล่งที่มา: http://www.baanjomyut.com/library/art.html
จริยธรรม.คอม(Online).แหล่งที่มา: http://www.jariyatam.com/moral-cultivation
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาดังนี้

การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
 
      การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่
2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ
2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
 
หลังจากการประเมินผลในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3   ทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4   การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
 
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน
ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1   การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1   วิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี
5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง
5.4   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม