พฤติกรรมเชิงกลของวัสดุ

Mechanical Behavior of Materials

1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจพฤติกรรมเชิงกลและสมบัติเชิงกล ทั้งวัสดุโลหะ วัสดุพอลิเมอร์ วัสดุประกอบ และวัสดุกันเสียง
2. เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติการใช้เครื่องมือทดสอบสมบัติของวัสดุได้มาตรฐานสากล
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจำลองพฤติกรรมด้วยแบบจำลองธรรมนูญ (Constitutive Model) จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไปใช้กับคอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรม (Computer Aided Engineering: CAE) ได้
1. เพื่อปรับปรุงรายวิชาให้เพิ่มเติมพฤติกรรมและสมบัติของวัสดุใหม่ในปัจจุบันมากขึ้น เนื่องจากเนื้อหาที่เขียนไว้ในหลักสูตรจะเน้นโลหะ แต่สิงที่น่าจะเพิ่มเติมคือวัสดุพอลิเมอร์และวัสดุประกอบ
2. เพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาให้เพิ่มเติมแบบจำลองธรรมนูญที่ใช้จำลองสมบัติเชิงกลของวัสดุ ได้แก่ สมบัติที่ไม่ขึ้นกับเวลา และสมบัติที่ขึ้นกับเวลา
ศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้างและการเปลี่ยนรูปในวัสดุ การสังเกตวัสดุวิศวกรรม การทดสอบเชิงกล พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียด ทบทวนสถานะหลักและสถานะที่ซับซ้อนของความเค้นและความเครียด จุดครากและความเสียหายภายใต้ภาระผสม ความเสียหายจากชิ้นส่วนที่มีรอยร้าว ความล้าของวัสดุ การขยายรอยร้าวเนื่องจากความล้า วิธีและพฤติกรรมการเสียรูปถาวรของวัสดุ การวิเคราะห์ความเค้นและความเครียดของชิ้นส่วนที่เกิดจากการเสียรูปถาวร พฤติกรรมที่ขึ้นกับเวลา Study of structure and deformation in materials, engineering materials observation, mechanical testing, stress strain relationship and behavior, review of complex and principal state of stress and strain, yielding and fracture under combine stresses, fracture of cracked members, fatigue of materials, fatigue crack growth, plastic deformation behavior and method for materials, stress and strain analysis of plastically deformation members, time dependent behavior.
สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง รวมไปถึงงานวิจัยด้วย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 1.1 Dowling, N. E., Mechanical Behavior of Materials: Engineering Methods for Deformation, Fracture, and Fatigue, USA. Pearson Education, 2013 1.2 Wineman, A. S. and Rajagopal, K. R., Mechanical Response of Polymer. USA. Cambridge University Press, 2000 1.3 McCrum, N. G. and Buckley, C. P., Principles of Polymer Engineering. UK. Oxford University Press, 1988
เอกสาร และข้อมูลสำคัญ 2.1 บรรเลง ศรนิล และ สมนึก วัฒนศรียกุล, ตารางคู่มืองานโลหะ, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2556 2.2 สมนึก วัฒนศรียกุล, การทดสอบวัสดุ, กรุงเทพฯ: กรีนเวิลด์มีเดีย, 2549 2.3 วริทธิ์ อึ้งภากรณ์ และ ชาญถนัดงาน, การออกแบบเครื่องจักรกล เล่ม 1, กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด, 2556 2.4 วริทธิ์ อึ้งภากรณ์ และ ชาญถนัดงาน, การออกแบบเครื่องจักรกล เล่ม 2, กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด, 2556 2.5 Juvinall C. R. and Marshek K. M., Fundamentals of Machine Component Design, 5th Edition. USA. John Wiley & Sons, 2012 2.6 Krutz, G., Thompson, L., and Claar, P., Design of Agricultural Machinery. USA. John Wiley & Sons, 1984 2.7 Richard, B. G., and Nisbett, J. K., Sigley’s Mechanical Engineerig Design, 9th Edition. USA. McGraw-Hill, 2011 2.8 Ugural, A. C., Mechanical Design: An Integrated Approach. Singapore. McGraw-Hill, 2004 2.9 Ugural, A. C., and Fenster, S. K., Advanced Strength and Applied Elasticity. USA. Prentice Hall, 2003
บทความวิชาการ บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ที่ผ่านมา