หลักมูลของฟิสิกส์ 1

Fundamentals of Physics 1

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ แก้ปัญหาในชีวิตจริง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนวิชาประยุกต์ เช่น กลศาสตร์วิศวกรรม กลศาสตร์ของแข็ง รวมไปถึงวิชาอื่นๆที่เกียวของกับสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น
เพื่อเพิ่มเติมสื่อการเรียนการสอนให้เข้ากับตำราเรียน ที่มีตัวอย่างที่ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในเรื่องหลักการหรือแนวคิด ในเรื่องหลักของฟิสิกส์เพื่อนำไปปรับและประยุกต์ไช้งานกับงานทางวิศวกรรมจริง
ศึกษาเกี่ยวกับเวกเตอร์ แรงและการเคลื่อนที่ โมเมนตัมและพลังงาน ระบบอนุภาค สมบัติเชิงกลของสสาร การเคลื่อนที่วัตถุของแข็งเกร็ง การเคลื่อนที่แบบออสซิลเลต กลศาสตร์ของไหล ความร้อนและอุณหพลศาสตร์เบื้องต้น คลื่นและคลื่นเสียง
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน       โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
1.2.1 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากสถานประกอบการที่กี่ยวข้องกับงานในอนคตของนักศึกษา เช่น การนำโจทย์จากสถานประกอบการจริงมาใช้สอนนักศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ กิจกรรมนำไปส่เนื้อหา (Activities before concept) 1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์และเคารพต่อตนเอง โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย เป็นต้น  
1.2.3 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.3.1   คะแนนการทำโจทย์ปัญหาวิจัย การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตรงเวลา
1.3.2   การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.3   สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณให้เหมาะสมมากขึ้น
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมอาหาร
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยายโดยใช้การแก้โจทย์ปัญหา (problem base learning) Power point และกระดานไวท์บอร์ดให้แบบฝึกหัดทำในห้อง การบ้าน ทำการทดสอบย่อยและลงแลบปฏิบัติ โดยจะเน้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และเรียนรู้จากการทำงานเป็นกลุ่ม
2.3.1   ประเมินจาก รายงานแลบ แบบทดสอบย่อย การแก้ปัญหาวิจัย กาทำงานเป็นกลุ่ม สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
2.3.2   พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
  3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
  3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
  3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
  3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 7E และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้านและแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำประจำสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆและยกตัวอย่างการใช้วิชาที่เรียนกับงานวิจัย
ทดสอบย่อย ดูพฤติกรรมการเรียนรู้ สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
 4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานทั้งกลุ่มและเดี่ยวโดยเน้นให้ปฏิบัติจริง ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์กำหนดบทบาทในการทำงาน และให้นำเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ความเห็นกับผลงานของคนอื่น หรือกลุ่มอื่น
4.3.1  ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3  พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
4.3.4  ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการ แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
 5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม *
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3   เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งจากสถานะการณ์จำลองและในห้องแลบ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอผลงานด้วยสื่อเทคโนโลยีและพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
 6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
     6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
     6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
      6.2.1 สาธิตการปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหารโดยผู้เชี่ยวชาญ
      6.2.2 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
      6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
      6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
      6.3.3 พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ในรูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 SCISC102 หลักมูลของฟิสิกส์ 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 50 คะแนน
2 คุณธรรมจริยธรรม ทดสอบย่อยในชั้นเรียน 10
3 ทักษะปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำแบบทดสอบก่อนเรียน แลบ และพฤติกรรมการเรียนรู้ 40 คะแนน
HUGH D. YOUNG CARNEGIE MELLON UNIVERSITY and ROGER A. FREEDMAN UNIVERSITY OF CALIFORNIA, SANTA BARBARA, and CONTRIBUTING AUTHOR A. LEWIS FORD TEXAS A&M UNIVERSITY, University Physics with Modern Physics - 13th Edition
 
Halliday, David Fundamentals of physics / David Halliday, Robert Resnick, Jearl Walker.—9th ed. ISBN 978-0-470-46908-8.
ไม่มี
หนังสือฟิสิกส์ทั่วไป
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษาและผลสอบ
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา