การออกแบบวิศวกรรม

Engineering Design

หลังจากเรียนรายวิชานี้แล้วผู้เรียนสามารถ

เข้าใจความหมายและ หลักการออกแบบทางวิศวกรรมโดยคำนึงถึงขั้นตอน ทฤษฎี และการเลือกแบบอย่างเหมาะสม สามารถรวบรวมข้อมูล รู้จักตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ความต้องการในการออกแบบ สามารถวิเคราะห์ความต้องการและระบุเป้าหมายและตัวแปรในการออกแบบได้ สามารถวิเคราะห์ตัวแปรในการออกแบบเพื่อสร้าง concept เรียนรู้การสร้างรูปทรง 2 มิติ และรูปทรง 3 มิติ เขียนแบบเพื่อการสร้างต้นแบบ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสร้างต้นแบบ ทดสอบวิเคราะห์ปรับปรุงเพื่อให้ผลงานทำงานได้ตามต้องการ
เพื่อปรับรูปแบบแผนการสอนให้เข้ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิการอุดมศึกษา (TQF) เพื่อนำการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาปรับใช้ในรายวิชาก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้น 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ การท าโครงการออกแบบทางวิศวกรรมเกษตร การก าหนด ปัญหา ขั้นตอนการออกแบบ การระดมสมอง การหาผลเฉลยทางเลือกโดยใช้การ สร้างสรรค์ เทคนิคการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางวิศวกรรม การยอมรับและตัดสินใจ ผลของการออกแบบโดยทีมออกแบบ การก าหนดสเปค การเลือกใช้วัสดุ การเลือก กระบวนการผลิต การน าเสนอทั้งปากเปล่า แบบร่าง การเขียนแบบสั่งงาน การสร้างและ วิเคราะห์แบบจ าลอง
     วันพุธเวลา 15.00 – 16.30 น.
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นในการสอนรายวิชาของสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพยังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา
เน้นการเสริมความเชื่อมโยงของเนื้อหาในรายวิชาเข้ากับตัวอย่างงานวิศวกรรม ตั้งคำถาม และให้นักศึกษามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน โดยเน้นการเรียนรู้จากเพื่อนสู่เพื่อน ให้การบ้าน งานฝึกปฏิบัติ กำหนดระยะเวลาส่งที่แน่นอน สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อร่วมกันศึกษาหน่วยเรียนต่างๆ
ตั้งคำถามและสังเกตจากการตอบคำถามในชั้นเรียน ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา ความสม่ำเสมอของการส่งการบ้านและความถูกต้อง
นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม

สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
จัดทำแผนการสอนตามรูปแบบ มคอ. 3 จัดการเรียนการสอนที่ผนวกการอภิปรายร่วมกับการแก้ปัญหา ฝึกปฏิบัติ สังเกตพฤติกรรม การตอบคำถาม ความเข้าใจของนักศึกษา ออกแบบการสอนที่สามารถปรับให้เข้ากับผู้เรียน และปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสม กิจกรรมกลุ่มเพื่อการออกแบบและสร้างต้นแบบ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์จากคะแนนสอบ และความพึงพอใจของนักศึกษาตอนท้ายภาคเรียน
การทดสอบย่อยพฤติกรรมของนักศึกษาในชั้นเรียน ความสามารถในการการร่างแบบ และการเขียนแบบด้วยมือเปล่า กิจกรรมกลุ่มเน้นการออกแบบและสร้างโมเดลในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ผลสอบกลางภาค ผลสอบปลายภาค
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
3.1.1 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
อภิปรายทฤษฎีควบคู่กับกรณีศึกษา เสริมทักษะการอ่านและวิเคราะห์ให้รู้จักตั้งคำถาม สรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
สอบการตอบสนองในชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมการทำงาน และการทำงานร่วมกัน ประเมินจากการตรวจข้อสอบ ประเมินจากการทำโครงงานย่อย
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้

รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
จับกลุ่มทำแบบฝึกหัด นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ให้แบบฝึกหัดทบทวนเป็นการบ้าน
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มและในชั้นเรียน ประเมินจากความถี่และเวลาในการส่งงาน

 
 
สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ

 
หมวดที่ 1
ข้อมูลทั่วไป
1.รหัสและชื่อรายวิชา รหัสรายวิชาENGAG107 ชื่อรายวิชาภาษาไทยการออกแบบวิศวกรรม ชื่อรายวิชาภาษาอังกฤษEngineering Design 2.จำนวนหน่วยกิต 2( 1 - 3 - 3 ) 3.หลักสูตร และประเภทของรายวิชา 5 หลักสูตร

3.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ 3.2 ประเภทกลุ่มวิชาชีพบังคับ-วิชาบังคับสาขา

3.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ (วิศวกรรมเกษตร) 3.2 ประเภทกลุ่มวิชาชีพบังคับ-วิชาบังคับสาขา

3.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ (วิศวกรรมชีวภาพ) 3.2 ประเภทกลุ่มวิชาชีพบังคับ-วิชาบังคับสาขา

3.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ (วิศวกรรมอาหาร) 3.2 ประเภทกลุ่มวิชาชีพบังคับ-วิชาบังคับสาขา

3.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ (วิศวกรรมเกษตรอิเล็กทรอนิกส์) 3.2 ประเภทกลุ่มวิชาชีพบังคับ-วิชาบังคับสาขา

4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน นาง สุบงกช โตไพบูลย์  5.ภาคเรียน/ปีการศึกษา ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2563 6.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites) ENGCC301 เขียนแบบวิศวกรรม ENGAG101 กลศาสตร์วัสดุ 7.รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) 8.สถานที่เรียน เชียงใหม่ 9.วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด 26 มีนาคม 2563 09:20 ประเภท : มคอ.3
หมวดที่ 2
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
หลังจากเรียนรายวิชานี้แล้วผู้เรียนสามารถ 1.1 เข้าใจความหมายและ หลักการออกแบบทางวิศวกรรมโดยคำนึงถึงขั้นตอน ทฤษฎี และการเลือกแบบอย่างเหมาะสม 1.2 สามารถรวบรวมข้อมูล รู้จักตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ความต้องการในการออกแบบ 1.3 สามารถวิเคราะห์ความต้องการและระบุเป้าหมายและตัวแปรในการออกแบบได้ 1.4 สามารถวิเคราะห์ตัวแปรในการออกแบบเพื่อสร้าง concept เรียนรู้และสามารถสร้างต้นแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ 1.5 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสร้างต้นแบบ ทดสอบวิเคราะห์ปรับปรุงเพื่อให้ผลงานทำงานได้ตามต้องการ
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
2.1 เพื่อปรับรูปแบบแผนการสอนให้เข้ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิการอุดมศึกษา (TQF) 2.2 เพื่อนำการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาปรับใช้ในรายวิชาก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
หมวดที่ 3
ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ การทำโครงการออกแบบทางวิศวกรรมเกษตร การกำหนดปัญหา ขั้นตอนการออกแบบ การระดมสมอง การหาผลเฉลยทางเลือกโดยใช้การสร้างสรรค์ เทคนิคการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางวิศวกรรม การยอมรับและตัดสินใจผลของการออกแบบโดยทีมออกแบบ การกำหนดสเปค การเลือกใช้วัสดุ การเลือกกระบวนการผลิต การนำเสนอทั้งปากเปล่า แบบร่าง การเขียนแบบสั่งงาน การสร้างและวิเคราะห์แบบจำลอง
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา บรรยาย : 15 ชั่วโมง (1 ชั่วโมง x 15 สัปดาห์) สอนเสริม :  การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน : 45 ชั่วโมง (3 ชั่วโมง x 15 สัปดาห์) การศึกษาด้วยตนเอง : 30 ชั่วโมง (2 ชั่วโมง x 15 สัปดาห์)
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
วันพุธเวลา 15.00 – 16.30 น.
หมวดที่ 4
การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถด าเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่าง ราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่ง ต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้ (1) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม (3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (4) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม (5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นในการสอนรายวิชายังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติ ของนักศึกษา
1.2 วิธีการสอน
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการ เข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้น ากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความ ซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอน ทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3 วิธีการประเมินผล
(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม (2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร (3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ (4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2. ความรู้ 2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ (1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรม พื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้าง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (2) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติใน เนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (3) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (4) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้ เครื่องมือที่เหมาะสม (5) สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงาน จริงได้ การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้น เรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2 วิธีการสอน
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทาง ปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของ รายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดย การศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึก ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ (1) การทดสอบย่อย (2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน (3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ (4) ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ (5) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3. ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบ การศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจ าเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิชา ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของ ปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจ า นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ (1) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี (2) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (3) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ใน การพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ (5) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2 วิธีการสอน
(1) กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิชา (2) การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน (3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
3.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการ นำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการ แก้ปัญหา เป็นต้น
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คน ที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะ ปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจ าเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับ คุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่ เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้ (1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็น ที่เหมาะสม (2) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและ อ านวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ (3) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้อง กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (4) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (5) มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2 วิธีการสอน
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงาน กับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความ คาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้ (1) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี (2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี (4) มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป (5) ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3 วิธีการประเมินผล
(1) ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี (2) ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรม เป็นรายบุคคล (3) ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา (4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
(1) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี (2) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ (3) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ (4) มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้ สัญลักษณ์ (5) สามารถใช้เครื่องมือการค านวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2 วิธีการสอน
(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จ าลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และน าเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ (2) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำ คัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3 วิธีการประเมินผล
(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ (2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ ต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำาเสนอต่อชั้นเรียน (3) สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
6. ด้านทักษะพิสัย 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลัก ทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การ ทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความส าคัญมากในการท างาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จ าเป็นยิ่งในการ พัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในต าแหน่งหน้าที่ของบัณฑิต ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ ความส าคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรม ดังข้อต่อไปนี้ (1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2 วิธีการสอน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จาก วิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อ ต่อไปนี้ (1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน (2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ (3) สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรม กับหน่วยงานภายในและภายนอก (4) จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา (5) สนับสนุนการทำโครงงาน
6.3 วิธีการประเมินผล
(1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (2) มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน (3) มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ (4) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 ความรับผิดชอบหลัก  ความรับผิดชอบรอง

กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นในการสอนรายวิชายังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการ วัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรม พื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้าง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติใน เนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้ เครื่องมือที่เหมาะสม 2.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงาน จริงได้ การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้น เรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร 3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ใน การพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็น ที่เหมาะสม 4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและ อ านวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้อง กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม 5.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้ สัญลักษณ์ 5.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี 1 ENGAG107 การออกแบบวิศวกรรม                                                      

หมวดที่ 5
แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอนสัปดาห์ที่ 1 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: บทนำ-ความหมายออกแบบวิศวกรรมโมเดลกระบวนการออกแบบโดยรวม ปัญหาและกระบวนการแก้ปัญหา รูปแบบและฟังก์ชัน โครงงานวิศวกรรม ป : เรียนรู้ผลงานออกแบบจากการค้นคว้าข้อมูล
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปราย • หาข้อมูลงาน ออกแบบที่น่าสนใจในงานวิศวกรรม ระดมสมอง อภิปรายฟังก์ชันและองค์ประกอบย่อย

สัปดาห์ที่ 2 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: กระบวนการออกแบบเครื่องกล ตัวอย่างกรณีศึกษาในการออกแบบ ป: องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอุปกรณ์และการควบคุมอย่างง่าย
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • วิเคราะห์องค์ประกอบและชิ้นส่วนจากตัวอย่างอุปกรณ์ที่มีรับบควบคุมและสั่งการ

สัปดาห์ที่ 3 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: ขอบเขตปัญหา: ความต้องการของลูกค้า ป : การวิเคราะห์ความต้องการจากโจทย์การออกแบบเครื่องจักรด้านการเกษตร
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • ตั้งโจทย์เอง ศึกษาข้อจำกัดของโจทย์ วิเคราะห์ความต้องการ • วิเคราะห์ข้อจำกัดชุดหุ่นยนต์ iBeam Logic Line Tracer Kit

สัปดาห์ที่ 4 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: ขอบเขตปัญหา: การระบุวัตถุประสงค์ ฟังก์ชันและข้อจำกัด ป : ศึกษาวิธีออกแบบและใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • วิเคราะห์องค์ประกอบและชิ้นส่วนจากหุ่นยนต์ Robo creator • เรียนรู้เครื่องมือสร้างต้นแบบแบ่งกลุ่มทำงานโครงงานการออกแบบ

สัปดาห์ที่ 5 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การสร้างข้อกำหนดในการออกแบบด้วย QFD diagram เน้นการพัฒนาผลงานเพื่อการเกษตร ป : ศึกษาวิธีออกแบบและการสร้างต้นแบบด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
จำนวนชั่วโมง: 0 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • เรียนรู้เครื่องมือ ใช้เครื่องมือสร้างต้นแบบ แบ่งกลุ่มทำงานโครงงานการออกแบบ

สัปดาห์ที่ 6 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การสร้างข้อกำหนดในการออกแบบด้วย QFD diagram เน้นการพัฒนาผลงานเพื่อการเกษตร ป : ศึกษาวิธีออกแบบและการสร้างต้นแบบด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • งานกลุ่ม เขียนแบบและทดลองสร้างชิ้นส่วน

สัปดาห์ที่ 7 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การสร้างข้อกำหนดในการออกแบบด้วย QFD diagram เน้นการพัฒนาผลงานเพื่อการเกษตร ป : สร้างต้นแบบด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • งานกลุ่ม เขียนแบบและสร้างชิ้นส่วน อภิปราย/ปรับปรุงชิ้นส่วน

สัปดาห์ที่ 8 หัวข้อ/รายละเอียด
สอบกลางภาค
จำนวนชั่วโมง: 3 ชั่วโมง
กิจกรรม

สัปดาห์ที่ 9 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การประเมินและเลือกงานออกแบบ ป : การเขียน code เพื่อสั่งการ
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • เรียนรู้การเขียน code และการควบคุมหุ่นยนต์ด้วยรีโมท เขียนไดอะแกรมการควบคุม

สัปดาห์ที่ 10 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การออกแบบด้วย Parameter analysis ป : การเขียน code เพื่อสั่งการ และประเมินผลงานออกแบบ
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • สร้างหุ่นยนต์ต้นแบบตามฟังก์ชันที่ต้องการ

สัปดาห์ที่ 11 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การสร้างรูปแบบชิ้นงาน การเลือกวัสดุและกระบวนการผลิต ป : ปฏิบัติการปรับปรุงผลงานตามแบบที่เลือกไว้ ทดสอบและวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • ปฏิบัติการออกแบบตามหลัก Parameter analysis เพื่อพัฒนาฟังก์ชันของหุ่นยนต์ให้ดีขึ้น

สัปดาห์ที่ 12 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การสร้างรูปแบบชิ้นงาน การเลือกวัสดุและกระบวนการผลิต ป : ปฏิบัติการปรับปรุงผลงานตามแบบที่เลือกไว้ ทดสอบและวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • ปฏิบัติการออกแบบตามหลัก Parameter analysis และสร้างเพื่อพัฒนาความเสถียร

สัปดาห์ที่ 13 หัวข้อ/รายละเอียด
ท: การออกแบบเพื่อการผลิต การใช้งานอย่างยั่งยืน คุณธรรมในการออกแบบ ป : ปฏิบัติการปรับปรุงผลงานตามแบบที่เลือกไว้ ทดสอบและวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง (ต่อ)
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• บรรยายในชั้นเรียน อภิปรายตัวอย่าง • • ปฏิบัติการสร้างและทดสอบเพื่อพัฒนาความเสถียร (ต่อ)

สัปดาห์ที่ 14 หัวข้อ/รายละเอียด
ท : การนำเสนอผลงาน ป : กิจกรรมการนำเสนอ
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• การนำเสนอผลงานเป็นกลุ่ม อภิปรายและประเมินร่วมกัน

สัปดาห์ที่ 15 หัวข้อ/รายละเอียด
ท : การนำเสนอผลงาน ป : กิจกรรมการนำเสนอ
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
• การนำเสนอผลงานเป็นกลุ่ม อภิปรายและประเมินร่วมกัน

สัปดาห์ที่ 16 หัวข้อ/รายละเอียด
สรุปองค์ความรู้
จำนวนชั่วโมง: 4 ชั่วโมง
กิจกรรม
อภิปราย/นำเสนอ

สัปดาห์ที่ 17 หัวข้อ/รายละเอียด
สอบปลายภาค
จำนวนชั่วโมง: 3 ชั่วโมง
กิจกรรม

หมวดที่ 5
แผนการสอนและการประเมินผล
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล 1 1.3, 1.4, 2.5 3.3, 4.1 ตรวจวัดด้านจิตพิสัย และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10% 2 3.5, 4.4, 5.3, 5.4, 6.2 ใบงานและงานกลุ่ม ผลงานการออกแบบ ทุกสัปดาห์ 50% 3 2.2-2.4, 3.3 สอบกลางภาคเรียน 8 20% 4 2.2-2.4, 3.3, 4.5 สอบปลายภาคเรียน 17 20%

หมวดที่ 6
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
Clive L. Dym, Patrick Little and Elizabeth J. Orwin. Engineering Design A Project-Based Introduction. 4th Edition. Wiley, 2014, ISBN 978-1-118-32458-5. David G. Ullman. The Mechanical Design Process. 4th Edition. McGraw-Hill, 2010, ISBN 978-007-126796-0.
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
Ehud Kroll, Sridhar S. Condoor and David G. Jansson. Innovative conceptual Design Theory and Application of Parameter Analysis. Cambridge University Press, 2004, ISBN 0-521-77848-4. Ken Hurst. Engineering Design Principle. Butterworth-Heinemann, 1999, ISBN 978-034-05-9829-0.
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
รศ.ดร.ธีระพล เมธีกุล. การฝึก
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จาก วิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อ ต่อไปนี้ (1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน (2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ (3) สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรม กับหน่วยงานภายในและภายนอก (4) จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา (5) สนับสนุนการทำโครงงาน
(1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (2) มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน (3) มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ (4) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG107 การออกแบบวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 1.4, 2.5 3.3, 4.1 ตรวจวัดด้านจิตพิสัย และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
2 3.5, 4.4, 5.3, 5.4, 6.2 ใบงานและงานกลุ่ม ผลงานการออกแบบ ทุกสัปดาห์ 50%
3 2.2-2.4, 3.3 สอบกลางภาคเรียน 8 20%
4 2.2-2.4, 3.3, 4.5 สอบปลายภาคเรียน 17 20%
Clive L. Dym, Patrick Little and Elizabeth J. Orwin. Engineering Design A Project-Based Introduction. 4th Edition. Wiley, 2014, ISBN 978-1-118-32458-5. David G. Ullman. The Mechanical Design Process. 4th Edition. McGraw-Hill, 2010, ISBN 978-007-126796-0.
Ehud Kroll, Sridhar S. Condoor and David G. Jansson. Innovative conceptual Design Theory and Application of Parameter Analysis. Cambridge University Press, 2004, ISBN 0-521-77848-4. Ken Hurst. Engineering Design Principle. Butterworth-Heinemann, 1999, ISBN 978-034-05-9829-0.
รศ.ดร.ธีระพล เมธีกุล. การฝึกเขียนรูปภาพงานช่างอุตสาหกรรมสำหรับช่างชำนาญงาน ช่างเทคนิค วิศวกร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ISBN 947-620-544-7. The Open University. Learning space, Engineering and Technology Forum. http://openlearn.open.ac.uk/course/category.php?id=13
คู่มือโปรแกรม 3 มิติต่างๆ เช่น SolidWorks, Catia, SketchUp คู่มือการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ รุ่นต่าง ๆ
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายวิธีการสอนและวัดผล 1.2 สนทนาสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาและให้นักศึกษาประเมินตนเองว่ามีระดับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังจะศึกษาในภาคการศึกษานี้ที่ระดับใด เรียงลำดับจาก 1-5 (น้อยที่สุดถึงมากที่สุด) เป็นรายบุคคลคน 1.3 การใช้แบบประเมินการเรียนการสอนตอนปลายภาคเรียน 1.4 รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดของวิทยาลัยฯ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2.2 ทดสอบวัด ผลการเรียนของนักศึกษาระหว่างเรียน 2.3 การตรวจงานที่มอบหมาย 2.4 รายงานสรุปเพื่อปรับวิธีการสอนให้เข้ากับกลุ่มนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 ปรับปรุงการเรียนการสอนโดยอาศัยผลการประเมินในข้อ 2 3.2 รวบรวมข้อมูลรายงานพฤติกรรม และวิเคราะห์ผลระดับความรู้ที่นักศึกษาได้รับเพิ่มเติมหลังจบภาคการศึกษา 3.3 อาจารย์ผู้สอนเข้ารับความรู้เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพิ่มเติม 3.4 ปรับปรุงวิธีการสอนและรายละเอียดวิชาให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
4.1 ระหว่างเรียนสุ่มตรวจสอบความรู้นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ 4.2 สรุปผลการประเมินความรู้จากนักศึกษาช่วงปลายภาคการศึกษา 4.3 อาจมีการทวนสอบคะแนนและเปรียบเทียบกระบวนการให้คะแนนโดยกรรมการวิชาการ
นำผลการประเมินจากนักศึกษาและการประเมินตนเองในครั้งนี้มากำหนดแผนการปรับปรุงในครั้งต่อไปและบันทึกเป็นหลักฐาน