มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ

Human Relations in Business

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญ แนวคิด และหลักในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
2. เข้าใจถึงลักษณะ โครงสร้างของกลุ่มและองค์การรวมถึงทักษะขอ  ผู้บริหารและกระบวนการจัดการ
3.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ ขั้นตอน และรูปแบบของการสื่อสาร
และ สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.  เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงความหมาย และทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจูงใจและตระหนักถึงการ  เป็นผู้จูงใจที่ดีและการสร้างงานที่สามารถจูงใจคนได้
5. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักหลักธรรมที่ช่วยส่งเสริมการสร้างมนุษย์สัมพันธ์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้   เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการปฏิบัติงานได้
     เพื่อให้เนื้อหาบางเรื่องสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ศึกษาลักษณะ  แนวความคิด  ขอบเขต และปัจจัยอันเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มและองค์การ   การติดต่อสื่อสาร   การจูงใจ   บุคลิกภาพและมารยาท    หลักธรรมที่ช่วยส่งเสริมมนุษย์สัมพันธ์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1.2  มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
1.1.3  มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.4  มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.1.5  มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.2.1  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2   กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.2.3   จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม
1.2.4   ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2.5   กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
1.2.6   มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มาตรฐานการเรียนรู้ครอบคลุมถึง
1.3.1  ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2  ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.3  จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
1.3.4  ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียน ด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์  ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
 
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.2  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
2.2.3   จัดการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.3.1   การทดสอบย่อย
2.3.2   การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3   ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.4   ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
2.3.5   ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ
2.3.6   ประเมินจากผลการฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
3.1.1  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชา ที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2  สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ใน การแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3  สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆรวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
3.1.4  มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1 กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงาน เป็นทีม
3.2.2 ใช้สถานประกอบการฝึกปฏิบัติงานจริง
3.2.3 มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข
3.2.4 เน้นถึงศาสตร์และศิลป์ รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงาน และให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานจริง
3.3.1  ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
3.3.2  ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
3.3.3  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
4.1.1  มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดี กับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2  มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็น การแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3  มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1  มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.2   มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.3   มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.2.4   มีกิจกรรมส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ เช่น ยกย่องชมเชยนักศึกษาที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเด่น
4.3.1   ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
4.3.2   ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.3.3   มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
5.1.1  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็น ต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5  สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
5.1.6  ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7  ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และดำเนินงาน
5.2.1  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.2.2  ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
5.2.3   มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1   ประเมินจากการอธิบายหลักการเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.2   ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
5.3.3   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.4   ประเมินจากการทดสอบ
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ทักษะวิเคาระห์ทางตัวเลข การปฏิบัติงานในอาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 4 1 2 3 1 2 3
1 BBACC113 มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1-2.1.4 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1-4 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5,8,13,16 9 17 10% 30% 30%
2 3.1.1-3.1.4, 4.1.1-4.1.4, 5.1.1-5.1. การทำงานกลุ่มและผลงาน การทำแบบฝึกหัดทบทวนท้ายบท การทำแบบฝึกทักษะ ตลอดภาคการศึกษา 10% 5% 5%
3 1.1.1 – 1.1.7 การเข้าชั้นเรียน การทำกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 5% 5%
  เพียงใจ  คันธารัตน์. (2551). มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน.  กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริม      วิชาการ.
ระวีวรรณ  เสวตามร. (2540). ยุทธวิธีเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์.  กรุงเทพมหานคร : วันทิพย์.
   รัตติกรณ์  จงวิศาล. (2551). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร :  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิจิตร อาวะกุล. (2542). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
            ไม่มี
http://www.novabizz.com/NovaAce/HumanRelations.htm
        การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
        หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการสอบและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
        4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
        4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
       จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
       5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
       5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ