ภูมิสังคมและการพัฒนา

Geosocial and Development

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
 
1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการบูรณาการความรู้ การคิดวิเคราะห์และประเมินในเรื่องแนวคิดของภูมิสังคมและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ กับพฤติกรรมในภาคการเกษตรร่วมกับองค์ความรู้ ทฤษฎีหลักการ แนวคิดการพัฒนาการเกษตร
1.2 นักศึกษาเข้าใจ ระบบภูมิสังคมสังคม ระบบการเกษตร การจัดการและอนุรักษ์ฐานทรัพยากรเกษตร การบริหารงานพัฒนาการเกษตรและองค์การที่เกี่ยวข้อง วิทยาการสมัยใหม่และนวัตกรรมในการพัฒนาระบบเกษตร
1.3 นักศึกษาสามารถสื่อสารเพื่อพัฒนาการเกษตรตลอดจนศึกษาผลกระทบทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและแนวโน้มต่อทิศทางการพัฒนา
1.เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และประสบการณ์เชิงวิชาการ ในการดำเนินงานด้านพัฒนาการเกษตรให้เกิดความยั่งยืน
2.เพื่อพัฒนาความสามารถในการประกอบอาชีพด้านพัฒนาการเกษตร สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการเกษตร
3.เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมในสังคมการเกษตรได้อย่างภาคภูมิ
4.เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรด้านการพัฒนาสังคมเกษตรของไทย สามารถชี้นำสังคมได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม
 
การพัฒนาการและแนวคิดของภูมิสังคมองค์ประกอบของระบบภูมิสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิสังคมกับวิถีชีวิตภายใต้กลไกการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการศึกษาทฤษฎีและปรัชญาการพัฒนา การวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร การบริหารการพัฒนาการเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาชุมชนเกษตร การจัดการและการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรเกษตร การสื่อสารเพื่อการพัฒนา การศึกษาผลกระทบ แนวโน้มและทิศทางของสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนา
The development and concept of geosocial. The elements of the social landscape and relationship between the social landscape and sustainable livelihoods. Agricultural and food production systems and agricultural system analysis tool. Trends and development directions
 
 
 
 
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
 
สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมที่ซับซ้อนเชิงวิชาการหรือวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น สนับสนุนอย่างจริงจังให้ผู้อื่นใช้การวินิจฉัยทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับข้อโต้แย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในการทำงานและในชุมชนที่กว้างขวางขึ้นดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตยสุจริต มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่ซับซ้อนโดยสามารถวางแผนจัดลำดับความสำคัญได้ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.2.1บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา สังคมเกษตร โดยการศึกษาทฤษฎีและปรัชญาการพัฒนา การวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร การบริหารการพัฒนาการเกษตร การพัฒนาชุมชนเกษตร การจัดการและการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรเกษตร การสื่อสารเพื่อการพัฒนา การศึกษาผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาการเกษตร
1.2.2กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดกรณีศึกษาในพื้นที่จริง
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
 
 
มีความรู้ด้านภูมิสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาการและแนวคิดของภูมิสังคม โดยการศึกษาทฤษฎีและปรัชญาการพัฒนา การวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร การบริหารการพัฒนาการเกษตร การพัฒนาชุมชนเกษตร การจัดการและการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรเกษตร การสื่อสารเพื่อการพัฒนา การศึกษาแนวโน้มและผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
 
 
บรรยาย อภิปราย การศึกษาดูงานในพื้นที่เป็นกรณีศึกษาและการมีส่วนเข้าร่วมประชาคมหมู่บ้านการสำรวจชุมชนเป็นกรณีศึกษา นำเสนอรายงาน วิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วสรุปและนำเสนอ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
 
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน กรณีศึกษา กระบวนการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาในพื้นที่
 
 
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการบูรณาการความรู้ในการพัฒนาสังคมเกษตร
 
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำการศึกษาตามบทปฏิบัติการที่ให้และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายนำเสนอผลงาน
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาแนวทางการพัฒนาสังคมเกษตร
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการพัฒนาชุมชนเกษตร
 
 
 
สังเกตุการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
 
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายครบตามเวลา
 
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการปฏิบัติการเป็นกรณีศึกษาด้านพัฒนาสังคมการเกษตรในชุมชนรอบสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าวิทยาการสมัยใหม่และนวัตกรรมในด้านการพัฒนาระบบเกษตร
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
 
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง กรณีศึกษา
 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและทางเคมีของผลผลิตพืชสำหรับอุตสาหกรรม
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาสังคมเกษตร
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงานการนำเสนอ และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม 2ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 MSCPT304 ภูมิสังคมและการพัฒนา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรมและจริยธรรม 1.1) มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านการพัฒนาสังคม 1.2) แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ 1.3) มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.4) เคารพกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรและสังคม 1.5) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-18 20%
2 2. ความรู้ 2.1 มีองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิสังคมและการพัฒนาสังคมเกษตร 2.2 สถานการณ์การเกษตรและสิ่งแวดล้อมโลก 2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร การทดสอบ 2 ครั้ง 9,18 40%
3 3. ทักษะทางปัญญา 3.1 สามารถประมวล ผลและเข้าใจข้อมูลที่สืบค้นและข้อมูลจาการวิเคราะห์นำมาใช้ได้ 3.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขที่สร้างสรรค์ 3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจในบริบททางวิชาการและวิชาชีพ 3.4 มีทักษะภาคปฏิบัติ ตามที่ได้รับการฝึกฝน 3.5 สามารถวางแผน และจัดการสำรวจชุมชนอย่างเป็นระบบ การทำแบบฝึกหัด 1,15,16,17 20%
4 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 มีความรับผิดชอบต่อการเรียน เช่น ทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด 4.2 มีความรับผิดชอบต่อการทำงานและจัดการรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์และการค้นคว้าได้ 4.3 มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น เช่น เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ยอมรับผู้อื่น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทำแบบฝึกหัด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 12-17 10%
5 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1สามารถระบุและใช้เทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์ 5.2 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ด้วยตนเองในการประมวลผลข้อมูล 5.3 สามารถนำเสนองานวิจัยที่น่าสนใจด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง 5.4 สามารถสรุปประเด็น และสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียนและเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอ 5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามความก้าวหน้า 5.6สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและภาษาอังกฤษใช้งานได้อย่างเหมาะสม 5.7สามารถวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์-สังคมภาคเกษตรของไทยได้ด้วยตนเอง การนำเสนองาน/การรายงาน 12-17 10%
จามะรี เขียงทอง, 2549. สังคมวิทยาการพัฒนา โอเดียนสโตว์ กรุงเทพฯ. 208 หน้า. ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์. 2542. การจัดการการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยว คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 380 หน้า. พรชัย ปรีชาปัญญา. 2544. ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับระบบนิเวศบนแหล่งต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ. กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ. 127 หน้า. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) 2537. การพัฒนาที่ยั่งยืน มูลนิธิพุทธรรม. กรุงเทพฯ. 262 หน้า. ยศ สันตสมบัติ. 2544. ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 272 หน้า. ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. 2549. การจัดการการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยว คณะเศรษฐศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ. 380 หน้า. สุชาต อุดมโสภกิจ. 2554. ภาพอนาคตการเกษตรไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ. 51 หน้า. สนธยา พลศรี. 2545. หลักสังคมวิทยา. โอเดียนสโตว์ กรุงเทพฯ. 280 หน้า. เสรี พงศ์พิศ. 2551. ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น พลังปัญญา. กรุงเทพฯ. 181 หน้า.
Anuchat Poungsomlee (1995). Stratgies for sustainable agriculture and rural development. Faculty of Enrironment and Resource studies Mahidol University Thailand. 282 p. Calhoun, Craig J. (1994) Sociology University of North Carolina. USA. 651 p.
ประเมินการสอนโดยนักศึกษาตามแบบฟอร์มของสำนักประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
1. รวบรวมข้อมูลจากการประเมิน 4 ส่วน โดยแบ่งคะแนนจากคะแนนทั้งรายวิชา 100 คะแนน เป็น
1.การทดสอบกลางภาคและปลายภาค 40 คะแนน (แบ่งเป็นกลางภาค 20 และปลายภาค 20)
2.จิตพิสัยในชั้นเรียนและจิตพิสัยนอกชั้นเรียน 20 คะแนน
3. การทำแบบฝึกหัด ลงพื้นที่ และทำโครงงาน 30 คะแนน
4. การนำเสนอรายงาน 10 คะแนน
2. เกณฑ์ผ่านรายวิชา ผู้ที่จะผ่านรายวิชานี้จะต้องมี

มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2) พิจารณาผ่านกับไม่ผ่าน ตามเกณฑ์ผ่าน ผู้ไม่ผ่านคือได้คะแนนต่ำกว่า 50 หรือ 50% ตก
หรือได้ F
3) ผู้ที่ผ่านจากข้อ 1 นำคะแนนมาแบ่งค่าระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ ดังนี้คือ คะแนน 80
ขึ้นไปได้ A คะแนน 75-79 ได้ B+ คะแนน 70-74 ได้ B คะแนน 65-69 ได้ C+ คะแนน 60-64 ได้ C คะแนน 55-59 ได้ D+ คะแนน 50-54 ได้ D
ปรับปรุงเนื้อหางานสอนโดยการสืบค้นความรู้ใหม่เพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ต และปรับปรุงสื่อการสอน วิธีการสอนในทุกปีการศึกษา
พิจารณาความเหมาะสมของคะแนนนักศึกษารายบุคคลในแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้โดยผู้สอนหรือทวนสอบโดยกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งสุ่มตรวจจาก คะแนนสอบ ข้อสอบหรือสัมภาษณ์นักศึกษา
อธิบายกระบวนการในการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินจากข้อ 1 และ 2 มาวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพ

พิจารณาผลการประเมินร่วมกันจากนักศึกษาและกรรมการประกันคุณภาพจากผลการสอนในภาคเรียนหรือปีการศึกษาที่สอนผ่านมาแล้ว เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน ปฏิบัติการปรับปรุงการเรียนการสอนในภาคเรียนหรือปีการศึกษาต่อไป ดำเนินตามข้อ 1-3 ในทุกปีการศึกษา