การนำเสนองานด้านการออกแบบ

Presentation for Design

1.รู้เรื่องการนำเสนองานออกแบบอุตสาหกรรม
2.เข้าใจองค์ประกอบของการนำเสนองานออกแบบเครื่องเรือน
3.ปฏิบัติงานนาเสนอ งานออกแบบอุตสาหกรรม
4. มีเจตคติที่ดีต่อการนาเสนองาน ออกแบบอุตสาหกรรม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของการนำเสนองาน การนำเสนองาน 2 มิติ 3 มิติ การพูดเพื่อการนำเสนองาน และขั้นตอนการเตรียมนำเสนองานด้านการออกแบบ
2 ชั่วโมง/คน/สัปดาห์
1) ตระหนักถึงจรรยาบรรณในฐานะนักออกแบบเครื่องเรือน
        2) มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด
        3) รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
        4) มีสัมมาคารวะให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส
        5) แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ในสภาพแวดล้อมของการทำงานและในชุมชนที่กว้างขวางขึ้น
1)ใช้การสอนแบบเปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในโอกาสต่างๆ
        2) ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
        3) อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณ การมีวินัยเรื่องเวลาการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
1)ใช้การสอนแบบเปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในโอกาสต่างๆ
        2) ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
        3) อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณ การมีวินัยเรื่องเวลาการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
           1)  มีความรู้ความสามารถในการนำเสนองานออกแบบเครื่องเรือนให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
           2)  มีความเข้าใจในวิธีการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ และการประยุกต์ ตลอดถึงผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบันที่มีต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาและต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ
          3)  มีความรู้และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมของระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อสาขาวิชาชีพ รวมทั้งเหตุผลและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
1)  จัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญโดยจัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเข้ากับความรู้และประสบการณ์ใหม่ในรายวิชาที่สอนได้อย่างกลมกลืน
2)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง
1)  ประเมินด้วยการนำเสนองานเดี่ยวและกลุ่ม สอบย่อย  สอบกลางภาคการศึกษาและสอบปลายภาคการศึกษา
2)  ประเมินจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของรายวิชาที่เรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
3)  ประเมินจากชิ้นงานที่ผู้เรียนสร้างสรรค์แล้วนำเสนอผู้สอนทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล
1) ความสามารถในการใช้สื่อ และการพูดนาเสนองานออกแบบเพื่อชักจูงผู้ฟังให้คล้อยตามเข้าใจในงานออกแบบอุตสาหกรรม และการแก้ปัญหา เฉพาะหน้าในการพูดนาเสนองาน
2)  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาทั้งในและนอกชั้นเรียน
 3)  สามารถนำผลของการสังเคราะห์ มาสร้างเป็นผลงานได้จริง
4)  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง  และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
            การนำตัวอย่างผลงานออกแบบรุ่นพี่ที่นำเสนองานมาให้ผู้เรียน เรียนรู้วิเคราะห์
         1) .ด้านข้อมูลการศึกษางานออกแบบ
         2) .ด้านงานแบบ 2 มิติที่นาเสนอในสื่อต่างๆ
         3) .ด้านงานหุ่นจำลอง / ผลิตภัณฑ์ทดสอบ 3 มิต
         1) .ซักถามรายบุคคล
         2) .ตรวจงานปฏิบัติ ด้านข้อมูล / งานแบบ / งาน3มิติ
         3) . พิจารณาความสามารถในการพูดนาเสนองาน
1)  พัฒนาทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและผู้อื่น
2)  มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเอง และร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ในการจัดการข้อโต้แย้งและปัญหาต่าง ๆ
3)  พัฒนาทักษะการเรียนด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ ในงานที่ได้รับมอบหมาย  ตรงต่อเวลา
4)  แสดงออกทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม
1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากการทำงานเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม เพื่อฝึกความรับผิดชอบ  ทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีมีทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์ปรับตัวและยอมรับความแตกต่างของคนในสังคม
2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันเรียนรู้  
1)  สังเกตการณ์ร่วมกิจกรรมกลุ่มของผู้เรียน
2)  ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  ความรับผิดชอบของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3) ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1)  พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2)  สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์ และสถิติเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าปัญหา สรุปปัญหา และเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์  
3) พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารทั้งการฟัง  การพูด  การเขียน การอ่านและตีความ โดยจัดทำเป็นรายงาน   และนำเสนอในชั้นเรียนเป็นภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ
            1)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดัวยการจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  พร้อมกับนำเสนอด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
            2)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและได้ข้อมูลที่ทันสมัย  ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
1)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สะท้อนความรู้ความคิด  ความเข้าใจผ่านสื่อเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ 
2)  สังเกตพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในระหว่างร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ในชั้นเรียน หรือขณะร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น
    6.1.1.  สามารถค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาช่วยสนับสนุนการนำเสนองานออกแบบและได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2.  สามารถออกแบบโดยใช้ทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
มอบงานทุกสัปดาห์ให้นักศึกษาฝึกทักษะด้านการนำเสนองานออกแบบของเครื่องเรือนสไตล์ต่างๆ   แนวความคิดและขั้นตอนการออกแบบเครื่องเรือนเพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด
6.3.1   ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์
6.3.2   สอบกลางภาคและปลายภาค 
6.3.3   วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ ความ                ถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ
6.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วม                   ของสมาชิกในห้อง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 8 16 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 16 15% 15%
2 1-7 10-15 การทดสอบตามเรียน การนำเสนองานเดี่ยว/กลุ่ม ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1-7 9-15 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
โมทนา สิทธิพิทักษ์. 2553. การนำเสนอผลงานการออกแบบเฟอร์นิเจอร์. ศูนย์หนังสือสวทช.
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. 2551. วิวัฒนาการเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.          
สาคร คันธโชติ. การออกแบบเครื่องเรือน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.                             
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2550. ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.       
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชาด้วยการประเมินการจัดการเรียนการสอนประจำภาคเรียน
ทำการการประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร จากการสังเกตขณะสอน และทำการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
หลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษาภาควิชา  กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา

มีการประชุมอาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจาก

ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของหลักสูตร การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน

          ภายหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป