สัมมนาออกแบบอุตสาหกรรม

Seminar for Industrial Design

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดประชุมสัมมนาและการจัดฝึกอบรมทางด้านออกแบบ 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการสืบค้นหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ ทักษะการมีบทบาทเป็นทั้งวิทยากร และทีมผู้จัดสัมมนา 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการเสนอประเด็นปัญหา ความก้าวหน้าวงการด้านการออกแบบอุตสาหกรรม  4.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลการสัมมนา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการเขียนโครงการและการจัดสัมมนา การประเมินผล พัฒนาทักษะการพูด การบริหารจัดการงานสัมมนา  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปเป็นพื้นฐานของรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น  การนำเสนอหัวข้อโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม  วิชาการนำเสนอผลงาน และวิชาที่ใช้ทักษะในการพูดนำเสนอผลงาน
ฝึกปฏิบัติ จัดสัมมนา ตั้งหัวข้อการสัมมนา เขียนโครงการสัมมนาด้านงานออกแบบอุตสาหกรรมและด้านความก้าวหน้าทางงานออกแบบ ครอบคลุมเนื้อหาที่นักศึกษาสนใจในระดับปริญญาตรี และจัดการสัมมนาตามหัวข้อที่นำเสนอ Practice in seminar according to their proposed subject. Students must write the seminar proposal in industrial design and design their own seminar taking care to cover a subject in their bachelor's degree.
 -   อาจารย์ผู้สอน  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line,  Facebook หรือ ทาง email ของผู้สอน  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ผ่านทาง Zoom หรือ Facebook live หรือ Line กลุ่ม
1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ™ 1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ™ 1.1.3 มีจิตสำนึก จิตสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะ
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ ™ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ เช่น Active learning  Flipped Classroom โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ ผ่านระบบการสอนออนไลน์ RMUTL Education  ระบบ Moodle และ Microsoft teams โดยจัดทำสื่อ Digital   ในรูปแบบใบความรู้ไฟล์ pdf  ppt. ออนไลน์ ในระบบ LMS  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้าน ต่าง ๆ คือ                     2.3.1  การทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน ในระบบ LMS                     2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน                     2.3.3  ประเมินจากงานที่นักศึกษาปฏิบัติที่ upload ส่งในระบบ LMS                     2.3.4  ประเมินจากการนำเสนอในห้องเรียน Microsoft Teams   
3.1.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ™
3.1.2 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
ใช้การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากงานที่มอบหมาย ที่ upload ส่งในระบบ LMS และการนำเสนองานในห้องเรียน Microsoft Teams
มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี™ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ= สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
กิจกรรม active learning เน้นความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในห้องเรียนเสมือนจริง และประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
5.1.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้ เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ  ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล  การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม  ประเมินจากการอธิบาย  การนำเสนอ
6.1.1  มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.1.2  มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกรูปแบบการจัดสัมมนา  ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา เขียนโครงร่าง สร้างแบบประเมินผล และกระบวนการจัดสัมมนา  เพื่อให้นักศึกษามีแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน ที่นักศึกษาเสนอในห้องเรียน Microsoft Teams
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID120 สัมมนาออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2 3.1.1, 3.1.2, 6.1.1, 6.1.2 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5 9 18 10% 15% 15%
2 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 6.1.1, 6.1.2 การศึกษาค้นคว้า การเรียนในระบบ LMS การนำเสนอ การทำงานกลุ่ม จัดสัมมนา การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2 การเข้าชั้นเรียนในห้องเรียน Microsoft Teams การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
ชาญ  สวัสดิ์สาลี. 2550. คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน กพ. ณัฐพงศ์ เกศมาริษ.  2545. เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท. นนทวัฒน์  สุขผล. 2543. เทคนิคการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. นิรันดร์  จุลทรัพย์. 2550. จิตวิทยา การประชุมอบรมสัมมนา. สงขลา: ศูนย์หนังสือม.ทักษิณฯ. สมชาติ  กิจจรรยา. 2544. สูตรสำเร็จการจัดฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. สายสอางค์ แกล้วเกษตรกรณ์. 2543. สูตรสำเร็จการเป็นวิทยากร. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน กพ. สิทธิเดช  ลีมัคเดช.  2551.  สัมมนาน่าสนุก : คู่มือสำหรับนักจัดสัมมนา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย. อรนุตฎฐ์  สุธาคำ.  2557.  สัมมนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. หนังสืออ่านประกอบวิชาสัมมนา.       คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
เอกสาร pdf. วิชาสัมมนา
ELearning วิชา สัมมนาออกแบบอุตสาหกรรม https://education.rmutl.ac.th/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในห้องเรียน Microsoft Teams แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่าน email ผ่าน Line /Facebook  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนและบันทึก 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หา Best Practice กับอาจารย์หลักสูตรอื่นที่สอนวิชาเดียวกัน 3.2   การศึกษาหาเทคนิคและความรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมสัมมนา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 4.2  ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับงานวิจัยหรือความก้าวหน้าของวงการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ