ความปลอดภัยในอาหาร

Food Safety

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.2 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยกับองค์ความรู้อื่นในสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติขั้นสูงเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ สารพิษจากจุลินทรีย์ การป้องกันและกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในอาหาร การออกแบบโรงงานและการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในโรงงานให้ถูกหลักสุขาภิบาล หลักการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในโรงงาน สุขาวิทยาส่วนบุคคลในโรงงานอาหาร ศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องและรายงาน
จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
˜1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
š1.2 มีวินัยขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม
˜1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
š1.4 สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่ซับซ้อนโดยสามารถวางแผนจัดลำดับความสำคัญได้
š1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
š1.6 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าเรียน สม่ำเสมอและตรงเวลา
1.2 มีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.3 มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
1.4 สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรม กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม รวมถึงการสร้างให้มีความตระหนักในสิ่งแวดล้อมและส่วนรวม
1.5 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ
1.1 ประเมินจากการรับผิดชอบในงานการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.2 ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสร้างประโยชน์แก่สังคม
1.3 ไม่ทุจริตในการสอบและคัดลอกงานผู้อื่นมาเป็นของตน
1.4 ประเมินจากการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีเหตุผลในการวินิจฉัยปัญหา
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหา
š2.2 สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีความรู้ ความเข้าใจ เข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง
š2.3 สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
    2.4 มีความรู้และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมของระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อวิชาชีพ
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆนอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.1 การทดสอบย่อย
2.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.4 ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ
2.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
˜3.1 มีทักษะในการนำความรู้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
š3.2 สามารถพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยบูรณาการความรู้ที่ศึกษาตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัยในสาขากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.1 กรณีศึกษาทางการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.2 การอภิปรายกลุ่ม
3.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
3.1 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.2 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
š4.1 มีมนุษยสัมพันธ์ และมารยาทสังคมที่ดี
š4.2 สามารถแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากระดับสูงได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง
˜4.3 สามารถประเมินตนเองได้รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้
š4.4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นหมู่คณะรวมทั้งแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
    4.5 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.5 มีภาวะผู้นำ
4.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
4.2 การตอบข้อซักถามของอาจารย์และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆและความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
š5.1 มีทักษะในการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าสรุปและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5.2 สามารถนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
    5.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
š5.4 สามารถใช้ภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริงแล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.2 เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
5.1 จากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี
5.2 จากการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องโดยประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 MSCGT408 ความปลอดภัยในอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 1.2, 1.4, 1.5, 4.3, 4.1, 4.2, 4.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนการมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน 1-17 10%
2 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 5.1, 5.4 การทดสอบย่อย 2 ครั้ง 4 และ 12 20%
3 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 5.1, 5.4 การสอบกลางภาค 8 20%
4 1.1, 1.3, 1.2, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 2.3, 4.3, 4.1, 4.2, 4.4, 5.1, 5.4 การนำเสนองาน/การทำรายงาน 16 30%
5 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 5.1, 5.4 การสอบปลายภาค 17 20%
สุมณฑา วัฒนสินธุ์. 2543. ความปลอดภัยของอาหาร (การใช้ระบบ HACCP). สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น): กรุงเทพมหานคร. สุวิมล กีรติพิบูลย์. 2547. GMP ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น): กรุงเทพมหานคร. Marriott, Norman G. 1997. Essentials of Food Sanitation. Thomson Publishing: the United States of America. Paul L. Knechtges. 2011. Food Safety: Theory and Practice. Jones & Bartlett Learning: Burlington, Mass, Roday, S. 1999. Hygiene and Sanitation in Food Industry. Tata MaGraw-Hill Publishing Co.,Ltd: New Delhi. Shabbir Simjee. 2007. Foodborne Diseases. Humana Press Inc. United States of America. Hui Y. H. 2001. Foodborne Disease Handbook, Second Edition, Revised and Expanded, Volume 2: Viruses, Parasites, Pathogens, and HACCP. Marcel Dekker, Inc. : the United States of America
เอกสารประกอบการสอนในรายวิชา
ขึ้นอยู่กับผู้สอน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 การทำแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียน ที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
1.3 ข้อเสนอแนะจากช่องทางที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลประเมินจากความคิดเห็นของนักศึกษา
2.3 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.4 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง