ปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกร

Chemistry Laboratory for Engineers

1. รู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการทางเคมี
2. มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติการทางเคมี
3. มีทักษะในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการเตรียมสารละลายและการคำนวณหาความเข้มข้น ปริมาณสารสัมพันธ์
    และทดสอบสมบัติของธาตุเรฟพรีเซนเททีฟ อโลหะ ธาตุแทรนซิชัน แก๊ส ของแข็ง ของเหลวและ
    สารละลาย
4. มีทักษะในการหาอัตราเร็วของปฏิกิริยาเคมี สมดุลเคมี สมดุลไอออนิกปฏิกิริยาของกรด เบส เกลือ
5. พัฒนาทักษะและจิตพิสัยในการปฏิบัติงานด้านการทดลองที่เป็นระบบ
6. พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและฝึกทักษะทางเคมีมากขึ้น
2. นักศึกษานำความรู้และทักษะที่ได้ฝึกฝนไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้เนื้อหามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
            ปฏิบัติการเกี่ยวกับการชั่ง-ตวงทางวิทยาศาสตร์ ปริมาณสารสัมพันธ์ การเตรียมสารละลายและการคำนวณหาความเข้มข้น สมบัติของแก๊ส โครงสร้างของผลึกสามัญบางชนิด สมบัติของของเหลว ความหนืดของของเหลว สมบัติคอลลิเกทิฟของสารละลาย คอลลอยด์ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก ปฏิกิริยาของกรด เบส เกลือ
ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามความต้องการของนักศึกษาหรือตามความเหมาะสม
ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพกฎ ระเบียบ และกติกาต่างๆ ที่ดีงามของสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมระหว่างการสอน
- สังเกต บันทึกพฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติการการทดลอง การบันทึกผลและรายงานผลการทดลอง ความตรงต่อเวลาและการแต่งกาย
- มอบหมายงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
- ไม่มีการทุจริตในการทดสอบและการคัดลอกรายงานผลการทดลอง
- ประเมินผลจากการสังเกต บันทึกพฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติการการทดลอง ความตรงต่อเวลาและการแต่งกาย
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
         รู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการทางเคมี มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือในการปฏิบัติการทางเคมี สามารถเตรียมสารละลายและการคำนวณหาความเข้มข้น สมบัติของแก๊ส โครงสร้างของผลึกสามัญบางชนิด สมบัติของของเหลว ความหนืดของของเหลว สมบัติคอลลิเกทิฟของสารละลาย คอลลอยด์ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สมดุลเคมี สมดุลไอออนิกปฏิกิริยาของกรด เบส เกลือ และพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานด้านการทดลองที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- มอบหมายให้ศึกษาปฏิบัติการและทำความเข้าใจล่วงหน้า โดยให้เตรียมสมุดบันทึกการทดลอง
- ก่อนทำปฏิบัติการในแต่ละการทดลองจัดให้มีการทำแบบทดสอบย่อยเพื่อวัดผลความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนทำปฏิบัติการ
- มีการบรรยายหลักการและแนะนำขั้นตอนที่สำคัญในแต่ละการทดลอง รวมทั้งสาธิตให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามก่อนเริ่มทำปฏิบัติการทดลอง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำการทดลองด้วยความมั่นใจ และมีความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการ
- หลังจากทำการทดลอง ผู้เรียนทำการบันทึกผลการทดลองให้ถูกต้องและสรุปผลการทดลองโดยใช้ความรู้ความเข้าใจในการกระบวนการคิดและวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม และส่งรายงานผลการทดลองเป็นรายบุคคลให้กับผู้สอน ทั้งนี้ผู้สอนจะสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผลตามหลักวิทยาศาสตร์และแนะนำให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการต่างๆ ด้วยตัวเองได้จากสื่ออื่นๆ
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ สมุดบันทึกผลการทดลอง และรายงานผลการทดลองรายบุคคล
- ประเมินจากผลการทดสอบย่อยในแต่ละปฏิบัติการ และผลสอบปฏิบัติการทดลอง
          พัฒนาความสามารถในการคิดให้มีการคิดที่เป็นระบบอย่างถูกต้อง รู้จักการจัดการข้อมูล การสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการแปรผลให้ถูกต้อง
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหาของปฏิบัติการต่างๆ อย่างเป็นระบบ
- ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบ
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูล/คำนวณ
- ทำการสรุปผลการทดลองและเขียนรายงาน
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาพร้อมทั้งค้นคว้าเพิ่มเติม
ประเมินผลจากรายงานผลการทดลอง และการทำข้อสอบปฏิบัติการทดลอง
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานกลุ่ม
- พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำบทปฏิบัติการ
- มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล
- การนำเสนอรายงานและอภิปรายกลุ่ม
- ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม โดยสังเกตความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา
- ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข/จัดเก็บข้อมูลการทดลองอย่างเป็นระบบ
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียนใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
- มีการอธิบายวิธีการปฏิบัติการทดลอง และ/หรือ การคำนวณที่สอดคล้องกับทฤษฎี
- มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้น
- การนำเสนอโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ โดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ
- ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การสรุปและวิจารณ์ผลการทดลองอย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3,2.1,2.3,3.1,3.2 ทดสอบย่อยของแต่ละการทดลอง และแบบทดสอบ ปฏิบัติการ ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 1.2, 1.3, 1.4 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2, 5.3 ปฏิบัติการทดลอง, การบันทึกผลการทดลอง, สมุด และรายงานการทดลอง ตลอดภาค การศึกษา 60%
3 1.1,1.3,1.4 จิตพิสัย (พฤติกรรมในการเรียน ได้แก่ ความตั้งใจ ความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบและการแต่งกาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
    1) คู่มือปฏิบัติการเคมี 203167 สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์, ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552
     2) คู่มือปฏิบัติการ 13-020-122  ปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกร, พิมพ์ครั้งที่ 1, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2545
     3) คู่มือปฏิบัติการเคมีทั่วไปเล่ม 1, โครงการตำราและเอกสารประกอบการเรียน, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541
     4) คู่มือปฏิบัติการเคมีทั่วไปเล่ม 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการเรียน, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541
     5) คู่มือปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน, โครงการตำราและเอกสารประกอบการเรียน, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541
     6)  สุธีรัตน์ ดำรงรัตน์, คู่มือปฏิบัติการวิชาเคมีประยุกต์, แผนกวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, นครราชสีมา, 2527
     7) ทะยานรุ่ง เหลือสินทรัพย์, ปฏิบัติการเคมี 1, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 5, หน้า 64-74
1) ตารางธาตุ
    2) แบบจำลองโครงสร้างผลึกของของแข็ง
1)  คู่มือปฏิบัติการทดลอง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2  มีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดประชุมเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนหรือทำการวิจัย
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา เช่น การสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา หรือผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย