วัชพืชและการควบคุม

Weeds and Their Controls

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำงายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้งาน
เพื่อให้มีความทันสมัยต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยา การทำงายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้
1
      - มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม,จริยธรรม

      - มีวินัยขยันอดทนตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง,สังคม,และสิ่งแวดล้อม
- มีการสอนสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหาโดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม

- กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนสม่ำเสมอ

- ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายและมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
    - ร้อยละ 95 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา

    - ร้อยละ 95 ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และที่อาจารย์กำหนด

    - ร้อยละ 99 นักศึกษาส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด

    - ร้อยละ100 นักศึกษาไม่มีการทุจริตในการสอบ
- มีความรู้สามารถบอกความหมายของวัชพืช ลักษณะของวัชพืชร้ายแรง การจำแนกประเภทของวัชพืช ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืช การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างวัชพืชกับพืชปลูก   ความเสียหายที่เกิดจากวัชพืชได้
  - มีความรู้เรื่องวิธีการควบคุมวัชพืชแบบต่างๆ ทั้งในพื้นที่ทำการเกษตรและนอกพื้นที่ทำการเกษตร

- มีความรู้เรื่องการจำแนกประเภทสารกำจัดวัชพืช ข้อดีและข้อเสียของการใช้สารกำจัดวัชพืช คุณสมบัติของสารกำจัดวัชพืช การเลือกทำลายของสารกำจัดวัชพืช      อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นสารกำจัดวัชพืช และวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้อง

-มีความเข้าใจสามารถอธิบายตลอดจนประยุกต์ใช้วิธีการควบคุมกำจัดวัชพืชแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม
-การบรรยาย อธิบาย ยกตัวอย่าง เรื่องความสำคัญของวัชพืช การจำแนกประเภทและชนิดของวัชพืช ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืช การขยสยพันธุ์และการแพร่กระจายพันธุ์ของวัชพืช การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างวัชพืชกับพืชปลูก ความเสียหายที่เกิดจากวัชพืช วิธีการควบคุมวัชพืช การจำแนกประเภทสารกำจัดวัชพืช ข้อดีและข้อเสียของการใช้สารกำจัดวัชพืชคุณสมบัติของสารกำจัดวัชพืช การเลือกทำลายของสารกำจัดวัชพืช อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นสารกำจัดวัชพืช และวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืช โดยใช้ powerpoint ให้นักศึกษาได้ชมคลิปวิดีทัศน์จากสื่อออนไลน์ และการถาม-ตอบในชั้นเรียน
-การปฏิบัติ ให้นักศึกษาดูตัวอย่างต้นวัชพืชชนิดต่างๆ ลักษณะส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชแบบต่างๆ ศึกษาวิธีการประเมินความหนาแน่นของวัชพืชและความเสียหายในแปลงปลูกพืช ศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชแบบต่างๆในแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจ ทดลองใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายและเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช การล้างทำความสะอาดและการดูแลรักษาเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช ทดลองการคำนวณปริมาณสารกำจัดวัชพืช ทดลองใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทใช้พ่นทางใบและพ่นทางดิน
- โดยการสอบย่อย ภายหลังการเรียนในแต่ละบทจบ
 
- โดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค

- โดยการประเมินผลการปฏิบัติในห้องทดลอง และในแปลงทดลอง 

- โดยการตรวจงานมอบหมาย การทำรายงาน แบบฝึกหัด การนำเสนอ

- โดยประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และในแปลงทดลอง
      - ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับวัชพืชและวิธีการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ
ฝึกทักษะการวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของควบคุมวัชพืช รวมทั้งวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืชและการผสมผสานวิธีการอื่นที่ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช โดยการไปศึกษาจากสภาพจริงในแปลงเกษตรกรหรือในแปลงทดลอง
- ประเมินจากความสนใจตั้งใจในการศึกษาและการปฏิบัติในแปลง การซักถามปัญหาและการเสนอความคิดเห็น

- ประเมินจากความครบถ้วนถูกต้องและคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย
- มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มและนำเสนอหน้าชั้นเรียน

- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างมีระบบ

- สามารถนำความรู้ในศาสตร์มาเสนอแนวทางช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- แบ่งกลุ่มในการศึกษาความหนาแน่นของวัชพืช การพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชในแปลงทดลอง การทดลองใช้อุปกรณ์ การทำความสะอาดและการบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช
 - ประเมินผลจากกระบวนทำงาน ความร่วมมือและผลงานที่ทำเป็นกลุ่ม เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
- การประเมินความหนาแน่นของวัชพืช โดยการประเมินด้วยสายตาเป็นร้อยละของปริมาณวัชพืชที่งอกอยู้ในพื้นที่ การนับจำนวนวัชพืชต่อพื้นที่แล้วหาค่าเฉลี่ย การชั่งนำ้หนักสดของวัชพืชต่อพื้นที่และหาค่าเฉลี่ย นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางการประเมินความหนาแน่นวัชพืชที่ทำได้ง่าย ประหยัดเวลาและแรงงาน

- การคำนวณปริมาณสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้พ่นทางใบ และประเภทที่ใช้พ่นทางดิน ที่จะต้องใช้ต่อหน่วยพื้นที่หรือต่อถังพ่น ให้ถูกต้องตามอัตราแนะนำ
อธิบายหลักการ และวิธีการคำนวณในกรณีต่างๆ ให้ฝึกปฏิบัติจริงในสภาพแปลง ให้ทำรายงาน และทำแบบฝึกหัดคำนวณ
ประเมินความเข้าใจในหลักคิดวิเคราะห์ และความถูกต้องของผลการคำนวณ
การรับรู้ เข้าใจ การทำตามแบบหรือคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
การอธิบายประกอบการสาธิตการศึกษาหาชื่อท้องถิ่นและชื่อวิทยาศาสตร์ของวัชพืชจากเว็บไซต์ต่าง ๆ การอ่านฉลากและทำความเข้าใจคำแนะนำต่างๆที่ภาชนะบรรจุสารกำจัดวัชพืช การผสมสารกำจัดวัชพืชกับนำ้ก่อนเทลงถังพ่น  การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย การทำความสะอาด ดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือกำจัดวัชพืชและเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้อง
- ประเมินจากความถูกต้องของชื่อท้องถิ่น ชื่อวิทยาศาตร์ และภาพชนิดวัชพืชที่อยู่ในรายงาน หรืองานที่มอบหมาย

- ประเมินความรู้ความเข้าใจการอ่านฉลากบรรจุภัณฑ์สารกำจัดวัชพืชจากการฝึกให้แนะนำการใช้สารกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดหน้าชั้นเรียน

- ประเมินความถูกต้องของการฝึกผสมสารกำจัดวัชพืช การทำความสะอาด และการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือกำจัดวัชพืช
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา สอดแทรกในการบรรยาย การบรรยาย ชมวิดีโอ ให้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเอง การบรรยาย มอบหมายงาน มอบหมายงานกลุ่ม และรายงานส่วนบุคคล การบรรยาย ให้ทำแบบฝึกหัด ทำการทดลอง
1 BSCAG109 วัชพืชและการควบคุม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ความเข้าใจแต่ละบทเรียน สอบย่อยก่อนการเรียนแต่ละสัปดาห์ 2, 3, 4, 5, 7, 10, 11, 12, 13, 14 10
2 ทักษะทางปัญญา ความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติ รายงานผลทดลอง การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2, 3, 5, 7, 9, 10, 11, 12, 14, 16 20
3 ความรู้ความเข้าใจ ทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค 8 25
4 ทักษะเชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานมอบหมาย ภาพวัชพืช แบบฝึกหัดการคำนวณ 8 และ 15 10
5 ทักษะพิสัย สอบปฏิบัติ การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ การทำความสะอาดและการดูแลบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช 16 10
6 ความรู้ความเข้าใจ ทักษะทางปัญญา ทักษะเชิงตัวเลข สอบปลายภาค 17 25
1. พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ (2540) วัชพืชศาสตร์ โรงพิมพ์ลินคอร์น กรุงเทพฯ
2. ดวงพร สุวรรณกุล (2544) วัชพืชในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
3. รังสิต สุวรรณเขตนิคม (2545) สารป้องกันกำจัดวัชพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
4. ทศพล  พรพรหม (2559) สารป้องกันกำจัดวัชพืช : หลักการและกลไกการทำลายพืช สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
5. อาณัฐ  ตันโช (2560) ตำราเกษตรกรรมประยุกต์: แนวคิด หลักการ เทคนิคปฏิบัติ  เครือข่ายเกษตรธรรมชาติภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
ข้อมูลข่างสาร คำแนะนำ ระเบียบ ประกาศ กฏหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียน การจำหน่าย การใช้สารกำจัดวัชพืช
เว็ปไซต์ของหน่วยงาน องค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทผู้ผลิตจำหน่ายสารกำจัดวัชพืช และเครื่องมืออุปกรณ์กำจัดวัชพืช  คลิปวีดีโอ เกี่ยวกับวิธีการควบคุมวัชพืชในพื้นที่ทำการเกษตร และนอกพื้นที่ทำการเกษตร โดยวิธีต่างๆ  การใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้เครื่องมือกำจัดวัชพืช ในเว็ปไซต์และช่อง YOUTUBE
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน แบบออนไลน์ และแบบผสมผสาน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการณ์สอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา พืชศาสตร์
 
มหาวิทยาลัยจัดอบรมวิธีการเตรียมการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม RMUTL EDUCATION และ MICROSOFT TEAMS 
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาแล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียนนอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมการประเมินผลการสอนแแบออนไลน์หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนโดยการสุ่มรายวิชาภายในรอบเวลาของหลักสูตร
โดยพิจารณาจากผลประเมินการสอนแบบออนไลน์ และแบบผสมผสาน โดยนักศึกษา,ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา,การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอนหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาอาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชาเสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอ สาขาวิชา/คณะเพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป