การเตรียมศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม

Industrial Design Pre-Thesis

1. เข้าใจกรอบคิด ระเบียบและขั้นตอนการทำศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม 2. เข้าใจการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการออกแบบ การบูรณาการความรู้ที่สืบค้นได้ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้การนำเสนอหัวข้องานศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม 3. เข้าใจวิธีการเขียนโครงร่างศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม 4. ตระหนักและเห็นคุณค่าในความสำคัญของการทำงานศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
          เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในกระบวนการทำศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม กรอบคิด การค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ การบูรณาการความรู้ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ การเขียนโครงร่างศิลปนิพนธ์ การนำเสนอโครงร่างศิลปนิพนธ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหลังจากจบการศึกษา
        ศึกษากรอบคิด ระเบียบและขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบ ค้นคว้าข้อมูล บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาและค้นคว้าเพิ่มเติม เขียนโครงงานด้านการออกแบบอุตสาหกรรม ในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจและมีความเป็นไปได้ในการทำโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม นำเสนอหัวข้อศิลปนิพนธ์
            Study the concept, method, process, literature review and write a proposal on a topic of interest to each student for an industrial design project.
อาจารย์ผู้สอน ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line, Facebook หรือ ทาง email ของผู้สอน อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
™ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ˜ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
       สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รบมอบหมาย ตามขอบเขตที่ให้และตรงต่อเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลตนเองและเพื่อนในชั้นเรียน
™ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ˜ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ ™ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ™ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
          ใช้วิธีการสอน Case study กิจกรรมการสอนแบบ Active learning จัดทำสื่อ Digital  ในรูปแบบ e-book ออฟไลน์ เป็นสื่อเสริม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน และ ผู้สอนใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ delivery mode - Team Learning  ผู้เรียนสามารถวางแผนในการเรียน Mind mapping เชื่อมโยงความรู้ ทฤษฎี ที่ได้จากการนำเสนอโดยสื่อการสอน เอกสารอ่านประกอบ  ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน  การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ใช้การสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันแสวงหาความรู้ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.5 ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานของเพื่อน
3.1.1 ™ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
3.1.2 ˜ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.3 ™ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.1.4 ™ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2.1 ใช้กรณีศึกษา, Flip classroom, Think pair share และให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยี สืบค้นความรู้จากฐานข้อมูลต่างๆ เรียนรู้ด้วยตนเอง วางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียน การตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง ผู้สอนทำหน้าที่สรุปองค์ความรู้เพื่อความถูกต้อง
3.2.2  การมอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการจัดทำศิลปนิพนธ์ด้านการออกแบบอุตสาหกรรม
3.2.3 มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหากรอบแนวคิด การศึกษาโจทย์จริงจากองค์กรหรือจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำมาเขียนเป็นโครงร่าง ฝึกสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการทำศิลปนิพนธ์ การลงภาคสนามเพื่อหาหัวข้อ แรงบันดาลใจในการทำงาน การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการเรียน การทำงานตามความถนัด และตามความสนใจของผู้เรียน
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค
3.3.2 สอบย่อย วัดผลจากการคะแนนงานกิจกรรมและ การนำเสนองาน
3.3.3 ประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษา
4.1.1 ™ มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.1.2 ˜ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 ™ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1 ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานตามใบงาน
4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคลและกลุ่ม จัดทำเป็นไฟล์และส่งให้ผู้สอนทางอินเทอร์เน็ต
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน (กิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม)
4.3.2 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3 ประเมินจากนำเสนอ (ในห้องเรียนออนไลน์)
5.1.1 ˜ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 ™ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 กิจกรรม Active learning
5.2.2 นักศึกษาทำงานตามใบงานที่มอบหมาย
5.2.3 นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียนโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือ 5.2.4 มอบหมายให้ส่งผลงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ทางอีเมล์ของอาจารย์ผู้สอน 5.2.5 มอบหมายงานให้เรียนหาความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อ digital ซึ่งมีครบทุกบทเรียน ประกอบด้วย เอกสารอ่านประกอบ วิดีโอ Power point ใบงาน และ Web link ที่เกี่ยวข้อง แบบทดสอบหลังเรียน
5.3.1 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติตามใบงานที่มอบหมาย
5.3.2 ประเมินจากการนำเสนอ
5.3.3 ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน 4.1 มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
1 BAAID123 การเตรียมศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.4 3.1, 3.2, 3.3 2.1, 2.2, 2.4 3.1, 3.2, 3.3 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน สอบกลางภาค สอบย่อย สอบปลายภาค 1, 5, 6, 11 9 13 18 10% 15% 10% 15%
2 3.1, 3.2, 4.1 4.2, 4.3, 4.4 5.1, 5.2, 5.3 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายและ การนำเสนอผลงานในห้องเรียน Microsoft Teams การเข้าเรียนออนไลน์ การ Upload ไฟล์ผลงาน และส่งงานทันเวลา ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 5.1, 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเดี่ยว กลุ่ม การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น การเก็บรวบรวมข้อมูล และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียนเสมือนจริง ตลอดภาคการศึกษา 15%
หลักสูตรออกแบบอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตย์กรรมศาสตร์. 2563. คู่มือการเขียนโครงงานและศิลปนิพนธ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
นิรัช สุดสังข์. 2559. ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.  ปานฉัตร อินทร์คง. 2559. การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบและการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: อันลิมิตพริ้นติ้ง. วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. 2548. i.d. Story Theory & Concept of Design : หลักการและแนวคิด การออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : ไอดีไซน์ พลับลิชชิ่ง. สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. 2550. ผลของเทคโนโลยีที่มีต่อการออกแบบ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. สิทธิ์ ธีรสรณ์. 2558. เคล็ดลับการเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Crouch, Christopher; Pearce, Jane. 2012. Doing Research in Design. London: Berg Publishers. Vickers, Graham. ©1991. Style in Product Design. London: The design councils
Visocky, O’Grady, Jennifer. 2006. A Designer’s Research Manual: Succeed in Design by Knowing Your Client and What They Really Need. China: Rockport.
เอกสารอ่านประกอบในรายวิชา ใบงาน สื่อ
เวปไซด์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดั้งนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา การส่งงาน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสัมภาษณ์นักศึกษา หรือการตอบแบบสอบถามของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลราชวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
5.2 ปรับปรุงรูปแบบการสอน ให้สอดคล้องกับผู้เรียนศตวรรษที่ 21