การวางแผนการตลาด

Marketing Planning

ศึกษาความหมาย บทบาท และความสำคัญของการวางแผนการตลาด การเลือกกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดในภาวะต่างๆ โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ และพัฒนากลยุทธ์ ส่วนประสมการตลาดที่บูรณาการหน้าที่งานการตลาดและหน้าที่อื่นๆ
1) เพื่อศึกษาความหมาย บทบาท แผนความสำคัญของการวางการตลาด 2) เพื่อต้องให้นักศึกษาสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดในภาวะต่างๆ โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ 3) เพื่อต้องการให้นั กศึกษามีการพัฒนากลยุทธ์ ส่วนประสมการตลาดที่บูรณาการ หน้าที่งานการตลาด และหน้าที่อื่นๆ ของธุรกิจได้ การนำไปใช้ การประเมินผล และการควบคุม
ศึกษาความหมาย บทบาท และความสำคัญของการวางแผนการตลาด คุณสมบัติที่ดีของแผนการตลาดกระบวนการวางแผน ปัญหาเละอุปสรรคใหนการวางแผนการตลาดเหมาะสมกับตลาดในภาวะต่างๆ โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ และพัฒนาการตลาดเชิงกลยุทธ์กลยุทธ์ ส่วนประสมการตลาดที่บูรณาการหน้าที่งานการตลาดและหน้าที่อื่นๆ การนำไปใช้ การประเมินผล และการควบคุม
จำนวน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ วันพุธ เวลา 15.00 - 17.00 น.
1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม 1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน 1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
- กำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าเรียนและการให้คะแนนอย่างชัดเจน - บรรยายให้ความรู้ ปฏิบัติตามกิจกรรมที่มอบหมายให้ เพื่อทดสอบการเรียนรู้และการเข้าใจ - ให้นักศึกษารายงานผลงานที่มอบหมายทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล - ให้นักศึกษานำข้อมูลที่ค้นคว้ามาวิเคราะห์พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน - ให้นักศึกษาเข้าร่วม โครงการการบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ชุมชน ครั้งที่ 3
1. คะแนนมาเรียน (พฤติกรรมการเข้าเรียน) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 2. คะแนนแบบฝึกหัด (ส่งงานตรงเวลา) คะแนนงานรายบุคคล (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 3.งานกลุ่ม+นำเสนอ (เข้าร่วมโครงการ การบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ชุมชน ครั้งที่ 3 จำนวนร้อยละ 30 ของคะแนนทั้งหมด 4. คะแนนสอบ จำนวนร้อยละ 50 ของคะแนนทั้งหมด
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ 2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมี ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
- บรรยาย อภิปราย และติดตามผลงานที่มอบหมาย - ฝึกปฏิบัติ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ - การค้นคว้ารายงานที่มอบหมาย - การศึกษาปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล - เข้าร่วมโครงการ (เข้าร่วมโครงการการบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ชุมชน ครั้งที่ 3)
1. คะแนนมาเรียน (พฤติกรรมการเข้าเรียน) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 2. คะแนนแบบฝึกหัด (ส่งงานตรงเวลา) คะแนนงานรายบุคคล (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 10 ของคะแนนทั้งหมด 3.งานกลุ่ม+นำเสนอ (เข้าร่วมโครงการ การบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ชุมชน ครั้งที่ 3 จำนวนร้อยละ 30 ของคะแนนทั้งหมด 4. คะแนนสอบ จำนวนร้อยละ 50 ของคะแนนทั้งหมด
3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารยุคใหม่ๆ 3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม 3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนาความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ 3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
- การแสดงความคิดเห็น และใช้เหตุผลจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการแข่งขันทางการตลาด กรณีศึกษา: มะไฟจีนแปรรูป บ้านท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
1. คะแนนงานกลุ่ม+นำเสนอ (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 30 ของคะแนนทั้งหมด
4.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา 4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความ รับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม 4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่าง สร้างสรรค์
- มอบหมายงานให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นรายกลุ่ม - จัดกิจกรรมกลุ่ม ติดตามการทำงานกลุ่มและงานที่ได้รับมอบหมาย
1. คะแนนงานกลุ่ม+นำเสนอ (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 30 ของคะแนนทั้งหมด 2. การสังเกตุ
5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการ วิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ 5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็น ต่อการปฏิบัติงาน 5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียน รายงานและการนำเสนอด้วยวาจา 5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย 5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและ ทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ สื่อสารและดำเนินงาน
1.ใช้ Power point 2.การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล 3.การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. คะแนนงานกลุ่ม+นำเสนอ (การทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลา) จำนวนร้อยละ 30 ของคะแนนทั้งหมด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 35 คะแนน 35 คะแนน
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20 คะแนน
3 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10 คะแนน
พิบูล ทีปะปาล. 2547. กลยุทธ์การตลาด : การตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์. อดุลย์ จาตุรงคกุล. 2545. กลยุทธ์การตลาด ฉบับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ ผลการเรียนของนักศึกษา การทบทวนผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ ปรับปรุงวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ