ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น

Local Literature

เพื่อให้ผู้เรียนรู้รักตระหนักค่าภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น มีจิตสำนึกรักถิ่นเกิด มีองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นถิ่นของตนเอง รู้รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีงาม ธรรมเนียมปฏิบัติให้คงอยู่ ปรับแปลงวิถีชีวิตอย่างมีสติให้เข้ากับยุคสมัยและสอดคล้องกับท้องถิ่นตน
เพื่อกำหนดทิศทางและวิธีการสอน ให้สัมฤทธิผลตามจุดมุ่งหมายรายวิชา กำหนดเป้าหมาย
รายวิชาให้ชัดเจน และให้สอดคล้องกับ มคอ.3
 
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น ประเพณีวัฒนธรรมภาษา และวรรณกรรมประจำถิ่น รวมทั้งพิธีกรรมตามความเชื่อที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นตระหนักค่า และรักษาสมบัติทางศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น และ ร่วมกันฟื้นจิตวิญญาณฟื้นภูมิปัญญาความดีงามของถิ่นกำเนิด ศึกษาให้รอบรู้และใฝ่หาเรื่องราว สถานที่ พิธีกรรม และอื่นๆ ที่เป็น สิ่งสัมผัสแรก (Unseen) ในท้องถิ่น
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ
องค์ความรู้พื้นฐานในชุมชน ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้สืบทอดกันมา จนกลายเป็นขนบ การได้มาซึ่งองค์ความรู้นั้นนอกจากการเรียนการสืบทอดแล้ว การรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน แสดงความเคารพ นบไหว้ การขอบุญคุณ และค่าขององค์ความรู้ในชุมชน นับเป็นเรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจ และพัฒนาให้กลายเป็นจิตสำนึก ค่าแห่งความศรัทธา ความเชื่อถือ ความเชื่อที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ย่อมมี ที่มาที่ไป ไม่อาจตัดสินด้วยมิติความเชื่อของคนจากนอกวัฒนธรรม หรือคนยุคปัจจุบัน
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ เข้าสู่พื้นที่จริง การได้สัมผัสจริง การสัมภาษณ์ผู้รู้ดีประจำท้องถิ่น
จะทำให้ได้ข้อมูลตรงและชัดเจน
 
1. ตรวจผลงานการเก็บข้อมูล การอ้างอิงผู้ให้สัมภาษณ์
2. การแสดงเหตุผลในชั้นเรียน ทรรศนะต่อเรื่องต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น
เมื่อกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนไว้แล้ว ต้องให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้ที่ได้ตั้งหวังไว้ เช่น ประวัติศาสตร์แบบฉบับ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและเป็นแบบอย่างการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตน เรื่องราวของประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อของชุมชน สถานที่สำคัญในชุมชน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ประจำถิ่น
1. ปลุกเร้าเนื้อหาวิชา
2. สรรหาตัวอย่างมาประกอบการสอน
3. เชิญวิทยากรมาสาธิต
4. นิรมิตวิทยากรรุ่นใหม่
5. เปิดห้องใจสู่เวิ้งฟ้า
สอบ สั่งงาน วิจารณ์วิเคราะห์ ความรู้ องค์ความรู้ และการปลุกจิตวิญญาณ จะได้ผลและ
ส่งผลอีกรูปแบบหนึ่งในอนาคต อาจมิใช่ผลจากระดับคะแนนหลังเรียนจบก็ได้
พัฒนาความคิดให้เป็นระบบ เจนจบการเก็บเกี่ยวข้อมูล และเพิ่มพูนทักษะการเขียน การ ถ่ายทอดองค์ความรู้ วิเคราะห์ วิจารณ์ นำเสนอแนวความคิดเชิงประจักษ์
การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม จำแนกเรื่องที่ต้องการศึกษา วิเคราะห์หาเหตุผล บันทึกผลที่ได้ศึกษามา
ทดสอบผา่ นข้อเขียน และการนำเสนอผลงาน
กระบวนวิชานี้ เน้นการได้สัมพันธ์กับบุคคลในท้องถิ่น และการทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ถ้อย
วจีเพื่อตั้งคำถาม และเพื่อให้ได้คำตอบ ต้องมีการเตรียมการ รวมทั้งการฝึกฝน
  แบ่งกลุ่มเรียนเพื่อออกภาคสนาม ค้นคว้าเพิ่มเติม เก็บข้อมูลเพื่อนำเสนอผลงาน
ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ และการทดสอบ
    ทักษะการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
สั่งงานให้เก็บข้อมูลจากห้องสมุดและแหล่งข้อมูลทรัพยากรต่างๆ
  ตรวจผลงานที่มอบหมายให้ดำเนินการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น : ล้านนาคดี จัดทำครั้งที่ 7. เชียงใหม่ : แผนกวิชา

 

           ภาษาตะวันออก   คณะบรหิารธุรกจิและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา, 2554.
 
แหล่งเรียนรู้ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, เฮือนครัวฮอมเจียงลือ เวียงกุมกาม วิทยากรจากชุมชน และจากชมรมพื้นบ้านล้านนา
         1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา (ข้อนี้น่าจะบ่งชี้ได้ชัดเจนที่สุด)
         1.2 การสนทนากลุ่ม ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
         2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน โดยเฉพาะทีมสาธิต บางเนื้อหาจากรุ่นพี่ที่เคยเรียนวิชานี้
         2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 หลังจากทราบผลจากการประเมินแล้ว ย่อมพบข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไข โดยปกติแล้ว หลังจากผ่านกระบวนการสอน ผู้สอนเองจะต้องปรับและปรุงแต่งในทันใด เพื่อนำประเด็นนี้ มาปรับและเติมจริง ในการสอนครั้งต่อไป สัมมนาการจัดการเรียนการสอน หรือการวิจัยในและนอกสถานที่
 การทดสอบโดยผ่านกระบวนการสอน หรือการตั้งคำถามตอบในขณะที่สอนจากการสุ่มตัวอย่าง การ ทดสอบย่อย คำตอบผ่านข้อทดสอบทั้งรายบุคคลและกลุ่ม จัดทำรายงานรวบรวมจากกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน รวบรวมเป็นเล่ม มีการเผยแพร่ จัดแสดง ประกอบการนำเสนอผลงานจากที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ บุคคลภายนอก คณาจารย์ได้ประเมินผล
  จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิรายวิชา ได้มีการวางแผนเพื่อปรับคุณภาพของ รายวิชา ดังนี้
     5.1 ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อหาตามคำเสนอแนะของผู้รู้ หรือตามคำเสนอแนะของผู้เรียน (เนื่องจากเนื้อหาวิชาพื้นฐานนี้กว้าง จึงอาจขาดหรือเกินในบางเรื่อง) อย่างน้อยทุกปีการศึกษา
     5.2 การสอนเป็นทีม โดยแยกย่อยหัวข้อออก แล้วเรียนเชิญวิทยาการ วิทยากรรุ่นพี่ มาร่วมจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้เพิ่มขึ้น