เว็บเทคโนโลยี

Web Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้
      1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีของการเขียนโปรแกรมบนเว็บ
      1.2 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานของภาษาเว็บไซต์ที่มีการแสดงผลฝั่งไคลเอนต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์
      1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเป็นเว็บไซต์
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการทำงานของ World Wide Web (WWW) และมีความรู้ทางด้านภาษาพื้นฐานสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ Hyper Text Markup Language (HTML) โดยสามารถใช้คำสั่งที่ใช้ในการจัดรูปแบบการแสดงผล CSSCascading Style Sheets (CSS) รวมทั้งเรียนรู้ภาษาไดนามิก ซึ่งใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาสคริปต์ PHP Hypertext Preprocessor (PHP) ส่งข้อมูลไปเว็บเซิร์ฟเวอร์ ที่สามารถติดต่อกับระบบจัดการฐานข้อมูลและ MySQL ได้ 
              ศึกษาการทำงานและการให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต เข้าใจหลักการทำงานโปรโตคอลเอฟทีทีพี เอฟทีทีพีเอส ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ การเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผั่งไคลเอนต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ การควบคุมสถานะ การติดต่อกับฐานข้อมูล และการพัฒนาเนื้อหาสื่อดิจิตอล
    3.1 วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์  โทร. 0832166619
    3.2 e-mail : Wanchanaj@rmutl.ac.th , เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
    3.3 อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านสื่อออนไลน์ Facebook ในกลุ่มห้อง คือ 
         เว็บ https://www.facebook.com/groups/273959156412337/
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ ร่วมทั้งนำเว็บไซต์ยอดนิยมที่ได้รับความสนใจมาเป็นกรณีศึกษา 
1.2.2 อภิปรายกลุ่ม/ทำงานเดี่ยว/กลุ่ม หรือ ทำเว็บไซต์ส่วนตัวส่งเป็นชิ้นงาน
1.2.3 นำเสนองานระบบเว็บไซต์ที่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้เพื่อเป็นชิ้นงาน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากโปรแกรมที่นักศึกษาเขียนตามการใช้งานจริง
1.3.4 ประเมินผลงานการพัฒนาเว็บไซต์หน้าห้องเรียนและให้สมาชิกสอบถามและแนะนำ 
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของการเขียนโปรแกรม และมีความรู้เกี่ยวกับระบบการเขียนโปรแกรมโดยมีการคิดแบบอัลกอริทึม รู้ความเป็นมาของภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น รู้รูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง รู้ประเภทข้อมูลการกำหนดตัวแปร  นิพจน์  ตัวดำเนินการ  คำสั่งควบคุมแบบโครงสร้าง  ตัวแปรอาร์เรย์ ตัวชี้  การกำหนดลักษณะการทำงานโครงสร้างแบบฟังก์ชั่น  และการใช้งานแฟ้มข้อมูล  อย่างมีหลักการตามขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
          2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา
          2.1.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบติดตั้งปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
          2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์รวมทั้งการนำไปประยุกต์
          2.1.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
          2.1.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
          2.2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
          2.2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย  อภิปราย ฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปเป็นโปรแกรมและนำเสนอ โดยเป็นโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมและทฤษฏีเนื้อหา
2.3.2 ประเมินจากการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากชีวิตประจำวัน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน มีการวิเคราะห์แนวคิดอย่งมีขั้นตอนตามมาตรฐานการเขียนโปรแกรม  เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้อง
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมงานที่ได้ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง
3.2.2 อภิปรายลักษณะงานโปรแกรม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีภาษาการเขียนโปรแกรมอย่างที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกในรูปแบบผลงานนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเขียนโปรแกรม แนวคิดแก้ปัญหาทางการเขียนโปรแกรม  วิเคราะห์โจทย์  
3.3.2 วัดผลจากการประเมินงานการเขียนโปรแกรม  การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
            4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
          4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
          4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
          4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่างๆนี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การทำใบงาน และวิเคราะห์โจทย์นำมาเขียนโปรแกรมได้ ทั้งตัวอย่างในชีวิตประจำวันนำมาเขียนเป็นโปรแกรมได้
4.2.3   การนำเสนอผลงานโปรแกรม
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสร้างโปรแกรมตามแนวคิดมาเป็นรูปแบบผลงานซอฟต์แวร์  และทำรายงานรูปเล่มรวบรวมผลงานโดยเน้นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีนำเสนอตามผลงานในลักษณะงานของนักศึกษา
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  วิธีการตอบ และการเขียนโปรแกรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทาง ปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการ วิเคราะห์เชิง ตัวเลข การ สื่อสาร และ การใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 5 6 7 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT601 เว็บเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 2.1, 2.3, 3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.2, 2.1-2.3 4.4, 5.1-5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอผลงาน รายงานผลการเขียนโปรแกรมตามใบงาน การทำงานกลุ่ม/เดี่ยวและผลงาน การเขียนโปรแกรมและสรุปผลการทำงานโปรแกรม การส่งงานตามที่มอบหมายตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1,1.2, 3.1 4.4 5.1 , 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย/นำเสนอ เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
     ประชา พฤกษ์ประเสริฐ, สร้างเว็บและเพิ่มลูกเล่นด้วย HTML & XHTML, กรุงเทพ : บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด, ISBN 978-974-489-603-2
     ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์, เรียนลัดสร้างเว็บแอพพลิเคชันด้วย PHP&MySQL, กรุงเทพ : บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด, ISBN 978-616-7233-06-2
     อนรรฆนงค์ คุณมณี, basic & workshops PHP + AJAX และ JQUERY, นนทบุรั : บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด, ISBN 978-616-200-142-0
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้อง 
                  https://www.w3schools.com/
                  http://www.thaicreate.com/php.html
 

1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อสื่อสารเนื้อหาให้ผู้เรียนศึกษาก่อนล่วงหน้า 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา เพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน (หากมี)
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา ที่มีการสอบเก็บคะแนนแต่ละครั้งนำมาประเมิน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ให้งานตามที่มอบหมายและสังเกตพฤติกรรม
  หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน เพื่อปรับปรุงและแก้ไขกรณีในห้องเรียนและการเรียนการสอน
   ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน 
4.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
   จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ