โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า

Electrical Technical Education Project

เพื่อให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ และการใช้งานด้านโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า      
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้ในชีวิตการทำงานในอนาคตต่อไป
                       ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการทบทวนชื่อโครงงาน ความเป็นมาของปัญหา  วัตถุประสงค์  ขอบเขต  ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชา การเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า  ศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง แนวทางการแก้ปัญหา ปฏิบัติการตามขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน  รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลจัดทำรายงาน และนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการสอบโครงงาน
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  โดยจะประกาศช่วงเวลากำหนดการให้คำปรึกษาในและนอกเวลาเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิลิขสิทธิ์ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ใช้ความรู้ทางด้านโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าและในส่วนที่เกี่ยวข้องในทางที่เหมาะสม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิ/รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้งานเครื่องกลไฟฟ้าต่อบุคคล องค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
วิธีการสอน 


มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาทบทวนหัวข้อโครงงาน  ว่าสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชารายวิชาโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่ต้องการให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่ตรงตามสาขาวิชาความรู้  ที่ศึกษาของผู้เรียน อย่างแท้จริง ให้ผู้เรียนจัดทำการเขียนเอกสารโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ความเป็นมาของปัญหา  วัตถุประสงค์  ขอบเขต  ตามหัวข้อโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่นักศึกษาผ่านการสอบหัวข้อโครงงานฯ ในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ส่งเอกสารโครงร่างโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าให้ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานตรวจสอบ ให้คำปรึกษา พร้อมศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง แนวทางการแก้ปัญหา ปฏิบัติการ ตามขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน  ผู้เรียนนำเอกสารโครงร่างโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าให้ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน  ตรวจสอบ  และรับข้อแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

ผู้เรียนจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า โดยต้องเข้ารับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน  อย่างสม่ำเสมอ และมีการบันทึกและลงนามรับทราบจากจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน  และแจ้งผลการทำงานแก่อาจารย์ประจำวิชา สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
 

จัดกลุ่มทำการซักซ้อมการนำเสนอความก้าวหน้า ของผลงานโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ในชั้นเรียนในข้นต้นก่อนการเข้าสอบความก้าวหน้าจริง  เพื่อนำผลที่ได้ไปทำการแก้ไข และรับข้อแนะนำที่ถูกต้องในการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า สอบความก้าวหน้าของโครงงาน (ในและนอกเวลาเรียนปกติ) โดยมีอาจารย์ประจำวิชาขออนุญาตร่วมสังเกตการณ์ด้วย สรุปผล พร้อมรวบรวมคะแนนผลการสอบความก้าวหน้าโครงงานที่ได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงแก้ไขโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ กรณีมีข้อเสนอแนะการแก้ไขจากคณะกรรมการสอบความก้าวหน้าโครงงานฯ จะต้องมีการรับรองผลการตรวจสอบแก้ไขขั้นสุดท้าย  จากคณะกรรมการฯ จึงจะถือว่าสอบผ่านการประเมินผลการสอบความก้าวหน้าโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าที่สมบูรณ์ ตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะการแก้ไขจากคณะกรรมการสอบความก้าวหน้าโครงงานฯ และแจ้งผลให้คณะกรรมการสอบโครงงาน และอาจารย์ประจำวิชารับทราบ พร้อมส่งเอกสารประกอบโครงงานฯ ฉบับสมบูรณ์ให้คณะกรรมการสอบโครงงาน ให้ครบทุกๆ คน นัดหมายคณะกรรมการสอบโครงงานครั้งสุดท้าย  และสอบป้องกันโครงงานฉบับสมบูรณ์ (ในและนอกเวลาเรียนปกติ) โดยมีอาจารย์ประจำวิชาขออนุญาตร่วมสังเกตการณ์ด้วย ตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะการแก้ไขจากคณะกรรมการสอบโครงงานฯ และแจ้งผลให้คณะกรรมการสอบโครงงาน และอาจารย์ประจำวิชารับทราบ พร้อมส่งเอกสารประกอบโครงงานฯ ฉบับสมบูรณ์ให้คณะกรรมการสอบโครงงาน ให้ครบทุกๆ คน  เพื่อลงนามรับทราบ สรุปผล รวบรวมคะแนนผลการสอบป้องกันโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ กรณีมีข้อเสนอแนะการแก้ไขจากคณะกรรมการสอบความก้าวหน้าโครงงานฯ จะต้องมีการรับรองผลการตรวจสอบแก้ไขขั้นสุดท้าย  จากคณะกรรมการฯ จึงจะถือว่าสอบผ่านการประเมินผลการสอบโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าที่สมบูรณ์ จัดทำรูปเล่มปริญญานิพนธ์ พร้อมเข้าปกแข็ง (สีน้ำเงิน ) จำนวน 6 เล่ม จัดส่ง พร้อมลงชื่อเป็นหลักฐานที่เจ้าหน้าที่สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า จึงจะถือว่ากระบวนการในการศึกษาวิชาโครงงานวิศวกรรมไฟฟ้าเสร็จสมบูรณ์

 
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงองค์ความรู้ที่ได้จากการทำการศึกษาค้นคว้า อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลงาน และเอกสารรูปเล่มที่สมบูรณ์ในงานโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย หลังจากการได้ทำการนำเสนอความก้าวหน้าโครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า
1.3.5  ประเมินผลจากการสอบป้องกันโครงงานฯ ฉบับสมบูรณ์ที่ได้  จากคณะกรรมการสอบหัวข้อโครงงานฯ
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ และทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้งาน        
การบรรยายเกี่ยวกับเอกสารหลักวิธีการ จัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า  พร้อมจัดกลุ่มนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์ผลการนำเสนอ และมอบหมายให้ค้นหาองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เขียนรายงานการทำงานหรือรายงานการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า    พร้อมนำมาสรุปและนำเสนอในเนื้อหาความรู้ที่ศึกษาและส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า    โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วิธีการประเมินผล
2.3.1   ทดสอบโดยการสัมภาษณ์  ซักถาม สังเกตระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน สอบโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า    ด้วยการลงมือทำเป็นรายบุคคลและกลุ่ม  ที่เน้นการวัดหลักการทำงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  และการสรุปพร้อมอภิปรายผล
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
วิธีการสอน
3.2.1   การมอบหัวข้องานให้นักศึกษาทำการค้นคว้าองค์ความรู้ในทางการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า  ที่จะทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
3.2.2   ผู้สอนตรวจสอบงานที่นักศึกษาได้จัดทำ  พร้อมแก้ไขปรับปรุงและให้ข้อแนะนำ
3.2.3   ปฏิบัติการ โดยผู้สอนให้การดูแลและแนะนำอย่างใกล้ชิด
3.2.4   นักศึกษานำผลการงานที่ได้ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักการในทางวิชาการ พร้อมหาคำตอบ และนำมาอภิปรายผล
วิธีการประเมินผล
3.3.1   การสอบหัวข้อฯ โดยสังเกต  และสัมภาษณ์โดยมุ่งเน้นปฏิบัติการที่ถูกต้อง หรือสังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาการวิเคราะห์ผลที่ได้
3.3.2   วัดผลจากการประเมินรายงานจากคณะกรรมการฯ  การนำเสนอผลงานโดยผู้สอนในชั้นเรียน
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
วิธีการสอน
4.2.1   จัดแบ่งกลุ่มในการทำงาน
4.2.2   มอบหมายงานการค้นคว้าหลักการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า  ในหัวข้อที่จะทำการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า  เป็นรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   ทำการปฏิบัติการ เป็นรายกลุ่มภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้สอน
4.2.4   การนำเสนอรายงาน
วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินทักษะของผู้เรียนเองตามหัวข้อทักษะที่กำหนดให้ หรือควรจะต้องมีในรายวิชานี้
4.3.2   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1 ทักษะการประลองด้านการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
5.1.1   ทักษะการคิด การค้นคว้า การจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
5.1.2   พัฒนาทักษะในการเตรียมการในปฏิบัติการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
5.1.3   พัฒนาทักษะปฏิบัติการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่ถูกต้องตามหลักขั้นตอนทางวิชาการ
5.1.4   ทักษะในการแก้ไขปัญหาในการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
5.1.5   ทักษะในการเก็บบันทึกข้อมูล ในปฏิบัติการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานผลการประลองในการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
วิธีการสอน
5.2.1   มอบหมายหัวข้องานให้ศึกษาจัดเตรียมการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า 
5.2.2   จัดกลุ่มทำการจัดทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า  เป็นรายกลุ่มภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้สอน และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ พร้อมนำเสนอรายงานผลงาน
วิธีการประเมินผล
ประเมินจาก การสังเกตการปฏิบัติงาน  การตอบคำถาม รายงาน และการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
               -  ตำราที่เกี่ยวกับงานวิจัยทั่วไป
   
 
เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
                 -  เอกสารคู่มือการเขียนรายงานปริญญานิพนธ์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลล้านนา
เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&sqi=2&ved=0CC0QFjAB&url=http%3A%2F%
2Faster.spu.ac.th%2Ffile%2Fuser%2F48%2F48%2Fupload%2FP152_B.doc&ei=VYq0Ud-QGIjlrAfYuoDQCQ&usg=AFQjCNE2dT482RSQLCN3n5X-vDOh5-DerA
-  เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อ  ในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  ทบทวน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   อาจารย์ผู้สอนศึกษาเพิ่มเติมด้านวิทยาการด้านการสอน และเทคโนโลยีทางไฟฟ้าใหม่ๆ ตลอดเวลา พร้อมทั้งนำมาสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนก้าวทันตามเทคโนโลยีด้านการสอน และด้านงานไฟฟ้าสมัยใหม่